รายงานเคสถุงน้ำหมอนรองเข่าด้านนอก ในผู้ป่วยอายุน้อยที่ไม่ประสบอุบัติเหตุนำมาก่อน
Main Article Content
บทคัดย่อ
โรคถุงน้ำหมอนรองเข่าพบอุบัติการณ์โรคต่ำประมาณ 1-3% ของประชากรทั่วไปโดยมักมีขนาด 0.3-9 มิลลิเมตร ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการปวดข้อ หรือมีพิสัยการเคลื่อนไหวของข้อลดลง มีก้อนบริเวณด้านหน้า โดยส่วนใหญ่มักเกี่ยวข้องกับการเกิดอุบัติเหตุนำมาก่อน แต่ปัจจุบันพบรายงานจำนวนน้อยที่ผู้ป่วยไม่มีบาดเจ็บก่อนการเกิดถุงน้ำและมักพบมีลักษณะถุงน้ำเดี่ยว
รายงานฉบับนี้นำเสนอผู้ป่วยอายุ 32 ปี มีอาการคลำได้ก้อนที่เข่าขวา 4 เดือน ลักษณะก้อนโตขึ้นอย่างช้าๆ ทางด้านหน้า มีอาการปวดมากขึ้นเวลางอเข่า บางครั้งมีอาการขัดล็อค ปฏิเสธประวัติอุบัติเหตุ ตรวจร่างกายพบก้อนด้านหน้าเข่าขวาขนาดประมาณ 3 เซนติเมตร พิสัยการเคลื่อนไหวสมบูรณ์ McMurray, Lachman’s และ anterior/posterior drawer tests ให้ผลลบ ภาพรังสีไม่พบลักษณะการเปลี่ยนแปลงของกระดูกและกระดูกอ่อน หรือความผิดปกติอื่นๆ ภาพเอกซเรย์แม่เหล็กไฟฟ้าพบถุงน้ำหมอนรองกระดูก ขนาด 4x5.8x4.3 เซนติเมตร ลักษณะซับซ้อน พบมีการเชื่อมต่อของถุงน้ำไปยังหมอนรองกระดูกด้านนอก และบริเวณด้านหน้าเข่าขวา ทำการรักษาด้วยวิธีผ่าตัดส่องกล้องตรวจภายในเข่า พบว่า ถุงน้ำหมอนรองเข่าด้านนอก และไม่มีการบาดเจ็บของหมอนรองกระดูกทั้งด้านในและด้านนอก ไม่พบการบาดเจ็บของเอ็นไขว้หน้า และเอ็นไขว้หลัง ทำการตัดถุงน้ำหมอนรองเข่าออก และฉีดยาคีนาคอต (Kenacort) 40 มิลลิกรัมผสมกับ 0.1% มาเคน (Marcaine) 10 มิลลิลิตรเข้าข้อเข่าขวา ผลชิ้นเนื้อพบเป็น fibrocartilaginous-fatty tissue และเยื่อหุ้มข้อ หลังผ่าตัดผู้ป่วยมีเข่าบวมประมาณ 2 สัปดาห์ ไม่พบการติดเชื้อ หลังผ่าตัดประมาณ 2 สัปดาห์ พิสัยการเคลื่อนไหวข้อเข่าสมบุรณ์ และผู้ป่วยสามารถกลับไปเล่นกีฬาในเวลาประมาณ 2 เดือน ไม่พบการเป็นซ้ำจากการติดตามอาการครบ 1 ปี
ทบทวนบทความที่เกี่ยวข้อง เชื่อว่ากลไกการเกิดโรคถุงน้ำหมอนรองเข่า เกิดจากการที่หมอนรองกระดูกเกิดการฉีกขาดขึ้นและมีลักษณะเป็นทางเข้าของน้ำไขข้อทางเดียว ไม่มีทางไหลออก จึงทำให้เกิดเป็นถุงน้ำขึ้น อย่างไรก็ตามมีรายงานการเกิดถุงน้ำหมอนรองเข่า แม้จะไม่พบการฉีกขาดของหมอนรองกระดูกก็ตาม เช่นเดียวกับผู้ป่วยรายนี้ โดยการรักษาในปัจจุบันเป็นวิธีผ่าตัดส่องกล้องเพื่อลดอันตรายต่อเนื้อเยื่อข้างเคียง ผลการรักษาในหลายรายงานพบว่า ได้ผลลัพธ์ดี โอกาสการเกิดโรคซ้ำต่ำ พบการรายงานเกิดโรคซ้ำหลังผ่าตัดประมาณ 1 ปี ในผู้หญิงอายุ 55 ปี โดยทำการรักษาอีกครั้งด้วยการใช้เข็มเจาะและฉีดยาสเตียรอยด์ผ่านเครื่องอัลตราซาวน์นำทาง ได้ผลลัพธ์ที่ดีแต่อย่างไรก็ตามวิธีนี้เป็นวิธีที่อาศัยความชำนาญของแพทย์สูง
Article Details
References
2. Kose O, Erol B, Ozyurek S, Ege T. Giant medial parameniscal cysts of the knee joint. BMJ Case Rep. 2013.
3. Barrie HJ. The pathogenesis and significance of meniscal cysts. J Bone Joint Surg Br. 1979; 61: 184-9.
4. Jäger A, Eberhardt C, Hailer NP. Large lateral meniscal ganglion cyst extending into the intercondylar fossa of the knee. Arthroscopy. 2004; 20 Suppl 2: 6-8.
5. Glasgow MM, Allen PW, Blakeway C. Arthroscopic treatment of cysts of the lateral
meniscus. J Bone Joint Surg Br. 1993; 75: 299-302.
6. Hullet C, Souquet D, Alexandre P, Locker B, Beguin J, Vielpeau C. Arthroscopic treatment of 105 lateral meniscal cysts with 5-year average follow-up. Arthroscopy. 2004; 20: 831-6.
7. Kim Y-M, D'Lima DD, Joo Y-B, Park I-Y. Huge intrameniscal cyst successfully treated by open debridement and combined arthroscopic and open repair: a case report. BMC Musculoskelet Disord. 2020; 21: 190.
8. Bhatti A, Iqbal MJ. Pericruciate intra-articular lateral meniscal cyst without meniscal tear. Knee Surg Sports Traumatol Arthrosc. 2006; 14: 869-71.
9. Ryu RK, Ting AJ. Arthroscopic treatment of meniscal cysts. Arthroscopy. 1993; 9: 591-5.
10. Lorio R, Mazza D, Drogo P, Massafra C, Viglietta E, Conteduca J, et al. Lateral meniscal cysts: long-term clinical and radiological results of a partial meniscectomy and percutaneous decompressive needling. Int Orthop. 2020; 44: 487-93.
11. Chang A. Imaging-guided treatment meniscal cysts. HSS J. 2009; 5: 58-60.
12. Crowell MS, Westrick RB, Fogarty BT. Cysts of the lateral meniscus. Int J Sports Phys Ther. 2013; 8: 340-8.
13. Antonios T, Huber CP. Lateral meniscal cyst presenting as Medial Compartment Knee Swelling: A case report and literature review. Int J Surg Case Rep. 2013; 4: 342-4.