Factors Associated with Health Promotion Competencies of Professional Nurses in the Central Region of Thailand

Main Article Content

Kessiri Wongkongkam
Piyatida Nakagasien

Abstract

Abstract
Purposes: To study factors associated with health promotion competencies of professional nurses in the Central Region of Thailand.

Design: Correlational study.

Methods: Sample size was 4,089 Registered Nurses (RNs) who were 25-60 years old and working in the hospitals of 12 provinces which located in the Central Region of Thailand. Participants were enrolled by using the stratified random sampling method. General information and health promotion competency questionnaire were used for collecting data. Data were analyzed by descriptive statistics: mean, percentage, standard deviations and Chi-square test.

Main findings: Most of participants were female (97.2%) with the mean age of 39.12 years (SD = 9.58). The average score of overall health promotion competencies were in the low level (Mean = 49.60, SD = 14.14). The average score of health promotion competencies by section were also in the low level: 1) individual characteristics of health promotion (Mean = 9.78, SD = 2.84); 2) health promotion activities (Mean = 14.76, SD = 4.37); 3) health promotion management (Mean = 10.76, SD = 3.41); 4) developing partnership networks for health promotion (Mean = 8.83, SD = 2.95); and 5) researcher and knowledge management (Mean = 5.46, SD = 1.88). Age, educational level, short course training, nursing experience, position and level of nursing services were statistically significant associated with health promotion competencies of professional nurses in the Central Region (p < .05).

Conclusion and recommendations: Developing health promotion competencies of professional nurses should be set as priority in nursing services including policy, education, and research. Short course training should be promoted to increase health promotion competencies of
professional nurses.

Keywords: health promotion competency, professional nurses


ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสมรรถนะด้านการสร้างเสริมสุขภาพของพยาบาลวิชาชีพในเขตพื้นที่ภาคกลาง

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสมรรถนะด้านการสร้างเสริมสุขภาพของพยาบาลวิชาชีพในเขตพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย

รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงสหสัมพันธ์

วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพอายุ 25-60 ปี ที่ปฏิบัติงานในเขตพื้นที่ภาคกลางจำนวน 12 จังหวัด คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน ได้ตัวอย่างทั้งสิ้น 4,089 ราย เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และแบบสอบถามระดับสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพในการสร้างเสริมสุขภาพ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบไคสแคว์ (Chi-square test)

ผลการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 39.12 ปี (SD = 9.58) คะแนนเฉลี่ยของสมรรถนะด้านการสร้างเสริมสุขภาพของพยาบาลวิชาชีพ โดยรวมอยู่ในระดับตํ่า (Mean = 49.60, SD = 14.14) และคะแนนเฉลี่ยรายด้านอยู่ในระดับต่ำเช่นเดียวกัน ได้แก่ 1) ด้านคุณลักษณะส่วนบุคคลในการสร้างเสริมสุขภาพ (Mean = 9.78, SD = 2.84); 2) ด้านปฏิบัติกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ (Mean = 14.76, SD = 4.37); 3) ด้านบริหารจัดการในการสร้างเสริมสุขภาพ (Mean = 10.76, SD = 3.41); 4) ด้านการพัฒนาภาคีเครือข่ายการสร้างเสริมสุขภาพ (Mean = 8.83, SD = 2.95); และ 5) ด้านการวิจัยและการจัดการความรู้ (Mean = 5.46, SD = 1.88) อายุ ระดับการศึกษา การฝึกอบรมระยะสั้น ประสบการณ์ปฏิบัติงานในบทบาทพยาบาลวิชาชีพ ตำแหน่งงาน และระดับการให้บริการของพยาบาลเป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับสมรรถนะด้านการสร้างเสริมสุขภาพของพยาบาลวิชาชีพในเขตพื้นที่ภาคกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05)

สรุปและข้อเสนอแนะ: การพัฒนาสมรรถนะด้านการสร้างเสริมสุขภาพสำหรับพยาบาลวิชาชีพ เป็นเรื่องที่ควรให้ความสำคัญ ทั้งในด้านนโยบาย ด้านการศึกษา และด้านการวิจัย นอกจากนี้ควรส่งเสริมการจัดอบรมระยะสั้นเพื่อเพิ่มสมรรถนะด้านการสร้างเสริมสุขภาพของพยาบาลวิชาชีพ

คำสำคัญ: สมรรถนะด้านการสร้างเสริมสุขภาพ พยาบาลวิชาชีพ

Article Details

How to Cite
Wongkongkam, K., & Nakagasien, P. (2016). Factors Associated with Health Promotion Competencies of Professional Nurses in the Central Region of Thailand. Nursing Science Journal of Thailand, 34(2), 102–116. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ns/article/view/62170
Section
Research Papers