Needs Assessment of Health Care Services for Older Adults in Sub-district Health Promoting Hospitals

Main Article Content

Somjin Peachpansri
vilaivan Thongcharoen
Somchai Viripiromgool

Abstract

Purpose: To assess, prioritize and compare needs of health care services for older adults in sub-district health promoting hospitals.

Design: Descriptive research.

Methods: The study sample included 104 sub-district health promoting hospitals in Kanchanaburi Province. Data were collected from a key informant from each hospital using mailed questionnaires. Descriptive statistics, modified priority needs index (PNI Modified) and analysis of variance were used for data analysis.
Main findings: Among four dimensions of health care services, the dimension of family and community care services was rated as the most essential need for older adults, followed by the referral and network system, the outpatient care services, and the health promotion and prevention, respectively. All three hospital sizes rated the essential need for the family and community care services as the first priority of health services for older adults. The second ranking belonged to the referral and network system rated by the hospitals with small and medium sizes, while the outpatient care services rated by the hospital with large size. The essential needs for each dimension and the entire aspect of health care services were not significantly different among the hospitals with different sizes (p > .05).

Conclusion and recommendations: The family and community care services provided by sub-district health promoting hospitals should be received more support from the government, related ministry, and local administration. Such support should also cover sufficient human resources and medical equipment for the services provided.

 

 

การประเมินความต้องการจำเป็นในการบริการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

สมจินต์ เพชรพันธุ์ศรี, วิไลวรรณ ทองเจริญ, สมชาย วิริภิรมย์กุล


บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อประเมิน จัดอันดับ และเปรียบเทียบความต้องการจำเป็นในการบริการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.)

รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงพรรณนา

วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ รพ.สต. จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 104 แห่ง การเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลของแต่ละโรงพยาบาลใช้วิธีส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ค่า modified priority needs index (PNI Modified) และการวิเคราะห์ความแปรปรวน
ผลการวิจัย: หมวดการให้บริการในครอบครัว/ชุมชนของผู้สูงอายุ ได้รับการประเมินจากกลุ่มตัวอย่างว่า เป็นความต้องการจำเป็นมากที่สุดในการบริการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ รองลงมา คือ หมวดการเชื่อมโยงส่งต่อผู้สูงอายุที่มีปัญหา หมวดการให้บริการในรพ.สต. และหมวดการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค ตามลำดับ รพ.สต. ทั้งขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ จัดลำดับความสำคัญหมวดการให้บริการในครอบครัว/ชุมชนเป็นอันดับหนึ่ง ส่วนหมวดการเชื่อมโยงส่งต่อผู้สูงอายุที่มีปัญหา ได้รับการประเมินของรพ.สต. ขนาดเล็กและขนาดกลาง ให้มีความสำคัญเป็นอันดับสอง ในขณะที่รพ.สต. ขนาดใหญ่ ประเมินให้หมวดการให้บริการในรพ.สต. มีความสำคัญเป็นอันดับสอง และไม่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในแต่ละหมวดและในภาพรวมทุกหมวดของความต้องการจำเป็นในการให้บริการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระหว่างรพ.สต. ที่มีขนาดความรับผิดชอบแตกต่างกัน (p > .05) 

สรุปและข้อเสนอแนะ: การดำเนินงานของรพ.สต. ด้านการให้บริการในครอบครัว/ชุมชนของผู้สูงอายุ รวมทั้งการจัดสรรบุคลากรและอุปกรณ์การแพทย์อย่างเพียงพอในการดำเนินงาน ควรได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนจากรัฐบาล กระทรวงที่เกี่ยวข้อง และองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น

คำสำคัญ: การบริการดูแลสุขภาพ การประเมินความต้องการจำเป็น ผู้สูงอายุ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

Article Details

How to Cite
Peachpansri, S., Thongcharoen, vilaivan, & Viripiromgool, S. (2014). Needs Assessment of Health Care Services for Older Adults in Sub-district Health Promoting Hospitals. Nursing Science Journal of Thailand, 31(4), 13–22. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ns/article/view/26499
Section
Research Papers
Author Biographies

Somjin Peachpansri, Mahidol University

Faculty of Nursing

vilaivan Thongcharoen, Mahidol University

Faculty of Nursing

Somchai Viripiromgool, Mahidol University

ASEAN Institute for Health Development