Effectiveness of a Hospital-Based Comprehensive Cardiac Rehabilitation Program on Postoperative Recovery of Patients Undergoing Coronary Artery Bypass Grafting
Main Article Content
Abstract
Purpose: To examine the effectiveness of a hospital-based Comprehensive cardiac rehabilitation program on physical recovery (6-minute walk test and symptom frequency) and psychological recovery (depression) in patients undergoing coronary artery bypass grafting at Day 7th or day of discharge.
Design: A quasi-experimental study with a two-group pretest-posttest design.
Methods: The sample consisted of 64 coronary artery disease patients both male and female who were older than 18 years of age and were admitted to a tertiary hospital for elective coronary artery bypass grafting. The subjects were divided into an experimental group of 32 subjects who received the hospital-based comprehensive cardiac rehabilitation program and a control group of 32 subjects who received only routine care. Data were collected by questionnaires on symptom frequency and depression. Physical recovery was measured by the 6-minute walk test. Data were analyzed using independent t-test and ANCOVA.
Main findings: The patients in the experimental group had a lower mean score for symptom frequency than those in the control group (p < .05). They were able to walk a longer distance in the 6-minute test than those in the control group (p < .05). However, mean scores for depression in the experimental and control groups were not ignificantly different at Day 7th or day of discharge (p > .05).
Conclusion and recommendations: The patients who had coronary artery bypass grafting in a tertiary hospital and received the comprehensive cardiac rehabilitation program provided by nurses had fast recoveries. Hence, the hospital-based comprehensive cardiac rehabilitation program should be used to provide nursing care for patients undergoing coronary artery bypass grafting to promote fast recovery.
ประสิทธิผลของโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจแบบสมบูรณ์แบบในโรงพยาบาล ต่อการฟื้นตัวหลังผ่าตัดของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจแบบสมบรูณ์แบบต่อการฟื้นตัวทั้งทางด้านร่างกาย (ระยะทางทางที่เดินได้ใน 6 นาที และอาการต่างๆ ที่พบในระยะฟื้นตัว) และทางด้านจิตใจ (ภาวะซึมเศร้า) ของผู้ป่วยหลังผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ ณ ช่วงเวลา 7 วันหลังผ่าตัดหรือวันที่จำหน่ายออกจากโรงพยาบาล
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยแบบกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง
วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจที่จะได้รับการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจแบบนัดมา จำนวน 64 ราย ทั้งเพศหญิงและชาย อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่ง จัดให้เข้ากล่มุควบคุม จำนวน 32 ราย ได้รับการรักษาพยาบาลปกติตามมาตรฐานของโรงพยาบาล ส่วนกลุ่มทดลองจำนวน 32 ราย ได้รับโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจแบบสมบูรณ์แบบเก็บข้อมูลโดยใช้แบบประเมินอาการความผิดปกติ (symptom frequency) ที่พบทั้งในระยะก่อนและหลังผ่าตัดและแบบประเมินภาวะซึมเศร้า ประเมินฟื้นตัวทางด้านร่างกายโดยวัดความสามารถในการเดินบนพื้นราบในเวลา 6 นาที (six minute walk test) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ Independent t-test และ ANCOVA
ผลการวิจัย: ผู้ป่วยกลุ่มทดลองมีอาการความผิดปกติที่พบในระยะฟื้นตัวน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) และมีความสามารถในการเดินบนพื้นราบในเวลา 6 นาทีมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) อย่างไรก็ตามไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของคะแนนภาวะซึมเศร้าระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ณ ช่วงเวลา 7 วันหลังผ่าตัด หรือวันที่จำหน่ายออกจากโรงพยาบาล (p > .05)
สรุปและข้อเสนอแนะ: ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิที่ได้รับโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจแบบสมบูรณ์แบบโดยพยาบาลจะมีการฟื้นตัวเร็วขึ้น ดังนั้นโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจแบบสมบรูณ์แบบควรนำมาใช้ในการให้การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจเพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีการฟื้นตัวโดยเร็ว
คำสำคัญ: โปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจแบบสมบูรณ์แบบ ผู้ป่วยหลังผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ ความสามารถในการเดินบนพื้นราบในเวลา 6 นาที ภาวะซึมเศร้า
Article Details
Copyright Notice: Nursing Science Journal of Thailand has exclusive rights to publish and distribute the manuscript and all contents therein. Without the journal’s permission, the dissemination of the manuscript in another journal or online, and the reproduction of the manuscript for non-educational purpose are prohibited.
Disclaimer: The opinion expressed and figures provided in this journal, NSJT, are the sole responsibility of the authors. The editorial board bears no responsibility in this regard.