Effects of a Nutrition and Iron Supplement Promoting Program on Iron Deficiency Anemia in Pregnant Women

Main Article Content

Wipawadee Pipatkul
Nittaya Sinsuksai
Wanna Phahuwatanakorn

Abstract

Purpose: To determine effects of a nutrition and iron supplement promoting program on iron deficiency anemia in pregnant women visiting the antenatal care unit at Sunpasitthiprasong Hospital, Ubonratchathani
Province.

Design: Quasi-experimental design.

Methods: Sample was comprised of 110 pregnant women with iron deficiency anemia divided equally into two groups: control and experimental groups. They were match-paired by age and thalassemia trait. The control group received routine care, while the experimental group received the nutrition and iron supplement promoting program. Hematocrit was measured eight weeks after recruitment. Data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, Chi-Square test, and t-test.

Main finding: The proportion of the sample that recovered from iron deficiency anemia in the intervention group was statistically and significantly higher than that in the control group (χ2 = 6.45, p < .05). Hematocrit levels of both groups were significantly increased. However, mean hematocrit in the intervention group was significantly higher than in the control group (t = -3.07, p < .05).

Conclusion and recommendation: The results suggest that this nutrition and iron supplement promoting program is effective in reducing the member of pregnant women with iron deficiency anemia. Therefore, it should be applied in antenatal care unit.

 

ผลของโปรแกรมส่งเสริมโภชนาการและการรับประทานยาบำรุงธาตุเหล็กต่อภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในสตรีตั้งครรภ์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมโภชนาการและการรับประทานยาบำรุงธาตุเหล็ก ต่อการหายจากภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในสตรีตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ ที่โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี

รูปแบบการวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลอง

วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กจำนวน 110 ราย แบ่งเป็น 2 กลุ่มเท่าๆ กัน จับคู่ให้ใกล้เคียงกันในเรื่องอายุและการเป็นพาหะของธาลัสซีเมีย กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมโภชนาการและรับประทานยาบำรุงธาตุเหล็ก ตรวจค่าฮีมาโตคริต 8 สัปดาห์หลังจากเริ่มเข้าเป็นกลุ่มตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติไคสแควร์ และการทดสอบที

ผลการวิจัย: กลุ่มทดลองมีสัดส่วนผู้ที่หายจากภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ (χ2 = 6.45, p < .05) และค่าฮีมาโตคริตเพิ่มขึ้นทั้งสองกลุ่ม แต่กลุ่มทดลองเพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = -3.07, p < .05)

สรุปและข้อเสนอแนะ: โปรแกรมส่งเสริมโภชนการและการรับประทานยาบำรุงธาตุเหล็กนี้มีประสิทธิภาพในการเพิ่มค่าฮีมาโตคริตและลดจำนวนผู้ที่มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในขณะตั้งครรภ์ ดังนั้นจึงควรนำโปรแกรมนี้ไปใช้ในหน่วยฝากครรภ์

คำสำคัญ: ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก, สตรีตั้งครรภ์, โภชนการยาบำรุงธาตุเหล็ก 

Article Details

How to Cite
Pipatkul, W., Sinsuksai, N., & Phahuwatanakorn, W. (2015). Effects of a Nutrition and Iron Supplement Promoting Program on Iron Deficiency Anemia in Pregnant Women. Nursing Science Journal of Thailand, 33(1), 69–76. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ns/article/view/41215
Section
Research Papers