The Effect of Environmental Management Program on Amount of House Dust Mites, Knowledge and Behavior of Parents and Staff in Day Care
Main Article Content
Abstract
Abstract
Purpose: To compare amount of house dust mites, knowledge, and behavior of parents and day care staff before and after implementing an environmental management program.
Design: A one group pretest-posttest design.
Methods: The sample consisted of 2 groups, 21 parents of children at risk for allergic rhinitis and 11 daycare staff. This study employed Kolb’s experiential learning theory (1984). The environmental management program, based on Kolb’s experiential learning theory, consisted of learning through assessment of home and the daycare center environment, reflection with the sample group, development of the guideline for environmental management, implementation, and evaluation. Data were analyzed with descriptive statistics and Wilcoxon signed-rank test.
Main findings: After implementing the program, parents had higher scores for knowledge and behavior in environmental management with a statistical significance (p < .05). Day care staff’s knowledge was not significantly different (p > .05). Day care staff had higher scores for behavior in environmental management with a statistical significance (p > .05), finally leading to statistical significance in reducing amount of house dust mites at home and the day care centre. (p < .05).
Conclusion and recommendations: the environmental management program enhance parents and day care staff ’s learning through their experience, develop the guideline, and manage the environment appropriate for children at risk for allergic rhinitis. Nurses should apply this program to reduce allergy in the environment to promote child health and quality of life.
ผลของโปรแกรมการจัดการสิ่งแวดล้อมต่อปริมาณไรฝุ่น ความรู้ และพฤติกรรมของผู้ปกครองและบุคลากรในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบความรู้และพฤติกรรมของผู้ปกครองและบุคลากรในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และปริมาณไรฝุ่นก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการจัดการสิ่งแวดล้อม
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยแบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง
วิธีดำเนินการวิจัย: ศึกษาในกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม คือ ผู้ปกครองของเด็กกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดอาการของโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ 21 คน และบุคลากรในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 11 คน โดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้จากประสบการณ์ของ Kolb (1984) โปรแกรมการจัดการสิ่งแวดล้อมประกอบด้วย การเรียนรู้จากสถานการณ์จริง โดยการสำรวจสิ่งแวดล้อมและ ปริมาณไรฝุ่นที่บ้านและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การพัฒนาวิธีการจัดการสิ่งแวดล้อม และการปฏิบัติจริงและติดตามผล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และสถิติ Wilcoxon signed-rank test
ผลการวิจัย: ผู้ปกครองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้และพฤติกรรมในการจัดการสิ่งแวดล้อมหลังได้รับโปรแกรมสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) บุคลากรในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีคะแนนเฉลี่ยความรู้ในการจัดการสิ่งแวดล้อมไม่แตกต่างกันระหว่างก่อนและหลังการได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p > .05) โดยมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมในการจัดการสิ่งแวดล้อมหลังได้รับโปรแกรมสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) และปริมาณไรฝุ่นภายในบ้านและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กหลังได้รับโปรแกรมตํ่ากว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05)
สรุปและข้อเสนอแนะ: โปรแกรมการจัดการสิ่งแวดล้อมส่งเสริมให้ผู้ปกครองและบุคลากรในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเกิดการเรียนรู้จากประสบการณ์ มีส่วนร่วมในการพัฒนาแนวทางการจัดการสิ่งแวดล้อม นำไปสู่การจัดการสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับเด็กที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอาการของโรคภูมิแพ้ พยาบาลสามารถประยุกต์โปรแกรมนำไปใช้ในการลดปัจจัยกระตุ้นให้เกิดอาการของโรคภูมิแพ้ เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดี
คำสำคัญ: โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ โปรแกรมการจัดการสิ่งแวดล้อม ปริมาณไรฝุ่น ความรู้ พฤติกรรม
Article Details
Copyright Notice: Nursing Science Journal of Thailand has exclusive rights to publish and distribute the manuscript and all contents therein. Without the journal’s permission, the dissemination of the manuscript in another journal or online, and the reproduction of the manuscript for non-educational purpose are prohibited.
Disclaimer: The opinion expressed and figures provided in this journal, NSJT, are the sole responsibility of the authors. The editorial board bears no responsibility in this regard.