Development of a Competency Scale for Cardiovascular Nurses at a University Hospital

Main Article Content

Saowanee Naowapanich
Boontip Siritarungsri
Supim Sripunvoraskul
Pitchuda Wiratchpintu
Wanpen Pinyopasakul

Abstract

Nurses who take care for patients with cardiovascular disease patients have the right to determine a performance to suit different situations. Performance assessment tools must be accurate. This tool can be used to evaluate the real talent.

Purpose: 1) to analyze the expectation on competencies of professional nurses who took care of patients with cardiovascular diseases at Siriraj Hospital, 2) to develop a competency scale for cardiovascular nurses, and 3) to evaluate the implementation of the developed competency scale.

Design: Research and development.

Methods: The research setting was a cardiac care unit at Siriraj Hospital. Key informants were selected by a purposive sampling technique. These included the informants about expectations on competencies comprising 3 head nurses, 6 professional nurses, 2 nurse educators, 2 physicians, 5 patients, and 5 caregivers, as well as the informants for the implementation phase, including the head nurse of the cardiac care unit who evaluated the performance of 5 nurses. The instruments were semi-structured interview guides about expectation on competencies, a competency scale, and an evaluation form for the implementation of the developed competency scale. The content validity index was .92 and the reliability was .81. Data were analyzed by mean and standard deviation and content analysis.

Main findings: 1) The expectation of competencies of cardiovascular nurses at Siriraj Hospital consisted of 8 issues, which were used for developing the competency scale. 2) The competency scale for cardiovascular nurses at Siriraj Hospital should consist of 3 aspects including professional competency, common functional competency and specific functional competency. 3) After implementation, the results showed that the developed competency scale could be applied to evaluate the performance of nurses and classify performance of each nurse.

Conclusion and recommendations: This study provides an informational base for the further development of a competency scale for nurses to assess their competencies according to the comprehensive and desired performance.


การพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพที่ดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด ในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง

บทคัดย่อ
     พยาบาลผ้ดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดจำเป็นต้องมีสมรรถนะที่เหมาะสมในการวิเคราะห์ตัดสินใจที่เหมาะสมกับสถานการณ์ต่างๆ เครื่องมือในการประเมินสมรรถนะจึงต้องมีความแม่นยำ สามารถประเมินได้ตรงกับระดับความสามารถที่แท้จริง

วัตถุประสงค์: 1) ศึกษาความคาดหวังเกี่ยวกับสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพที่ดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลศิริาช 2) พัฒนาแบบประเมินสมรรถนะฯ และ 3) ประเมินผลการนำ แบบประเมินสมรรถนะฯ ไปใช้

รูปแบบการวิจัย: การวิจัยและพัฒนา

วิธีดำเนินการวิจัย: สถานที่วิจัย ได้แก่ หอผู้ป่วยวิกฤติที่ดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลศิริราช คัดเลือกผู้ให้ข้อมูลหลักแบบเฉพาะเจาะจง ผู้ให้ข้อมูลหลักด้านความคาดหวังเกี่ยวกับสมรรถนะฯ ประกอบด้วย หัวหน้าหอผู้ป่วย 3 คน พยาบาลวิชาชีพระดับปฏิบัติการ 6 คน อาจารย์พยาบาล 2 คน อาจารย์แพทย์ 2 คน ผู้ป่วย 5 คน และผู้ดูแลผู้ป่วย 5 คน และผู้ให้ข้อมูลหลักเกี่ยวกับการประเมินผลการนำแบบประเมินสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพที่ดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดไปทดลองใช้ ได้แก่ หัวหน้าหอผู้ป่วยหออภิบาลโรคหัวใจ 1 คน โดยประเมินสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพในหน่วยงานจำนวน 5 คน เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ความคาดหวังเกี่ยวกับสมรรถนะฯ แบบประเมินสมรรถนะพยาบาลฯ และแบบประเมินผลการนำแบบประเมินสมรรถนะฯ ไปใช้ ได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้หาทั้งฉบับ เท่ากับ .92 และค่าความเที่ยงของผู้ประเมิน เท่ากับ .81 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย: 1) ความคาดหวังของผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพที่ดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลศิริราช แบ่งเป็น 8 ประเด็น โดยผู้วิจัยได้นำข้อมูลที่ได้ร่วมกับวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องมาพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะฯ 2) แบบประเมินสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพฯ ประกอบด้วยสมรรถนะ 3 ด้าน ได้แก่ ความสามารถเชิงวิชาชีพ (professional competency) ความสามารถทั่วไป (common functional competency) ความสามารถเฉพาะทาง (specific functional competency) และ 3) ผลการนำแบบประเมินสมรรถนะฯ ไปใช้พบว่า แบบประเมินฯ สามารถนำไปใช้ประเมินสมรรถนะของพยาบาล โดยสามารถจำแนกสมรรถนะของพยาบาลแต่ละกลุ่มได้

สรุปและข้อเสนอแนะ: ผลการศึกษาสามารถใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นในการประเมินสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพ ให้สอดคล้องและครอบคลุมสมรรถนะที่ต้องการ

คำสำคัญ: แบบประเมินสมรรถนะ ผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด พยาบาลวิชาชีพ

Article Details

How to Cite
Naowapanich, S., Siritarungsri, B., Sripunvoraskul, S., Wiratchpintu, P., & Pinyopasakul, W. (2015). Development of a Competency Scale for Cardiovascular Nurses at a University Hospital. Nursing Science Journal of Thailand, 33(1), 33–41. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ns/article/view/40982
Section
Research Papers