Quality of Life and Related Factors in Women Receiving Hemodialysis and Continuous Ambulatory Peritoneal Dialysis: A Comparative Study

Main Article Content

Aurawamon Sriyuktasuth
Nopporn Vongsirimas
Nattaya Praha
Prapatsinee Prapaiwong

Abstract

Abstract

Purpose: To compare quality of life and related factors between women receiving hemodialysis (HD) and continuous ambulatory peritoneal dialysis (CAPD).

Design: A secondary data analysis.

Method: A sample of 100 HD women and 100 CAPD women aged 18 years and above who received dialysis for at least three months were included in the study. Primary data were collected by using demographic questionnaire, Female Sexual Function Index (FSFI), Center for Epidemiologic Study-Depression Scale (CES-D), Dyadic Adjustment Scale (DAS), and Thai version of WHO’s Quality of Life Brief questionnaire (WHOQOL–BREF–THAI). Data were analyzed by using descriptive statistics and multiple regression analysis.

Main findings: The results indicated significantly higher sexual function and marital relationship in HD women compared to CAPD women, but no difference in depression was found. When explored the associations between the quality of life scores and dialysis modality by multiple regression analysis, the results showed that different dialysis modality affected quality of life. The scores of overall quality of life and all component scales were significantly higher in HD women (p < .001).


Conclusion and recommendations: Women with dialysis, especially CAPD women are at risk for poor quality of life. They should receive care to promote their quality of life. In doing so, they will be able to live better with their chronic illness and prolong treatment.


คุณภาพชีวิตและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในผู้หญิงที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม และล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง: การศึกษาเปรียบเทียบ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: คุณภาพชีวิตและปัจจัยที่เกี่ยวข้องระหว่างผู้หญิงที่ได้รับการบำบัดการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม และผู้หญิงที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง


รูปแบบการวิจัย: การวิเคราะห์ทุติยภูมิ

วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้หญิงที่ได้รับการฟอกเลือด 100 คน และได้รับการล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง 100 คน อายุ 18 ปี ขึ้นไป ล้างไตมาแล้วอย่างน้อย 3 เดือน ข้อมูลปฐมภูมิเก็บรวบรวมโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามการทำหน้าที่ทางเพศ แบบสอบถามภาวะซึมเศร้า แบบสอบถามความสัมพันธ์ระหว่างคู่สมรสและแบบสอบถามคุณภาพชีวิต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติถดถอยพหุคูณ

ผลการวิจัย: ผลการศึกษาพบว่า ผู้หญิงกลุ่มฟอกเลือดมีการทำหน้าที่ทางเพศและความสัมพันธ์ระหว่างคู่สมรสดีกว่ากลุ่มล้างไตทางช่องท้องอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนภาวะซึมเศร้าของทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน เมื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนคุณภาพชีวิตกับวิถีการล้างไตโดยใช้สถิติถดถอยพหุคุณ พบว่า ผู้หญิงกลุ่มฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมมีคุณภาพชีวิตดีกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทั้งโดยรวมและรายด้าน (p < .001)

สรุปและข้อเสนอแนะ: ผู้หญิงที่ได้รับการล้างไตโดยเฉพาะการล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่องมีความเสี่ยงต่อคุณภาพชีวิตที่ไม่ดี ควรได้รับการดูแลเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น และสามารถปรับตัวอยู่กับภาวะโรคเรื่้อรัง และการรักษาที่ยาวนานได้ต่อไป

คำสำคัญ: การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม การล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง วิธีการล้างไต คุณภาพชีวิต

Article Details

How to Cite
Sriyuktasuth, A., Vongsirimas, N., Praha, N., & Prapaiwong, P. (2017). Quality of Life and Related Factors in Women Receiving Hemodialysis and Continuous Ambulatory Peritoneal Dialysis: A Comparative Study. Nursing Science Journal of Thailand, 35(1), 72–84. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ns/article/view/90183
Section
Research Papers