Lived Experiences of Practicing Yoga Asana among Nursing Students

Main Article Content

Wanwadee Neamsakul

Abstract

Purpose: To understand lived experiences of nursing students who practiced yoga asana.

Design: Phenomenological study.

Methods: The second-year baccalaureate nursing students from one college of nursing who studied yoga asana practice were participated in the study. Data were collected by means of in-depth interview and tape recording, non-participant observation, field note, focus group discussion, and diary record. Purposive sampling was used to recruit ten nursing students after they finished their course. Data were analyzed by using thematic analysis.

Main findings: Three major themes that emerged from the data were: 1) imagination about yoga prior to practice, 2) changing points of view during practice, and 3) Yoga…beneficial sport...healthy body and mind. The nursing students had negative attitudes before practicing yoga. They thought that it was a sport for celebrity and composed of difficult positions. After practicing regularly, they gradually changed to have positive attitudes. They studied better because they had more concentration and their illnesses were gone. Nursing students found yoga as a beneficial sport for both their physical and mental well-beings. 

Conclusion and recommendations: Practicing yoga asana could be beneficial improving physical and mental well-beings in nursing students. Practicing yoga asana regularly should be promoted to help enhance their physical and mental health.

Keywords: yoga asana practice, nursing students, phenomenological study

 

ประสบการณ์ชีวิตของนักศึกษาพยาบาลในการบริหารกายแบบโยคะ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อทำความเข้าใจประสบการณ์ชีวิตของนักศึกษาพยาบาลในการบริหารกายแบบโยคะ

รูปแบบการวิจัย: การวิจัยแบบปรากฏการณ์วิทยา

วิธีดำเนินการวิจัย: นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลบัณฑิตชั้นปีที่ 2 ของวิทยาลัยพยาบาลแห่งหนึ่งที่ศึกษาวิชาการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ โดยการบริหารกายแบบโยคะ การรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เจาะลึกและบันทึกเทป การสังเกตอย่างไม่มีส่วนร่วมการบันทึกภาคสนาม การอภิปรายกลุ่มและการบันทึกไดอารี่ เลือกนักศึกษาผู้ให้ข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 10 คนภายหลังสิ้นสุดการเรียนการสอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์แก่นเนื้อหา

ผลการวิจัย: นักศึกษามีประสบการณ์ชีวิตเกี่ยวกับการบริหารกายแบบโยคะโดยมีแก่นเนื้อหาหลัก (major themes) 3 ประการ ได้แก่ 1) มโนภาพของโยคะก่อนเรียน 2) มุมมองที่เปลี่ยนไประหว่างเรียนโยคะ และ 3) โยคะ...กีฬาแสนดีมีประโยชน์..ร่างกายแข็งแรง...จิตใจมั่นคง ก่อนเริ่มเรียนนักศึกษาพยาบาลมีทัศนคติทางลบต่อการบริหารกายด้วยโยคะ โดยมีมุมมองว่าเป็นกีฬาสำหรับบุคคลในสังคมชั้นสูงหรือกลุ่มไฮโซ และมีท่าต่างๆ ที่ยาก หลังจากฝึกปฏิบัติเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ นักศึกษาเริ่มมีทัศนคติที่เปลี่ยนไปในทางบวก นักศึกษารายงานถึงการเรียนที่ดีขึ้นจากการมีสมาธิและมีร่างกายที่แข็งแรง หายจากอาการเจ็บป่วยที่เป็นอยู่ นักศึกษาพบว่าการบริหารกายแบบโยคะมีประโยชน์ต่อสุขภาพตนเองทั้งด้านร่างกายและจิตใจ

สรุปและข้อเสนอแนะ: การบริหารกายแบบโยคะส่งผลดีและเกิดประโยชน์ต่อสุขภาพกายและจิตของนักศึกษาพยาบาล การส่งเสริมให้นักศึกษาพยาบาลได้ฝึกบริหารกายแบบโยคะเป็นประจำจะช่วยให้มีร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ทั้งกายและใจ

คำสำคัญ: การบริหารกายแบบโยคะ นักศึกษาพยาบาล การวิจัยแบบปรากฏการณ์วิทยา

Article Details

How to Cite
Neamsakul, W. (2014). Lived Experiences of Practicing Yoga Asana among Nursing Students. Nursing Science Journal of Thailand, 32(2), 71–79. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ns/article/view/27480
Section
Research Papers
Author Biography

Wanwadee Neamsakul, Boromrajonani College of Nursing

Department of Obstetrics Nursing