The Effect of Comprehensive Sex Education Program on Knowledge and Skill of Condom Application to Model of 2nd Grade High School
Main Article Content
Abstract
Abstract
Purpose: This study aimed compare to the effect of comprehensive sex education and condom using skills among junior high school students.
Design: Quasi-experimental study.
Methods: The sample composed of 2nd grade high school students at Bangkoknoi, Bangkok. The sample was selected by simple random sampling, divided into control group (33) and experimental group (32). The control group received the school sex education. The experimental group received comprehensive sex education program, including development and sexual health knowledge, sexual transmitted disease and HIV infections, the risk situation against unsafe sex, denying skill, and condom using skill (CVI = .9, Cronbach’s alpha .845). Data were analyzed using descriptive statistics and independent t-test.
Main findings: The average score of the experimental and control group after receiving the comprehensive sex education program are not significantly different. However the average score of condom application skills of experimental group is significant higher than control group (t = 18.28, p < .001).
Conclusion and recommendations: The comprehensive sex education program may not be able to increase knowledge but enable to enhance the skill of applying condom effectively. Therefore, this program is useful for health care provider or instructor who has experiences and well trained. Teaching condom use skills may utilize several techniques such as game to increase positive attitude in using condom of student 2nd grade high school.
ผลของการสอนเพศศึกษารอบด้านต่อความรู้และทักษะการสวมถุงยางอนามัยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ชั้นปีที่ 2
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบความรู้เรื่องเพศศึกษาและทักษะการสวมถุงยางอนามัยของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลอง
วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ชั้นปีที่ 2 ในโรงเรียนมัธยมศึกษาเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ผู้วิจัยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ด้วยการจับฉลากได้โรงเรียน 2 แห่ง จาก 6 แห่ง และใช้การเลือกแบบเฉพาะเจาะจงห้องเรียนที่นักเรียนมีผลการเรียนอยู่ระดับปานกลาง มีจำนวนนักเรียนหญิงและชายในห้องใกล้เคียงกัน ได้กลุ่มควบคุมจำนวน 33 คน และกลุ่มทดลองจำนวน 32 คน กลุ่มควบคุมได้รับการสอนเพศศึกษาจากโรงเรียนตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับการสอนด้วยโปรแกรมเพศศึกษารอบด้าน ซึ่งประกอบด้วย 1) การให้ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงและการดูแลสุขภาพทางเพศ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และการติดเชื้อเอชไอวีหรือ โรคเอดส์ 2) การฝึกทักษะเกี่ยวกับการปฏิเสธ การเจรจาต่อรอง และการสวมถุงยางอนามัย 3) การสร้างแรงจูงใจในการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัยและรับผิดชอบ รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความรู้เรื่องเพศศึกษาค่า CVI = .9 และ Cronbach’s alpha .845 และแบบประเมินทักษะการสวมถุงยางอนามัยกับโมเดล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการทดสอบ independent t-test
ผลการวิจัย: พบว่ากลุ่มทดลองภายหลังได้รับการสอนเพศศึกษารอบด้าน มีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุม อย่างไรก็ดีพบว่าค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะการสวมถุงยางอนามัยกับโมเดลหลังการทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (t = 18.28, p < .001)
สรุปและข้อเสนอแนะ: แม้โปรแกรมการสอนเพศศึกษารอบด้านในกลุ่มตัวอย่างไม่มีความแตกต่างในการเพิ่มความรู้ แต่มีความแตกต่างในทักษะการสวมใส่ถุงยางอนามัย ในกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 2 ดังนั้น โปรแกรมนี้จึงเหมาะกับบุคลากรด้านสาธารณสุข หรือครูที่ผ่านการอบรมการจัดกิจกรรมการสอน การฝึกทักษะการใส่ถุงยางอนามัยอาจเปลี่ยนรูปแบบการสอน เช่น เกม เพื่อเพิ่มทัศนคติทางบวกเกี่ยวกับถุงยางอนามัย ซึ่งอาจช่วยให้วัยรุ่นที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์สามารถใช้ถุงยางอนามัยได้ถูกต้อง
คำสำคัญ: เพศศึกษา การสอนเพศศึกษารอบด้าน ทักษะการสวมถุงยางอนามัย
Article Details
Copyright Notice: Nursing Science Journal of Thailand has exclusive rights to publish and distribute the manuscript and all contents therein. Without the journal’s permission, the dissemination of the manuscript in another journal or online, and the reproduction of the manuscript for non-educational purpose are prohibited.
Disclaimer: The opinion expressed and figures provided in this journal, NSJT, are the sole responsibility of the authors. The editorial board bears no responsibility in this regard.