Influences of Perceived Medication Necessity, Medication Concern, Side Effects, and Treatment-Time on Inhaled Corticosteroids Adherence in Adult Patients with Asthma
Main Article Content
Abstract
Abstract
Purpose: To study the influence of perceived medication necessity, medication concern, side effects and treatment-time on inhaled corticosteroids (ICS) adherence in adult patients with asthma.
Design: A descriptive predictive design.
Methods: A purposive sample composed of 120 asthma patients aged between 18 and 60 years who were treated at a tertiary care hospital in Bangkok. Data were collected with Demographic Questionnaire, Health Data Record Form, Medication Adherence Report Scale, Beliefs about
Medicines Questionnaire-Specific and Inhaled Corticosteroids Questionnaire-Shortened version. The data were analyzed using descriptive statistics and logistic regression.
Main findings: The findings indicated that perceived medication necessity, medication concern, side effects and treatment time could explain 21.1% of the variance in ICS adherence in adult patients with asthma. Medication concern is significant predictors of ICS adherence in adult patients with asthma (p < .05).
Conclusion and recommendations: Nurses and health care team should pay attention to evaluate and manage medication concerns in asthma patients.
อิทธิพลของการรับรู้ความจำเป็นต่อการใช้ยา ความกังวลจากการใช้ยา ผลข้างเคียง และระยะเวลาการรักษาต่อความร่วมมือในการใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดสูดในผู้ป่วยผู้ใหญ่โรคหืด
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอิทธิพลของการรับรู้ความจำเป็นต่อการใช้ยา ความกังวลจากการใช้ยา ผลข้างเคียงและระยะเวลาการรักษาต่อความร่วมมือในการใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดสูดในผู้ป่วยผู้ใหญ่โรคหืด
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงทำนาย
วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคหืด อายุระหว่าง 18-60 ปี คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง 120 คน จากโรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบบันทึกข้อมูลทางด้านสุขภาพ แบบประเมินความร่วมมือในการใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดสูด แบบสอบถามความเชื่อเกี่ยวกับการใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดสูด และแบบสอบถามผลข้างเคียงจากการใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดสูดวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และถดถอยโลจิสติก
ผลการวิจัย : การรับรู้ความจำเป็นต่อการใช้ยาความกังวลจากการใช้ยาผลข้างเคียง และระยะเวลาการรักษาร่วมกันอธิบายความผันแปรของความร่วมมือในการใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดสูดในผู้ป่วยผู้ใหญ่โรคหืดได้ร้อยละ 21.1 โดยความกังวลจากการใช้ยาเป็นปัจจัยที่สามารถทำนายความร่วมมือในการใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดสูดได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05)
สรุปและข้อเสนอแนะ: แพทย์และพยาบาลควรให้ความสำคัญกับการประเมินและจัดการกับความกังวลจากการใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดสูดในผู้ป่วยโรคหืด
คำสำคัญ: โรคหืด การรับรู้ความจำเป็นต่อการใช้ยา ความกังวลจากการใช้ยา ผลข้างเคียง ระยะเวลาการรักษา
Article Details
Copyright Notice: Nursing Science Journal of Thailand has exclusive rights to publish and distribute the manuscript and all contents therein. Without the journal’s permission, the dissemination of the manuscript in another journal or online, and the reproduction of the manuscript for non-educational purpose are prohibited.
Disclaimer: The opinion expressed and figures provided in this journal, NSJT, are the sole responsibility of the authors. The editorial board bears no responsibility in this regard.