Effective Design of High Fidelity Simulation for Nursing Students

Main Article Content

Nantakarn Maneejak
Pratchayapong Yasri

Abstract

Abstract
The high fidelity simulation (HFS) has been used in nursing education to promote nursing students’ essential skills before handling with real patients. However, little if any, has been known what an effective design of HFS looks like. This article, therefore, aims to review existing four
frameworks for designing the HFS in nursing education. Then it attempts to synthesize these frameworks into a single framework. The synthesized framework points out three main important roles in the effective HFS design: instructor roles, student roles, and technical support. The
instructor roles are to set clear objectives of the simulation, provide a realistic and problemspecific context, and give student support. The roles of nursing students include debriefing through individual and group reflections after experiencing with the simulation, practicing the role of
observer, as well as taking a role play to make the scenario more realistic and to understand different roles more deeply. Finally, technical support such as setting up computer and preparing medical materials is crucial to make the HFS effective.

 

 

การสร้างสถานการณ์จำลองโดยใช้หุ่นสมรรถนะสูงอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อนักศึกษาพยาบาล

บทคัดย่อ
การจำลองสถานการณ์โดยใช้หุ่นสมรรถนะสูงได้รับความนิยมในการศึกษาพยาบาลเป็นอย่างมาก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานที่จำเป็น ของนักศึกษาพยาบาลก่อนการขึ้นฝึกปฏิบัติการพยาบาลกับผู้ป่วยจริงบนหอผู้ป่วยหากแต่ว่าความรู้ความเข้าใจในการออกแบบการจำลองสถานการณ์โดยใช้หุ่นสมรรถนะสูงที่มีประสิทธิภาพนั้นยังมีอยู่อย่างจำกัด บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมกรอบความคิดในการออกแบบสถานการณ์จำลอง โดยใช้หุ่นสมรรถนะ
สูงที่เหมาะสมต่อการศึกษาทางการพยาบาล และทำการสังเคราะห์ออกมาในรูปแบบของบทบาทที่สำคัญต่อการสร้างสถานการณ์จำลองโดยใช้หุ่นสมรรถนะสูงซึ่งประกอบด้วยบทบาทครูผู้สอน บทบาทของนักศึกษา และบทบาทของเจ้าหน้าที่เทคนิค โดยที่ครูผู้สอนทำหน้าที่กำหนดวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนของสถานการณ์จำลอง ออกแบบสถานการณ์เสมือนจริงท่ตรงกับบริบทเฉพาะของผู้ป่วย และการให้การสนับสนุนอื่นๆ ที่จำเป็นแกนักศึกษา ในส่วนของนักศึกษามีบทบาทเน้นหนักไปที่การอภิปรายรายสะท้อนคดิภายหลังจากการเข้ากิจกรรมจำลองสถานการณ์ทั้งแบบรายบุคคลและแบบกลุ่ม การฝึกฝนการเป็นผู้สังเกตการณ์รวมถึงบทบาทอื่นๆ เพื่อความสมจริงและเพื่อให้นักศึกษาเกิดความเข้าใจในสถานการณ์มากยิ่งขึ้น และอีกหนึ่งบทบาทเป็นของเจ้าหน้าที่เทคนิคที่จะทำหน้าที่ในส่วนของการตั้งค่าคอมพิวเตอร์และ
การจัดเตรียมอุปกรณ์ทางการแพทย์เพื่อให้การจำลองสถานการณ์โดยใช้หุ่นสมรรถนะสูงนั้นมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

คำสำคัญ: การจำลองสถานการณ์โดยใช้หุ่นสมรรถนะสูง การศึกษาทางการพยาบาล

Article Details

How to Cite
Maneejak, N., & Yasri, P. (2016). Effective Design of High Fidelity Simulation for Nursing Students. Nursing Science Journal of Thailand, 34(4), 7–13. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ns/article/view/78617
Section
Scholarly Article