Information-Motivation-Behavioral Skills Program Improved Phosphate Binder Adherence in Patients with Chronic Hemodialysis
Main Article Content
Abstract
Abstract
Purpose: To study the effect of Information-Motivation-Behavioral Skills (IMB) Program on phosphate binder adherence and serum phosphate level in hemodialysis patients.
Design: A randomized controlled trial.
Method: The IMB Model was employed to develop the study intervention. Seventy hemodialysis patients were randomly assigned into the experimental group (N = 35) and the control group (N = 35). The experimental group received the IMB program in addition to usual care for 4 weeks, while the control group received usual care and the phosphate binder user guide for self-study. Phosphate binder adherence was measured at baseline and at week 5. Serum phosphate level was measured at baseline and at week 13. The data were analyzed with descriptive statistics and independent t-test.
Main findings: Sixty nine subjects completed the study. At baseline, the experimental group and the control group were not significantly different. After the trial, the mean adherence score in the experimental group increased from 20.82 (SD = 2.93) to 24.55 (SD = 1.46), in the control group increased from 21.6 (SD = 2.13) to 22.37 (SD = 2.43). The findings showed that the level of adherence was significantly higher in the experimental group compared to the control group (t = 4.535, p < .05). However, the serum phosphate levels after the trial between the two groups showed no significant difference (p > .05).
Conclusion and recommendations: The program improved adherence to phosphate binder. Thus, it should be implemented in hemodialysis patients who have non-adherence to phosphate binder. Levels of serum phosphate should be followed up to assess the effectiveness of the program to reduce serum phosphate.
Keywords: information motivation behavioral skills, adherence to phosphate binder, hemodialysis
โปรแกรมการให้ข้อมูล เสริมแรงจูงใจ และทักษะการรับประทานยาเพิ่มความสม่ำเสมอในการรับประทานยาจับฟอสเฟตในผู้ป่วยฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลเสริมแรงจูงใจ และทักษะการรับประทานยาต่อความสม่ำเสมอในการรับประทานยาจับฟอสเฟต และระดับฟอสเฟตในเลือดในผู้ป่วยฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม
วิธีดำเนินการวิจัย: การศึกษาครั้งนี้ใช้แนวคิดการให้ข้อมูล เสริมแรงจูงใจ และพัฒนาทักษะ เพื่อนำไปสู่การปรับพฤติกรรม เป็นกรอบแนวคิดในการวิจัยและการพัฒนาโปรแกรม ผู้ป่วยฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม 70 ราย ถูกสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 35 คน กลุ่มทดลองได้รับการดูแลตามปกติร่วมกับโปรแกรมจากผู้วิจัยเป็นเวลา 4 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติและได้รับคู่มือการรับประทานยาจับฟอสเฟตไปศึกษาด้วยตนเองประเมินความสม่ำเสมอในการรับประทานยาก่อนและหลังการทดลองในสัปดาห์ที่ 5 และประเมินระดับ ฟอสเฟตในเลือดก่อน และหลังการทดลองในสัปดาห์ที่ 13 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและ independent t-test
ผลการวิจัย: เมื่อสิ้นสุดการทดลองมีกลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 69 ราย ก่อนการทดลองพบว่าทั้งสองกลุ่มมีลักษณะไม่แตกต่างกันหลังการทดลองพบ ค่าเฉลี่ยความสม่ำเสมอในการรับ ประทานยาจับฟอสเฟตของกลุ่มทดลองเพิ่มขึ้นนี้ จาก 20.82 (SD = 2.93) เป็น 24.55 (SD = 1.46) ส่วนกลุ่มควบคุมเพิ่มขึ้นจาก 21.60 (SD = 2.13) เป็น 22.37 (SD = 2.43) โดยพบว่ากลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 4.535, p < .05) อย่างไรก็ดี ค่าเฉลี่ยระดับฟอสเฟตในเลือดหลังการทดลองของทั้งสองกลุ่มไม่มีความแตกต่างกัน (p > .05)
สรุป และข้อเสนอแนะ: โปรแกรมการให้ข้อมูลเสริมแรงจูงใจและทักษะการรับประทานยาจับฟอสเฟตในผู้ป่วยฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมเพิ่มความสม่ำเสมอในการรับประทานยามากขึ้นควรนำโปรแกรมนี้ไปประยุกต์ใช้ในผู้ป่วยฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมที่มีความไม่สมํ่าเสมอในการรับประทานยาจับฟอสเฟต รวมทั้งศึกษาติดตามระดับฟอสเฟตในเลือดเพื่อประเมินประสิทธิผลของโปรแกรมต่อการลดระดับฟอสเฟตต่อไป
คำสำคัญ : การให้ข้อมูล เสริมแรงจูงใจและทักษะความสม่ำเสมอในการรับประทานยาจับฟอสเฟต การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
Article Details
Copyright Notice: Nursing Science Journal of Thailand has exclusive rights to publish and distribute the manuscript and all contents therein. Without the journal’s permission, the dissemination of the manuscript in another journal or online, and the reproduction of the manuscript for non-educational purpose are prohibited.
Disclaimer: The opinion expressed and figures provided in this journal, NSJT, are the sole responsibility of the authors. The editorial board bears no responsibility in this regard.