Factors Predicting Evidence-Based Practice of Pediatric Nurses
Main Article Content
Abstract
Abstract
Purpose: The aim of this study was to examine the predictive power of organizational policy; support from administrators and nurses’ competency in evidence-based nursing practice.
Design: Correlational predictive design.
Methods: The sample consisted of 196 registered pediatric nurses, who have worked in pediatric wards at a university hospital for at least 2 years, and not being in a position of head nurse or higher. Data were collected through a set of questionnaires including personal information, nurses’ opinions towards the factors related to evidence-based practice, and evidence-based nursing practice. Data analysis was performed using descriptive statistics, Pearson’s product moment correlation, and multiple regressions.
Main findings: The result showed that organizational policy, support from administrators, and nurses’ competency could account for 31% of the variance explained in the evidence-based nursing practice (R2 = .31, F (3, 192) = 28.73, p < .001). However, nurses’ competency was the only significant predictor of the evidence-based nursing practice (β = .54, p < .001).
Conclusion and recommendations: The study findings suggest the need for training in evidence-based practice among pediatric nurses, so that they will be equipped with sufficient competence.
ปัจจัยทำนายการปฏิบัติการพยาบาลตามหลักฐานเชิงประจักษ์ของพยาบาลเด็ก
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอำนาจการทำนายของปัจจัยด้านนโยบายองค์กร ด้านการสนับสนุนของผู้บริหาร และด้านสมรรถนะของพยาบาลในการปฏิบัติการพยาบาลตามหลักฐานเชิงประจักษ์
รูปแบบการวิจัย: การศึกษาความสัมพันธ์เชิงทำนาย
วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติการพยาบาลเด็กเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 2 ปี และไม่เป็นผู้บริหารระดับหัวหน้าหอผู้ป่วยขึ้นไป จำนวนทั้งสิ้น 196 คน ณ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร เก็บรวมรวบข้อมูลด้วยแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลแบบสอบถามความคิดเห็นของพยาบาลต่อปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการพยาบาลตามหลักฐานเชิงประจักษ์ และแบบสอบถามการปฏิบัติการพยาบาลตามหลักฐานเชิงประจักษ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัย: ผลการศึกษาพบว่า นโยบายองค์กร การสนับสนุนของผู้บริหาร และสมรรถนะของพยาบาลสามารถร่วมกันทำนายการปฏิบัติการพยาบาลตามหลักฐานเชิงประจักษ์ของพยาบาลเด็กได้ร้อยละ 31 (R2 = .31, F = 28.73, p < .001) โดยมีเพียงปัจจัยด้านสมรรถนะของพยาบาลเท่านั้นที่สามารถทำนายการปฏิบัติารพยาบาลตามหลักฐานเชิงประจักษ์ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (β = .54, p < .001)
สรุปและข้อเสนอแนะ: ผลการศึกษาแสดงให้เห็นถึงความจำเป็นในการสนับสนุนและส่งเสริมให้พยาบาลได้รับการอบรมเพิ่มเติม เพื่อให้มีสมรรถนะเพียงพอในการปฏิบัติการพยาบาลตามหลักฐานเชิงประจักษ์
คำสำคัญ: นโยบายองค์กร การปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ สมรรถนะของพยาบาล การสนับสนุนของผู้บริหารการพยาบาลเด็ก
Article Details
Copyright Notice: Nursing Science Journal of Thailand has exclusive rights to publish and distribute the manuscript and all contents therein. Without the journal’s permission, the dissemination of the manuscript in another journal or online, and the reproduction of the manuscript for non-educational purpose are prohibited.
Disclaimer: The opinion expressed and figures provided in this journal, NSJT, are the sole responsibility of the authors. The editorial board bears no responsibility in this regard.