Symptom Experiences and Their Influences on Functional Status in Hematological Malignancy Patients Receiving Chemotherapy
Main Article Content
Abstract
Purpose: To investigate the influence of symptom experiences on functional status in hematological malignancy patients receiving chemotherapy.
Design: A descriptive correlational research.
Methods: The sample included 100 hematological malignancy patients receiving chemotherapy at the Out-Patient Department of the Hematological Clinic of Siriraj Hospital during November 2013 – June 2014. Data were collected using questionnaires on demographic characteristics, the Memorial Symptom Assessment Scale, and the Inventory Functional Status-Cancer. Descriptive statistics by frequency, percentage, mean, standard deviation, and predictive testing by multiple regression were used for data analysis.
Main findings: The mean of symptom occurrences was 13 symptoms (range 3-30; SD = 6.22), the most prevalent symptoms experienced by the sample were hair loss, lack of energy, dry mouth, numbness/tingling, and ‘I don’t look like myself ’. The most frequent symptoms were numbness/tingling, problems of urination, dry mouth, sleeping difficulty, and lack of energy. The most severe symptoms were hair loss, difficulty swallowing, pain, lack of appetite, and changes in food taste. The most distressful symptoms were pain, difficulty swallowing, problems of urination, mouth sores, and changes in food taste. The mean of functional status score reported by the subjects was low m = 1.82, SD = .57: possible score 0-4). Hair loss (in symptom occurrence dimension), dry mouth, and feeling sad (in symptom frequency dimension), and worrying (in symptom severity dimension) significantly influenced the functional status (R2 = .048, .053, .047 and .044, p < .05, respectively). No symptom in the distress dimension influenced the functional status.
Conclusion and recommendations: Nurses and other health care providers should pay great attention and assess multiple concurrent symptoms in various dimensions. Intervention research should be developed to manage these symptoms to improve the functional status in hematological malignancy patients receiving chemotherapy.
ประสบการณ์การมีอาการและอิทธิพลของอาการต่อภาวะการทำหน้าที่ในผู้ป่วยมะเร็งระบบโลหิตวิทยาที่ได้รับยาเคมีบำบัด
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอิทธิพลของประสบการณ์มีอการต่อภาวะทำหน้าที่ของผู้ป่วยมะเร็งระบบโลหิตวิทยาที่ได้รับยาเคมีบำบัด
รูปแบบการวิจัย: การศึกษาความสัมพันธ์เชิงทำนาย
วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยมะเร็งระบบโลหิตวิทยาจำนวน 100 ราย ที่มารับยาเคมีบำบัด ณ หน่วยตรวจโลหิตวิทยา ตึกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลศิริราช ระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2556 ถึง เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2557 เก็บข้อมูลโดยให้ผู้ป่วยตอบแบบสอบถาม ประกอบด้วย 1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล 2) ประสบการณ์การมีอาการของผู้ป่วย และ 3) ภาวะการทำหน้าที่ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติสัมประสิทธิ์ถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัย:กลุ่มตัวอย่างเกิดอาการเฉลี่ย 13 อาการ (พิสัย 3-30; SD = 6.22) อาการที่เกิดมากที่สุดได้แก่ ผมร่วง อ่อนล้า/เปลี้ย/ไม่มีแรง ปากแห้ง ชา/เจ็บแปลบปลายมือ/ปลายเท้า และมองดูตัวเองไม่เหมือนเดิม อาการที่เกิดบ่อยที่สุด ได้แก่ ชา เจ็บแปลบปลายมือ/ปลายเท้า มีปัญหาเวลาขับปัสสาวะ/ถ่ายปัสสาวะผิดปกติ ปากแห้ง นอนไม่หลับ/หลับยาก และอ่อนล้า/เปลี้ย/ไม่มีแรง อาการผมร่วงเป็นอาการที่กลุ่มตัวอย่างประเมินว่ามีความรุนแรงมากที่สุด รองลงมาได้แก่ กลืนลำบาก ปวด ไม่อยากอาหาร และลิ้นรับรสอาหารเปลี่ยนแปลง และอาการที่ทุกข์ทรมาน/รบกวนการดำเนินชีวิตมากที่สุด ได้แก่ ปวด กลืนลำบาก มีปัญหาเวลาขับปัสสาวะ/ถ่ายปัสสาวะผิดปกติ เจ็บปาก/ในช่องปาก และลิ้นรับรสอาหารเปลี่ยนแปลง ตามลำดับ กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนภาวะทำหน้าที่เฉลี่ยอยู่ในระดับต่ำ 1.82 (SD = .57: Max 3.67, Min 1.65) ผลการวิเคราะห์อิทธิพลของอาการในมิติการเกิดอาการพบว่า อาการผมร่วง ในมิติความถี่ พบว่า อาการปากแห้ง และอาการรู้สึกเศร้า และในมิติความรุนแรง พบว่า อาการกังวล/กลุ้มใจ มีอิทธิพลต่อภาวะการการทำหน้าที่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (R2 = .048, .053, .047 และ .044, p < .05 ตามลำดับ) ส่วนในมิติความทุกข์ทรมาน/รบกวนการดำเนินชีวิตพบว่าไม่มีอาการที่มีอิทธิพลต่อภาวะการทำหน้าที่
สรุปและข้อเสนอแนะ: พยาบาลและบุคลากรทางสุขภาพควรตระหนักและมีการประเมินอาการให้ครอบคลุมในหลายมิติซึ่งอาจเกิดขึ้นพร้อมกันหลายอาการและควรมีการศึกษาวิจัยในอนาคตเพื่อหาวิธีการหรือแนวทางในการจัดการกับอาการที่เกิดขึ้นเพื่อส่งเสริมภาวะการทำหน้าที่ทางด้านร่างกายในผู้ป่วยมะเร็งระบบโลหิตวิทยาต่อไป
คำสำคัญ: ประสบการณ์การมีอาการ ภาวะการทำหน้าที่ ผู้ป่วยมะเร็งระบบโลหิตวิทยา ยาเคมีบำบัด
Article Details
Copyright Notice: Nursing Science Journal of Thailand has exclusive rights to publish and distribute the manuscript and all contents therein. Without the journal’s permission, the dissemination of the manuscript in another journal or online, and the reproduction of the manuscript for non-educational purpose are prohibited.
Disclaimer: The opinion expressed and figures provided in this journal, NSJT, are the sole responsibility of the authors. The editorial board bears no responsibility in this regard.