The Influence of Health Literacy, Perceived Social Support, and Uncertainty in Illness on Functional Status in Patients with Chronic Obstructive Pulmonary Disease
Main Article Content
Abstract
Purpose: To examine the influence of health literacy, perceived social support, and uncertainty in illness on functional status in patients with chronic obstructive pulmonary disease (COPD)
Design: A correlational predictive research.
Method: A sample consisted of 85 patients with COPD who came for follow-up at the COPD clinic of the Central Chest Institute of Thailand between March and April, 2013. Data were collected using five research instruments: a demographic questionnaire; the Assessment of Functional Health Literacy for Patient with Chronic Obstructive Pulmonary Disease; Multi-dimensional Scale of Perceived Social Support; the Mishel Uncertainty in Illness Scale-Community Version, and Functional Status Inventory (short form). Data were analyzed using descriptive statistics and multiple regression analysis.
Main findings: The results showed that the majority of participants (92.9%) was male, with average age of 70.7 years (SD = 10.3). Health literacy, perceived social support, and uncertainty in illness could jointly explain 22.9% of variance in the functional status of patients with COPD (R2 = .229, p <.001) while uncertainty in illness was the only factor that significantly predicted functional status in patients with COPD (β = - .290, p < .05).
Conclusion and recommendations: It is suggested that nurses should assess the uncertainty in illness among COPD patients in order to develop an appropriate nursing intervention to decrease uncertainty in illness which will help promote functional status in patients with COPD.
Keywords: chronic obstructive pulmonary disease, functional status, health literacy, social support, uncertainty
อิทธิพลของความแตกฉานด้านสุขภาพ การรับรู้การสนับสนุนทางสังคมและความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยต่อภาวะการทำหน้าที่ในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอิทธิพลของความแตกฉานด้านสุขภาพ การรับรู้การสนับสนุนทางสังคม และความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยต่อภาวะการทำหน้าที่ในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
รูปแบบการวิจัย: การศึกษาความสัมพันธ์เชิงทำนาย
วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังจำนวน 85 คน ที่มารับการตรวจรักษาตามนัด ณ คลินิกโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง แผนกผู้ป่วยนอก สถาบันโรคทรวงอก ระหว่างเดือนมีนาคมถึงเมษายน 2556 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความแตกฉานด้านสุขภาพขั้นพื้นฐานสำหรับผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง แบบสอบถามความรู้สึกหลากหลายมิติเกี่ยวกับความช่วยเหลือทางสังคม แบบสอบถามความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วย และแบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะการทำหน้าที่ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชายร้อยละ 92.9 อายุเฉลี่ย 70.7 ปี (SD = 10.3) ความแตกฉานทางด้านสุขภาพ การรับรู้ การสนับสนุนทางสังคม และความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วย สามารถร่วมกันทำนายภาวะการทำหน้าที่ในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังได้ ร้อยละ 22.9 (R2 = .229, p < .001) โดยความรู้สึกไม่แน่นอนความเจ็บป่วยเป็นปัจจัยเดียวที่สามารถทำนายภาวะการทำหน้าที่ในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (β = - .29, p < .05)
สรุปและข้อเสนอแนะ: พยาบาลควรประเมินความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เพื่อวางแผนจัดกิจกรรมทางการพยาบาลที่เหมาะสมเพื่อลดความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วย ซึ่งจะช่วยส่งเสริมภาวะการทำหน้าที่ในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
คำสำคัญ: โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ภาวะการทำหน้าที่ ความแตกฉานด้านสุขภาพ การสนับสนุนทางสังคม ความรู้สึกไม่แน่นอน
Article Details
Copyright Notice: Nursing Science Journal of Thailand has exclusive rights to publish and distribute the manuscript and all contents therein. Without the journal’s permission, the dissemination of the manuscript in another journal or online, and the reproduction of the manuscript for non-educational purpose are prohibited.
Disclaimer: The opinion expressed and figures provided in this journal, NSJT, are the sole responsibility of the authors. The editorial board bears no responsibility in this regard.