Factors Influencing the Occurrence of Gestational Diabetes Mellitus in Pregnant Women with Abnormal Glucose Challenge Test
Main Article Content
Abstract
Abstract
Purpose: To determine factors influencing the occurrence of Gestational Diabetes Mellitus (GDM) in pregnant women with abnormal Glucose Challenge Test (GCT).
Design: Case-control study.
Methods: The purposive sample consisted of 252 singleton pregnant women with gestational age more than 20 weeks, GCT ≥140 mg./dl., and no complication during pregnancy, who attend at two big tertiary hospitals in Bangkok, Thailand. The sample were divided into the case group (GDM, n = 65) and the control group (not GDM = 187). Data collection instruments were the demographic characteristic questionnaire, the dietary record sheet, and the exercise record before and during pregnancy. Data were analyzed by using descriptive statistics, chi-square, and logistic regression analysis.
Main findings: Age and diet could significantly predict the GDM in pregnant women with abnormal GCT. Pregnant women with abnormal GCT with age ≥ 25 years had 3.57 times higher risk of GDM than those who were younger than 25 years (95%CI = 1.17-10.83, p < .05). Pregnant women with abnormal GCT who ate diet over standard criteria had 3.30 times higher risk of GDM than those who were diet according to standard criteria (95%CI = 1.71-6.35, p < .05).
Conclusion and recommendations: Nurses and health care team should provide advice on diet to meet the standard criteria to prevent GDM in pregnant women with abnormal GCT, especially for those who aged ≥ 25 years old.
Keywords: pregnant woman, diabetes mellitus, exercise, diet
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์
ในสตรีตั้งครรภ์ที่มี Glucose Challenge Test ผิดปกติ
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (Gestational Diabetes Mellitus: GDM) ในสตรีตั้งครรภ์ที่มี Glucose Challenge Test (GCT) ผิดปกติ
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยแบบ Case-control study
วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างจำนวน 252 รายเป็นสตรีตั้งครรภ์เดี่ยวที่มีอายุครรภ์ 20 สัปดาห์ขึ้นไป มีผลการตรวจ GCT ≥ 140 มก./ดล. และไม่มีภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ ที่มาฝากครรภ์ในโรงพยาบาลตติยภูมิขนาดใหญ่ 2 โรงพยาบาลในกรุงเทพมหานคร ค้ดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง โดยแบ่งเป็นกลุ่มที่เกิด GDM (case group, n = 65 ราย) และกลุ่มที่ไม่เกิด GDM (control group, n = 187 ราย) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบบันทึกการรับประทานอาหารประจำวัน และแบบบันทึกการออกกำลังกายก่อนและขณะการตั้งครรภ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ไคว์สแควร์ และการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก
ผลการวิจัย : อายุ และการรับประทานอาหาร สามารถทำนายการเกิดภาวะเบาหวานในสตรีตั้งครรภ์ที่มี GCT ผิดปกติได้ โดยสตรีตั้งครรภ์ที่มีอายุ ≥ 25 ปีมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ มากกว่าสตรีตั้งครรภ์ ที่มีอายุ < 25 ปี เท่ากับ 3.57 เท่า (95%CI = 1.17-10.83, p < .05) และสตรีที่รับประทานอาหารที่เกินเกณฑ์มาตรฐาน มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ มากกว่าสตรีที่รับประทานอาหารตามเกณฑ์มาตรฐาน เท่ากับ 3.30 เท่า (95%CI = 1.71-6.35, p < .05)
สรุปและข้อเสนอแนะ: พยาบาลและเจ้าหน้าที่ทีมสุขภาพควรให้คำแนะนำเรื่องการรับประทานอาหารตามเกณฑ์มาตรฐาน เพื่อป้องกันการเกิดภาวะเบาหวานในสตรีระยะตั้งครรภ์ที่มีค่า GCT ผิดปกติ โดยเฉพาะสตรีตั้งครรภ์ที่มีอายุ ≥ 25 ปีขึ้นไป
คำสำคัญ: สตรีตั้งครรภ์ เบาหวาน ออกกำลังกาย การรับประทานอาหาร
Article Details
Copyright Notice: Nursing Science Journal of Thailand has exclusive rights to publish and distribute the manuscript and all contents therein. Without the journal’s permission, the dissemination of the manuscript in another journal or online, and the reproduction of the manuscript for non-educational purpose are prohibited.
Disclaimer: The opinion expressed and figures provided in this journal, NSJT, are the sole responsibility of the authors. The editorial board bears no responsibility in this regard.