เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด

  •  บทความต้นฉบับที่ส่งมารับการตีพิมพ์ในวารสารพยาบาลศาสตร์จะต้องไม่เคยลงตีพิมพ์ หรือกำลังอยู่ในระหว่างการประเมินของวารสารใดมาก่อน
  •  ข้อมูลปฐมภูมิที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ต้องมีระยะเวลาไม่เกิน 5 ปี นับตั้งแต่สิ้นสุดการเก็บข้อมูล
  • บทคัดย่อภาษาไทยต้องสอดคล้องกับบทคัดย่อภาษาอังกฤษ
  •  ความยาวของตัวเนื้อหาบทความวิจัยต้นฉบับไม่ควรเกิน 15 หน้าของกระดาษขนาด A4 (รวมตารางและเอกสารอ้างอิง)
  •  ความยาวของตัวเนื้อหาบทความทบทวนวรรณกรรมต้นฉบับไม่ควรเกิน 20 หน้าของกระดาษขนาด A4 (รวมตารางและเอกสารอ้างอิง)
  •  ไฟล์ต้นฉบับที่ส่งวารสารอยู่ในรูปแบบของ .doc/docx, .xls/xlsx, และ .zip
  •  โครงสร้างและรูปแบบของต้นฉบับให้เป็นไปตามระเบียบของวารสาร ตามรายละเอียดของ “การเตรียมต้นฉบับภาษาไทย”
  •  ต้นฉบับบทความที่ส่งมายังวารสารพยาบาลศาสตร์ ได้ปฏิบัติตามนโยบายด้านจริยธรรม

คำแนะนำในการเตรียมต้นฉบับภาษาไทย

1. บทความต้นฉบับที่ส่งมารับการตีพิมพ์ในวารสารพยาบาลศาสตร์จะต้องไม่เคยลงตีพิมพ์ หรือกำลังอยู่ในระหว่างการประเมินของวารสารใดมาก่อน และข้อมูลปฐมภูมิที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลต้องมีระยะเวลาไม่เกิน 5 ปี นับตั้งแต่สิ้นสุดการเก็บข้อมูล

2. รูปแบบการเขียน

    2.1 บทความต้นฉบับควรพิมพ์ด้วยอักษร TH SarabunPSK ขนาด 16 pt. ให้เว้นระยะขอบทุกด้านของหน้ากระดาษอย่างน้อยหนึ่งนิ้ว และให้ใส่เลขหน้าทุกหน้าที่หัวมุมบนขวาตั้งแต่หน้าแรกจนถึงหน้าสุดท้าย พร้อมทั้งจัดหน้าให้ชิดด้านซ้ายทั้งบทความ โดยไม่ต้องจัดให้ด้านหลังเท่ากัน

    2.2 ความยาวของบทความต้นฉบับ ในส่วนของตัวเนื้อหาบทความวิจัยมีความยาวทั้งหมดไม่ควรเกิน 15 หน้า ของกระดาษขนาด A4 (รวมตารางและเอกสารอ้างอิง)  ในส่วนของตัวเนื้อหาของบทความทบทวนวรรณกรรมมีความยาวไม่ควรเกิน 20 หน้า ของกระดาษ A4 (รวมตารางและเอกสารอ้างอิง)

    2.3 องค์ประกอบของบทความต้นฉบับ ควรเรียงตามลำดับ ดังนี้ 

          2.3.1 หน้าแรก คือ บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

          - บรรทัดแรกให้ระบุชื่อของบทความ (ซึ่งควรสั้น น่าสนใจ และมีคำสำคัญอยู่ในชื่อด้วย) หากมีแหล่งทุนวิจัยและ/หรือเป็นวิทยานิพนธ์ จะต้องใส่ * หลังชื่อบทความด้วย

          - บรรทัดที่ 2 ระบุชื่อ-นามสกุลของผู้เขียน/นักวิจัยแต่ละคน ตามด้วย RN (ถ้ามี) และวุฒิการศึกษาสูงสุด (ไม่ใส่จุด) พร้อมใส่ตัวเลขกำกับ (ตัวยก) ที่ข้างท้ายของวุฒิการศึกษา

          - บรรทัดถัดมาเป็นส่วนของบทคัดย่อและคำสำคัญ ซึ่งบทคัดย่อไม่ควรเกิน 350 คำ และไม่ควรใช้ตัวย่อ แต่ให้เขียนคำเต็ม โดยเขียนเรียงตามหัวข้อดังนี้ คือ Purpose, Design, Methods, Main findings, Conclusion and recommendations และ Keywords ซึ่งไม่ควรเกิน 5 คำ เรียงลำดับตามตัวอักษร (a-z) และควรเป็นคำที่ปรากฏในรายการ Medical Subject Headings (MeSH)

          - ส่วนด้านล่างของหน้า ให้ระบุ Corresponding Author ตำแหน่งวิชาการ ชื่อ-นามสกุล ตามด้วยที่อยู่ของสถาบันที่สังกัดและอีเมล  บรรทัดต่อมาหากมีแหล่งทุนวิจัย และ/หรือ เป็นวิทยานิพนธ์ให้ระบุมาด้วย (ใส่ * แล้วตามด้วยข้อความ) และบรรทัดถัดมาให้ใส่หมายเลขกำกับเป็นตัวยก แล้วระบุที่อยู่ของสถาบันที่สังกัดของผู้เขียน/นักวิจัยทุกคน ให้ตรงกับชื่อของผู้เขียน/นักวิจัยในบรรทัดที่สองของหน้า

          2.3.2 หน้าที่ 2 คือ บทคัดย่อภาษาไทย ให้มีรูปแบบเหมือนบทคัดย่อภาษาอังกฤษ โดยเขียนเรียงตามหัวข้อดังนี้ คือ วัตถุประสงค์ รูปแบบการวิจัย วิธีดำเนินการวิจัย ผลการวิจัย สรุปและข้อเสนอแนะ และ คำสำคัญ เนื้อหาของบทคัดย่อภาษาไทยต้องสอดคล้องกับบทคัดย่อภาษาอังกฤษ และให้เรียงลำดับคำสำคัญตามที่ปรากฏในบทคัดย่อภาษาอังกฤษ

          2.3.3 หน้าที่ 3 เป็นต้นไป เป็นส่วนของเนื้อหา สำหรับ "บทความวิจัย" เรียงลำดับหัวข้อ ดังนี้

          - ความสำคัญของปัญหา

          - วัตถุประสงค์ของการวิจัย

          - คำถามวิจัย และ/หรือ สมมุติฐานการวิจัย

          - วิธีดำเนินการวิจัย (ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง, เครื่องมือการวิจัย, การพิทักษ์สิทธิ์กลุ่มตัวอย่าง, วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูล)

          - ผลการวิจัย

          - การอภิปรายผล

          - สรุปและข้อเสนอแนะ

          สำหรับหัวข้อของเนื้อหาใน "บทความทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ" หรือ "บทความทบทวนวรรณกรรมเชิงบูรณาการ" ให้เป็นไปตามขั้นตอนของกระบวนการทบทวนวรรณกรรมประเภทนั้นๆ

    2.4  References การอ้างอิงใช้ระบบแวนคูเวอร์ ไม่ควรเกิน 25 รายการสำหรับบทความวิจัย และไม่ควรเกิน 40 รายการสำหรับบทความวิชาการ และต้องเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด ถ้าต้นฉบับที่ใช้อ้างอิงเป็นภาษาไทย ให้ใส่คำว่า (in Thai). ต่อท้ายของรายการอ้างอิงนั้นๆ และควรใช้เอกสารอ้างอิงที่สามารถสืบค้นได้ในฐานข้อมูลที่เป็นที่ยอมรับทางวิชาการ 

    2.5  ตาราง รูปภาพ แผนภูมิ ให้แทรกในเนื้อหาที่มีการกล่าวถึง และอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม

    2.6 เป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนที่จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์และจ่ายค่าใช้จ่าย (ถ้ามี) ในการขอใช้เครื่องมือวิจัย ตาราง ภาพ และอื่นๆ เพื่อประกอบการศึกษาและเขียนบทความต้นฉบับ หลักฐานการได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ ต้องส่งแนบมาพร้อมกับต้นฉบับที่ส่งวารสารด้วย แหล่งข้อมูลปฐมภูมิต้องระบุในรายการอ้างอิง หรือระบุใต้รูปภาพและตาราง ตามความเหมาะสม

3. การรับรองจริยธรรมการวิจัย ผู้เขียนต้องระบุชัดเจนในหมวดวิธีดำเนินการวิจัย หัวข้อการพิทักษ์สิทธิ์กลุ่มตัวอย่าง ว่างานวิจัยที่ศึกษาได้ผ่านการรับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน ขอให้ระบุชื่อคณะกรรมการที่รับรองให้ถูกต้องพร้อมทั้งหมายเลข COA ด้วย (บรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการปฏิเสธการส่งบทความต้นฉบับเพื่อรับการประเมินหรือตีพิมพ์เผยแพร่ ถ้าหากพบว่ากระบวนการศึกษามีประเด็นที่น่าสงสัย)

4. การส่งบทความต้นฉบับ สามารถกระทำโดยวิธี Online ในระบบ ThaiJO (https://tci-thaijo.org/index.php/ns) พร้อมทั้งสแกนเอกสารส่งดังต่อไปนี้ คือ 1) หนังสือรับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัย 2) หนังสืออนุญาตให้เก็บข้อมูล และ 3) หนังสืออนุญาตให้ใช้เครื่องมือวิจัยทุกชุด

 

อัตราค่าธรรมเนียมวารสารพยาบาลศาสตร์  ประกอบด้วย

- ค่าธรรมเนียมการเสนอต้นฉบับภาษาไทย อัตรา 1,500 บาท/เรื่อง โดยจะต้องชำระเงินหลังจากได้รับการยืนยันจากวารสารพยาบาลศาสตร์ว่าต้นฉบับได้ถูกส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว

- ค่าธรรมเนียมในการดำเนินการเผยแพร่บทความ อัตรา 1,500 บาท/เรื่อง โดยจะต้องชำระเงินหลังจากได้รับการตอบรับจากวารสารพยาบาลศาสตร์ให้ตีพิมพ์เผยแพร่ได้