The Relationship between Body Mass Index, Left Ventricular Ejection Fraction, Cardiopulmonary Bypass Time, and Glomerular Filtration Rate in Coronary Artery Bypass Graft Surgery Patients
Main Article Content
Abstract
Purpose: To study the relationship between body mass index (BMI), left ventricular ejection fraction (LVEF), cardiopulmonary bypass time (CPB time), and glomerular filtration rate (GFR) in coronary artery bypass graft (CABG) patients.
Design: A descriptive research.
Methods: The samples are comprised of 88 patients who had undergone CABG surgery and were admitted to two tertiary care hospitals in Bangkok. Data collection instruments were the demographic data form, an illness record form, the BMI assessment form, the LVEF form, the CPB time form, and the GFR form. Descriptive statistics was employed to analyze demographic data and the illness data while Pearson’s product moment-correlation coefficient was utilized to analyze the relationships between studied variables.
Main findings: Factors that correlated with GFR within 24 hours post CABG surgery were LVEF (r = .21, p < .05) and CPB time (r = - .26, p < .05). A factor that correlated with GFR within 24-48 hours post CABG surgery was only CPB time (r = - .25, p < .05). However, BMI did not correlate with GFR within 24 hours and 24-48 hours after CABG surgery.
Conclusion and recommendations: This study suggested that patients who had undergone CABG should be closely monitored for GFR especially those who had prolonged CPB time more than 2 hours and LVEF less than 50%.
ความสัมพันธ์ระหว่างดัชนีมวลกาย การทำงานของหัวใจห้องล่างซ้าย และระยะเวลาการใช้เครื่องหัวใจและปอดเทียม กับอัตราการกรองของไตในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดทำทางเบี่ยง
หลอดเลือดหัวใจ
วิภารัตน์ สุวรรณมาศ, อุษาวดี อัศดรวิเศษ, วันเพ็ญ ภิญโญภาสกุล, ปุณณฤกษ์ ทองเจริญ
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างดัชนีมวลกาย การทำงานของหัวใจห้องล่างซ้าย และระยะเวลาการใช้เครื่องหัวใจและปอดเทียมกับอัตราการกรองของไตในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ
รูปแบบการวิจัย: การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา
วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจจำนวน 88 ราย ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลตติยภูมิสองแห่งในกรุงเทพมหานคร เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบบันทึกข้อมูลการเจ็บป่วย แบบบันทึกดัชนีมวลกาย แบบบันทึกการทำงานของหัวใจห้องล่างซ้าย แบบบันทึกระยะเวลาการใช้เครื่องหัวใจและปอดเทียม และแบบบันทึกอัตราการกรองของไต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยายและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ศึกษาโดยใช้สัมประสิทธ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
ผลการวิจัย: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอัตราการกรองของไตหลังผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจภายใน 24 ชั่วโมงแรก ได้แก่ การทำงานของหัวใจห้องล่างซ้าย (r = .21; p < .05) และระยะเวลาการใช้เครื่องหัวใจและปอดเทียม (r = - .26, p < .05) ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอัตราการกรองของไตหลังผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจภายในช่วง 24-48 ชั่วโมง คือระยะเวลาการใช้เครื่องหัวใจและปอดเทียม (r = - .25; p < .05) แต่พบว่า ดัชนีมวลกายไม่มีความสัมพันธ์กับอัตราการกรองของไตภายใน 24 ชั่วโมงแรก และ 24-48 ชั่วโมงหลังการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ
สรุปและข้อเสนอแนะ: ควรมีแนวทางในการดูแล เฝ้าระวัง และประเมินผู้ป่วยหลังการผ่าตัด โดยเริ่มจากการคัดแยกประเภทของผู้ป่วยที่มีโอกาสเกิดความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราการกรองของไต โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ใช้เครื่องหัวใจและปอดเทียมนานกว่า 2 ชั่วโมง และผู้ป่วยที่มีการทำงานของหัวใจห้องล่างซ้ายน้อยกว่า 50%
คำสำคัญ: ดัชนีมวลกาย การทำงานของหัวใจห้องล่างซ้าย ระยะเวลาการใช้เครื่องหัวใจและปอดเทียม อัตราการกรองของไต การผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ
Article Details
Copyright Notice: Nursing Science Journal of Thailand has exclusive rights to publish and distribute the manuscript and all contents therein. Without the journal’s permission, the dissemination of the manuscript in another journal or online, and the reproduction of the manuscript for non-educational purpose are prohibited.
Disclaimer: The opinion expressed and figures provided in this journal, NSJT, are the sole responsibility of the authors. The editorial board bears no responsibility in this regard.