Effects of a Knowledge and Self-Efficacy-Building Program on Self-Care Behaviors for Uncontrolled Essential Hypertension

Main Article Content

Pikuntip Kunset
Kerada Krainuwat
Piyatida Nakagasien

Abstract

Abstract

Purpose: To study the effects of a knowledge and self-efficacy-building program on self-care behaviors for uncontrolled essential hypertension.

Design: A quasi-experimental design.

Methods: The sixty participants aged 35 and over with uncontrolled essential hypertension. Participants were divided into a treatment group and a comparison group, with 30 samples for each group. The treatment group received a knowledge and self-efficacy-building program, which took 8 weeks, while the comparison group received conventional nursing care. The data were collected via self-reported questionnaires including demographic data, knowledge, self-efficacy, and self-care behaviors. Descriptive statistics and repeated measure ANOVA were used for analysis.

Main findings: Knowledge before and after receiving the program was found significantly different (F = 9.980, df = 1, p < .05), when the matched pairs were compared, the score before and after receiving the program for the first time were different with statistical significance at .05 and scores before and after receiving the program for the second time were different with statistical significance at .05. Self-efficacy before and after receiving the program was found significantly different (F = 5.448,
df = 1, p < .05), when the matched pairs were compared, the scores before and after receiving the program for the second time were different with statistical significance at .05 and the scores after receiving the program for the first time and the second time were different with statistical significance at .05. Self-care behaviors before and after receiving the program was found significantly different (F = 13.044, df = 1.695, p < .05). When the matched pairs were compared, the scores for self-care behaviors before and after receiving the program for the first time were different with statistical significance at .05 and scores before and after receiving the program for the second time were different with statistical significance at .05.

Conclusion and recommendations: The knowledge and self-efficacy-building program had an impact on changing self-care behaviors. Self-care behaviors should be followed and studied a long-time. The results of this study can apply to the development and care of patients with hypertension more effectively.


ผลของการใช้โปรแกรมการให้ความรู้และสร้างเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุที่ควบคุมไม่ได้

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการให้ความรู้และสร้างเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุที่ควบคุมไม่ได้

รูปแบบการวิจัย: วิจัยกึ่งทดลอง

วิธีดำเนินการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุที่ควบคุมไม่ได้ อายุ 35 ปีขึ้นไป แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบกลุ่มละ 30 ราย กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการให้ความรู้และสร้างเสริมสมรรถนะแห่งตน 8 สัปดาห์ กลุ่มเปรียบเทียบได้รับการพยาบาลตามปกติ ประเมินความแตกต่างของความรู้ การรับรู้สมรรถนะแห่งตน และพฤติกรรมการดูแลตนเองก่อนได้รับโปรแกรมและหลังได้รับโปรแกรม 2 ครั้ง วิเคราะห์ข้อมูลด้วย
สถิติ repeated measure ANOVA

ผลการวิจัย: คะแนนความรู้และคะแนนการรับรู้สมรรถนะแห่งตนก่อนและหลังได้รับโปรแกรมมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F = 9.980, และ F = 5.448 df = 1, p < .05) เมื่อเปรียบเทียบรายคู่พบว่าความรู้ก่อนและหลังได้รับโปรแกรมครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนก่อนและหลังได้รับ โปรแกรมครั้งที่ 2 และหลังได้รับโปรแกรมครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) ในส่วนคะแนนพฤติกรรมการดูแลตนเองก่อนและหลังได้รับโปรแกรมพบว่า มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F = 13.044, df = 1.695, p < .05) เมื่อเปรียบเทียบรายคู่พบว่าพฤติกรรมการดูแลตนเองก่อนและหลังได้รับโปรแกรมครั้งที่ 1 และก่อนและหลังได้รับโปรแกรมครั้งที่ 2 มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <
.05)

สรุปและข้อเสนอแนะ: การให้ความรู้และสร้างเสริมสมรรถนะแห่งตนให้กับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงมีผลต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตนเอง ผลการศึกษานี้สามารถนำไปประยุกต์และพัฒนาการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


คำสำคัญ: ความดันโลหิตสูง ความรู้ การสร้างเสริมสมรรถนะแห่งตน พฤติกรรมการดูแลตนเอง

Article Details

How to Cite
Kunset, P., Krainuwat, K., & Nakagasien, P. (2016). Effects of a Knowledge and Self-Efficacy-Building Program on Self-Care Behaviors for Uncontrolled Essential Hypertension. Nursing Science Journal of Thailand, 34(4), 90–102. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ns/article/view/78708
Section
Research Papers