Factors Predicting Functional Status in End Stage Renal Disease Older Adults Receiving Hemodialysis
Main Article Content
Abstract
Abstract
Purpose: To examine factors predicting of functional status including symptom experiences, co-morbidity and social support in end stage renal disease older adults receiving hemodialysis.
Design: A correlation predictive design.
Methods: A total of 100 end stage renal disease older adults receiving hemodialysis were selected for this research by convenience sampling. The data were collected through questionnaires: the personal information, the modified symptom experiences assessment, the Charlson Comorbidity
Index, the Multidimention scale of perceived social support, and the Thai-modified functional status questionnaire. Descriptive statistic and multiple regression analysis were used to analyze data.
Main findings: The findings revealed that 68% and 32% of subjects displayed mild and moderate functional status, respectively. Symptom experiences, co-morbidity, and social support significantly predicted functional status in end stage renal disease older adults receiving hemodialysis and accounted for 31.8% of variance (p < .05). Social support was the best predictor to functional status (Beta = .286 p < .05) and symptom experience was the second predictor of functional status
(Beta = - .252, p < .05).
Conclusions and recommendations: Nurses should pay more attention to social support in order to manage the multiple concurrent hemodialysis symptom experiences and control co-morbidity which could enhance their functional status effectively.
ปัจจัยทำนายภาวะการทำหน้าที่ในผู้สูงอายุโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอำนาจการทำนายของปัจจัยประสบการณ์การมีอาการจากการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ภาวะโรคร่วม และแรงสนับสนุน ทางสังคมกับภาวะการทำหนา้ที่ในผู้สูงอายุโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยหาความสัมพันธ์เชิงทำนาย
วิธีดำเนินการวิจัย: ผู้สูงอายุโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม จำนวน 100 ราย ไดด้รับการคัดเลือกเข้าศึกษาแบบสะดวกการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยให้กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลแบบสอบถามประสบการณ์การมีอาการจากการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม แบบสอบถามภาวะโรคร่วม แบบสอบถามการรับรู้แรงสนับสนุนทางสังคม และแบบสอบถามภาวะการทำหน้าที่ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัย: ผู้สูงอายุโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมมีภาวะการทำหน้าที่ในระดับน้อยและปานกลาง ร้อยละ 68 และ ร้อยละ 32 ตามลำดับ ปัจจัยด้านประสบการณ์การมีอาการจากการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ภาวะโรคร่วม และแรงสนับสนุนทางสังคม สามารถร่วมทำนายภาวะการทำหน้าที่ได้ร้อยละ 31.8 โดยแรงสนับสนุนทางสังคม (Beta = .286 p < .05) สามารถร่วมทำนายภาวะการทำหน้าที่ได้ดีที่สุด รองลงมา คือ ประสบการณ์การมีอาการจากการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (Beta = - .252, p < .05).
สรุปและข้อเสนอแนะ: พยาบาลควรให้ความสำคัญกับการใช้ปัจจัยด้านการสนับสนุนทางสังคมในการจัดการกับประสบการณ์มีอาการที่เกิดขึ้นพร้อมกันหลายอาการ และควบคุม โรคร่วม เพื่อการส่งเสริมภาวะการทำหน้าที่ของผู้สูงอายุโรคไตเรื้อรัง ระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมให้ดียิ่งขึ้นนี้
คำสำคัญ : ภาวะการทำหน้าที่ ประสบการณ์การมีอาการ ภาวะโรคร่วม แรงสนับสนุน ทางสังคม โรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย
Article Details
Copyright Notice: Nursing Science Journal of Thailand has exclusive rights to publish and distribute the manuscript and all contents therein. Without the journal’s permission, the dissemination of the manuscript in another journal or online, and the reproduction of the manuscript for non-educational purpose are prohibited.
Disclaimer: The opinion expressed and figures provided in this journal, NSJT, are the sole responsibility of the authors. The editorial board bears no responsibility in this regard.