Flood Disaster Experiences and Preparedness of Chronically Ill Patients and Family Caregivers in Thailand
Main Article Content
Abstract
Purposes: This article examines experiences of chronically ill patients and family caregivers during flood disaster, how they prepared for the recent flood disaster, and how they will prepare for such disasters in the future.
Design: Mixed method research.
Methods: This study collected data from 30 chronically ill patients with diabetes and/or hypertension, and 30 family caregivers in two urban communities in Thailand during July 2013 - October 2013. Data were gathered by using demographic and flood preparedness questionnaires. Focus group interviews were conducted with patients and caregivers. Quantitative data were analyzed by using percentage, means, and standard deviation. Qualitative data were analyzed by using content analysis.
Main findings: The mean scores of flood preparedness among chronically ill patients (M = 5.40, SD = 4.24) and caregivers (M = 6.56, SD = 4.65) indicated that their preparation was at a low level. Both patients and caregivers experienced physical and psychological distress during the flood disaster. Most of them were concerned with economic issues and household supplies, rather than disease management and health conditions. Six themes emerged from interview included: preparation for natural disaster and illness management; health management; emotional response; identified needs for physical and psychological support; active community participation; and future preparedness for self-management. In addition to self management, the majority of patients and caregivers required more effective resource management from local community leaders to prepare for future flood disaster.
Conclusion and recommendations: Participants exhibited a lack of flood disaster preparedness. Informational and psychological support from nurses is needed for better preparation in the future. Essentially, individual and communities are encouraged to strengthen their capacities for disaster management and develop strategies for effective preparedness.
ประสบการณ์ และการเตรียมความพร้อมในภาวะภัยพิบัติน้ำท่วมของผู้ป่วยเรื้อรังและญาติผู้ดูแลในประเทศไทย
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: ศึกษาประสบการณ์ผู้ป่วยเรื้อรังและญาติผู้ดูแลระหว่างภาวะภัยพิบัติน้ำท่วม การเตรียมความพร้อมในภาวะน้ำท่วมที่ผ่านมา และการเตรียมความพร้อมในภาวะภัยพิบัติน้ำท่วมในอนาคต
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยด้วยวิธีผสมผสานเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ
วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเรื้อรังที่เป็นโรคเบาหวานและหรือความดันโลหิตสูงจำนวน 30 คน และ ญาติผู้ดููแล 30 คน อาศัยใน 2 ชุมชนเมืองในประเทศไทย เก็บข้อมูลระหว่างเดือน กรกฏาคม ถึง ตุลาคม พ.ศ. 2556 เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคล แบบสอบถามการเตรียมความพร้อมในภาวะภัยพิบัตินํ้าท่วม และสัมภาษณ์แบบกลุ่ม ข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์โดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์โดยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย: คะแนนเฉลี่ยการเตรียมความพร้อมในภาวะภัยพิบัตินํ้าท่วมของผู้ป่วยเรื้อรัง (M = 5.40, SD = 4.24) และญาติผู้ดูแล (M = 6.56, SD = 4.65) บ่งชี้ว่ามีการเตรียมความพร้อม อยู่ในระดับต่ำ ทั้งผู้ป่วยเรื้อรัง และญาติผู้ดูแลมีประสบการณ์ลำบากทั้งทางด้านร่างกาย และจิตใจระหว่างน้ำท่วม ส่วนใหญ่กังวลเกี่ยวกับปัญหาเศรษฐกิจและบ้านพักอาศัย มากกว่าการจัดการโรคและภาวะสุขภาพ หกประเด็นที่ปรากฏจากการสัมภาษณ์ได้แก่ การเตรียมสำหรับภัยธรรมชาติและการจัดการการเจ็บป่วย การจัดการสุขภาพ การตอบสนองทางอารมณ์ ความต้องการการช่วยเหลือประคับประคองทางด้านร่างกาย และจิตใจ การมีส่วนร่วมของชุมชน และการเตรียมความพร้อมในอนาคตสำหรับการจัดการตนเอง นอกจากนี้ผู้ป่วยและญาติส่วนใหญ่ต้องการให้ผู้นำชุมชนในท้องถิ่นมีการจัดการแหล่งประโยชน์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับภัยพิบัติน้ำท่วมในอนาคต
สรุป และข้อเสนอแนะ: ผู้ป่วยและญาติยังขาดการเตรียมความพร้อมสำหรับภัยพิบัติน้ำท่วม ทั้งนี้ การสนับสนุนด้านข้อมูลและการช่วยเหลือประคับประคองด้านจิตใจจากพยาบาลเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อการเตรียมพร้อมที่ดีขึ้นในอนาคต โดยเฉพาะการส่งเสริมให้ผู้ป่วย และญาติทุกคนรวมทั้งชุมชนสร้างความเข้มแข็งในการจัดการภาวะภัยพิบัติ และพัฒนากลวิธีการเตรียมความพร้อมอย่างมีประสิทธิภาพ
คำสำคัญ : ภาวะภัยพิบัติน้ำท่วม การเตรียมความพร้อม ผู้ป่วยเรื้อรัง ญาติผู้ดูแล
Article Details
Copyright Notice: Nursing Science Journal of Thailand has exclusive rights to publish and distribute the manuscript and all contents therein. Without the journal’s permission, the dissemination of the manuscript in another journal or online, and the reproduction of the manuscript for non-educational purpose are prohibited.
Disclaimer: The opinion expressed and figures provided in this journal, NSJT, are the sole responsibility of the authors. The editorial board bears no responsibility in this regard.