การปลดปล่อยยาเจนตาไมซินจากซีเมนต์กระดูก: การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างเจนตาไมซินแบบน้ำและแบบผง

Main Article Content

Surasit Parnmanee

บทคัดย่อ

หลักการและวัตถุประสงค์ : การใช้เม็ดยา gentamicin (เจนตาไมซิน) รักษาการติดเชื้อของกระดูกและข้อได้ผลดี แต่ยาแบบสำเร็จรูปมีราคาแพงและหาซื้อได้ยากไม่สอดคล้องกับการใช้งานจริง ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์มักจำเป็นต้องทำขึ้นใช้เองจาก bone cement (ซีเมนต์กระดูก) ที่มียาเจนตาไมซินแบบผง ผสมอยู่ แต่ก็ยังมีต้นทุนการผลิตสูงระดับหนึ่ง ผู้วิจัยจึงศึกษาการใช้ยาเจนตาไมซินแบบน้ำที่ใช้ฉีดในโรงพยาบาล มีราคาถูกกว่ามาใช้ทดแทน การศึกษานี้จะทำการเปรียบเทียบการปลดปล่อยยาเจนตาไมซินจากซีเมนต์กระดูกระหว่างยาแบบน้ำและแบบผง


วิธีการศึกษา : เป็นการศึกษาทดลองเปรียบเทียบแบบสุ่ม โดยศึกษาในผู้ป่วยติดเชื้อแบคทีเรียในกระดูกและข้อจำนวน 60 รายที่มารักษาที่โรงพยาบาลหาดใหญ่ จับฉลากแบ่งผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ใช้ยาเจนตาไมซินแบบน้ำ กลุ่มที่ 2 ใช้ยาเจนตาไมซินแบบผง ผสมในซีเมนต์กระดูกวัดระดับยาที่ถูกปลดปล่อยออกมาในบริเวณที่ฝังยานำมาเปรียบเทียบกัน


ผลการศึกษา: การศึกษานี้ทำในผู้ป่วยติดเชื้อในกระดูกและข้อกลุ่มละ 30 ราย พบว่าการผสมยาเจนตาไมซินแบบน้ำมีระดับยาในบริเวณฝังยาสูงกว่าแบบผงอย่างมีนัยสำคัญ ระดับยาทั้ง 2 กลุ่มสูงกว่าระดับยาขั้นต่ำที่สามารถฆ่าเชื้อโรคได้หลายเท่าและคงอยู่จนถึง 28 วันเป็นอย่างน้อย  ให้ผลการรักษาทางคลินิกดีเท่าเทียมกันทั้ง 2 กลุ่มและปลอดภัยต่อการทำงานของไต 


สรุป: การผสมยาเจนตาไมซินแบบน้ำในซีเมนต์กระดูกสามารถปลดปล่อยยาออกฤทธิ์เฉพาะที่ได้สูงกว่าแบบผง มีความปลอดภัย ไม่เป็นพิษต่อไต  ให้ผลการรักษาทางคลินิกที่ดี และมีต้นทุนที่ถูกกว่า ทำให้สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในการรักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. Seldes RM, Winiarsky R, Jordan LC, Baldini T, Brause B, Zodda F, et al. Liquid gentamicin in bone cement : a laboratory study of potentially more cost-effective cement spacer. J Bone Joint Surg Am 2005: 268-72.
2. Nelson CL, Griffin FM, Harrison BH, Cooper RE. In vitro elution characteristics of commercially and noncommercially prepared antibiotic PMMA beads. Clinical orthopRelat Research 1992;284: 303-9.
3. Pang-Hsin Hsieh, Kuo-Chin Huang, Ching-Lung Tai . Liquid gentamicin in bone cement spacers: In Vivo antibiotic release and systemic safety in two stage revision of infected hip arthroplasty. Journal of trauma Mar;2009:804-08.
4. Eva Diez-Pena, Gloria Frutos, PalomaFrutos, Jose Manuel Barrales- Rienda. Gentamicin sulphate release from a modified commercial acrylic surgical radiopaque bone cement. Influence of Gentamicin concentration on the release process mechanism. Chem. Pharm. Bull;2002:1201-08.
5. Hermawan N Rasyid, Henny C van der Mei, Henderik W Frijilink, Soegijoko, Jim R van Horn, et al. Concepts for increasing gentamicin release from handmade bone cement bead. Acta Orthopaedica2009;80(5):508-13.
6. H. Wahlig, E. Dingeldein, R. Bergmann, K. Reuss. The release of gentamicin from polymethymethacrylate beads. J Bone Joint Surg Br (60-B) 1978:270-75
7. Evans RP, Nelson CL: Gentamicin-impregnated polymethymethacrylate beads compared with systemic antibiotic therapy in the treatment of chronic osteomyelitis. Clin Orthop Relat Res. 1993;295:37-42.
8. Adams K, Couch L,Cierny G, Calhoun J, Mader JT. In vitro and in vivo evaluation of antibiotic diffusion from antibiotic-impregnated polymethymethacrylate beads. Clin Orthop Relat Res.1992;278:244-52.
9. DucanCP,Masri BA. The role of antibiotic-loaded cement in treatment of an infection after a hip replacement. J Bone Joint Surg Am.1994;76:1742-51.
10. Baker,AS,Greenham,LW. Release of gentamicin from acrylic bone cement. J Bone Joint Surg Am.1988;70:1551-57.
11. Chapman M,Hadley K. The effect of polymethymethacrylate and antibiotic combinations of bacterial viability.J BoneJointSurg Am.1976:76-81.
12. Calhoun J, Mader J. Antibiotic beads in the managementof surgical infection. Am J Surg;1989:443-48.
13. BavstonR, Milner RD. The sustained releaseof anti-microbial drugs from bone cement. An appraisal of laboratory investigations & their significance. J Bone Joint Surg 64(B)No.4:460-64.
14. Blaha J D, Nelson C L, Frevert L F, Henry S L, Seligson D, Esterhai J L Jr,et al. The use of septopal (polymethymethacrylate beads with gentamicin) in the treatment of chronic osteomyelitis. Insrt Course Lect 1990;39:509-14.