The Effect of a Clinical Nursing Practice Guideline on Prevention of Delirium among Hospitalized Elderly Patients at a University Hospital

Main Article Content

Suwanna Sogprasert
Wilaipun Somboontanont
Porntita Visavajarn
Pitiporn Siritipakorn

Abstract

Purpose: This research aim was to study the effect of a clinical nursing practice guideline (CNPG) on prevention of delirium among hospitalized elderly patients at a university hospital. The samples were composed of surgical and orthopedics elderly patients who were admitted to the Private Patient Division, Siriraj Hospital.

Design: An analytical study design was used.

Methods: The samples were comprised of the elderly patients who admitted at Private Patient Division, Department of Surgery and Orthopaedic Surgery, Faculty of Medicine Siriraj Hospital. The 312 samples were equally divided into 2 groups including the control group who received the routine nursing care and the experimental group who received the routine nursing care with the nursing practice guideline on delirium prevention among the hospitalized elderly patients. The measurements were Clinical Nursing Practice Guideline on Prevention of Delirium among Hospitalized Elderly Patients, Thai Mental State Examination (TMSE), Risk assessment tool for delirium and Thai Delirium Rating Scale-Ramathibodi Hospital (TDRS-RH). In both groups, the patients were assessed risk for delirium, cognitive impairment and delirium condition on the 1st, 3rd and 7th day after admission. The result was analyzed by using software package for mean, standard deviation and t-test.

Main findings: The result revealed that on the 3rd and 7th day after admission, the amount of samples in the experimental group who had the cognitive impairment (TMSE ≤ 23 คะแนน) were less than the amount of samples in the control group with statistical significance at .001 and .05 level respectively. On the 3rd day after admission, the amount of samples in the experimental group who had delirium (TDRS > 10 คะแนน) were less than the amount of samples in the control group with statistical significance at level .001

Conclusion and recommendations: The clinical nursing practice guideline on prevention of delirium can be applied for prevention of delirium among hospitalized elderly patients. Therefore, nurses should know CNPG on prevention of delirium and can apply this CNPG continuously from admission to discharge in elderly hospitalized patients.


ผลของการใช้แนวทางปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะ Delirium ในผู้ป่วยสูงอายุโรงพยาบาลศิริราช

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะสับสนเฉียบพลัน ในผู้ป่วยสูงอายุที่เข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาลศิริราช งานการพยาบาลผู้ป่วยพิเศษ กลุ่มผู้ป่วยศัลยศาสตร์ และศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์

รูปแบบการวิจัย: การวิจัยแบบ Analytical Study Design

วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้ป่วยสูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปที่มารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลศิริราช งานการพยาบาลผู้ป่วยพิเศษกลุ่มศัลยศาสตร์และศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ โดยแบ่งเป็นกลุ่มควบคุม ซึ่งจะได้รับการพยาบาลตามปกติจำนวน 156 ราย และกลุ่มทดลองซึ่งจะมีการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะ Deliriumในผู้ป่วยสูงอายุ โรงพยาบาลศิริราช (clinical nursing practice guideline) จำนวน 156 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย 1) แนวทางปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะ Delirium ในผู้ป่วยสูงอายุโรงพยาบาลศิริราช 2) แบบประเมิน Thai Mental State Examination: TMSE 3) แบบประเมินปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะ Delirium และ 4) แบบประเมิน Thai Delirium Rating Scale-Ramathibodi Hospital: TDRS-RH กลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่มจะได้รับการประเมินปัจจัยเสี่ยง ภาวะ Cognitive Impairment และภาวะ Delirium ในวันที่ 1, 3 และ 7 ของการเข้าพักในโรงพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป โดยวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความแตกต่างโดยใช้สถิติที

ผลการวิจัย: ภายหลังการวิจัยพบว่า ในวันที่ 3 และ 7 กลุ่มทดลองมีจำนวนผู้ที่มีภาวะ Cognitive Impairment (TMSE ≤ 23 คะแนน) น้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001และ .05 ตามลำดับ และในวันที่ 3 กลุ่มทดลองมีจำนวนผู้ที่มีภาวะสับสนเฉียบพลัน (TDRS > 10 คะแนน) น้อยกกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001

สรุปและข้อเสนอแนะ: การใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องภาวะ Delirium สามารถนำไปใช้เพื่อป้องกันภาวะ Delirium ในผู้ป่วยสูงอายุที่เข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาล ดังนั้นพยาบาลควรมีการให้ความรู้ และนำแนวปฏิบัติการพยาบาลนี้มาใช้อย่างต่อเนื่องกับผู้ป่วยสูงอายุที่มารับการรักษาในโรงพยาบาล ตั้งแต่รับไว้ในโรงพยาบาลจนจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล

คำสำคัญ: ภาวะสับสนเฉียบพลัน ผู้ป่วยสูงอายุ การป้องกัน การรักษา

Article Details

How to Cite
Sogprasert, S., Somboontanont, W., Visavajarn, P., & Siritipakorn, P. (2015). The Effect of a Clinical Nursing Practice Guideline on Prevention of Delirium among Hospitalized Elderly Patients at a University Hospital. Nursing Science Journal of Thailand, 33(1), 60–68. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ns/article/view/41213
Section
Research Papers