Factors Predicting Self-management Behaviors among Older Persons with Cardiovascular Risks

Main Article Content

Jirawan Phuaphae
Narirat Jitramontree
Veenus Leelahakul

Abstract

Purpose: The purpose of this research was to evaluate the knowledge of cardiovascular disease and self-conduct, self-efficacy, social support, and self-management behaviors of older persons with cardiovascular risks, to assess the associations among those factors, and to study the ability of such factors to predict self-management behaviors.

Design: Predictive design.

Methods: The sample group was consisted of older persons between the ages of 60-79 years old, with cardiovascular risks and showed a response from at least 1 item on the General Cardiovascular Risk Profile for Use in Primary Care. A total of 85 subjects were selected by purposive sampling during the months of June and July of 2014. The data were collected via questionnaires which included demographics information, knowledge of cardiovascular disease and self-conduct, self-efficacy, social support, and self-management behaviors. Data analysis was done using descriptive statistics and multiple regression analysis.

Main findings: The results of this study found that 70.6% of the sample group had a high level of knowledge regarding cardiovascular disease and self-conduct (X = 14.4, SD = 3.2), 75.3% had a high level of self-efficacy (X = 237.6, SD = 41.2), 51.8% had a medium level of social support (X = 61.7, SD = 11.3), and 75.3% had a high level of self-management behaviors (X = 74.0, SD = 9.9). The stepwise regression analysis found that all 3 factors can predict self-management behaviors by 70.6%, (R2 = .706, F = 68.314, p = .000).

Conclusion and recommendations: To promote self-management behaviors in older persons with cardiovascular risks, several factors are involved. Nurses should provide knowledge on cardiovascular disease and self-conduct effectively. It should be easy to understand by older persons. Further, their self-efficacy in self-management should be strengthened by providing a record book to monitor blood sugar level and blood pressure. Family support for promoting self-management should be also encouraged.

 

ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความรู้เกี่ยวกับโรคและการปฏิบัติตัว การรับรู้สมรรถนะแห่งตน การสนับสนุนทางสังคม และพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด และศึกษาความสัมพันธ์รวมทั้งอำนาจการทำนายของตัวแปรต้น ดังกล่าวต่อพฤติกรรมการจัดการตนเอง

รูปแบบการวิจัย: การศึกษาแบบหาอำนาจการทำนาย

วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุ อายุ 60-79 ปีและมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรค หัวใจและหลอดเลือดอย่างน้อย 1 ข้อ จาก General Cardiovascular Risk Profile for Use in Primary Care คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงจำนวน 85 คน เก็บข้อมูลระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2557 โดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป ความรู้เกี่ยวกับโรคและการปฏิบัติตัว การรับรู้สมรรถนะแห่งตน การสนับสนุนทางสังคมและพฤติกรรมการจัดการตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสัมประสิทธิ์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน

ผลการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างมีความรู้เกี่ยวกับโรคและการปฏิบัติตัวอยู่ในระดับสูง (X = 14.4, SD = 3.2) การรับรู้สมรรถนะแห่งตน อยู่ในระดับสูง (X = 237.6, SD = 41.2) การสนับสนุนทางสังคมอยู่ในระดับปานกลาง (X = 61.7, SD = 11.3) และพฤติกรรมการจัดการตนเองอยู่ในระดับสูง (X = 74.0, SD = 9.9) และผลการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอนพบว่า ตัวแปรต้นทั้ง 3 สามารถทำนายพฤติกรรมจัดการตนเองได้ร้อยละ 70.6 (R2 = .706, F = 68.314, p = .000

สรุปและข้อเสนอแนะ: การส่งเสริมพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดควรประกอบด้วยหลายส่วน ได้แก่ การให้ความรู้เกี่ยวกับโรคและการปฏิบัติตัว พยาบาลควรมีการพัฒนาวิธีการให้ความรู้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้มีความเหมาะสมกับลักษณะการเรียนรู้ของผู้สูงอายุเพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจ และควรใช้วิธีการส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการดูแลตนเองของผู้สูงอายุให้สูงขึ้น เช้น ใช้สมุดบันทึกแสดงการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำตาลในเลือด ระดับความดันโลหิตสูง รวมทั้งควรกระตุ้นให้สมาชิกในครอบครัวเข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุเกิดพฤติกรรมการจัดการตนเองด้วย

คำสำคัญ: ความรู้เกี่ยวกับโรคและการปฏิบัติตัว การรับรู้สมรรถนะแห่งตน การสนับสนุนทางสังคม พฤติกรรมการจัดการตนเอง

Article Details

How to Cite
Phuaphae, J., Jitramontree, N., & Leelahakul, V. (2015). Factors Predicting Self-management Behaviors among Older Persons with Cardiovascular Risks. Nursing Science Journal of Thailand, 33(2), 41–50. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ns/article/view/42260
Section
Research Papers