คำแนะนำในการเตรียมบทความและการเขียนเอกสารอ้างอิง
กองบรรณาธิการได้กำหนดระเบียบการส่งต้นฉบับไว้ให้ผู้เขียนยึดเป็นแนวทางในการส่งต้นฉบับสำหรับการตีพิมพ์บทความลงวารสารแพทยสารทหารอากาศ เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ส่งบทความใช้เป็นรูปแบบในการเขียนบทความได้ถูกต้องตามรูปแบบของวารสารแพทยสารทหารอากาศ โดยมีระเบียบการดังนี้
การเตรียมต้นฉบับ มีรายละเอียดดังนี้
- การจัดรูปแบบหน้าของบทความ
บทความต้องจัดส่งในรูปแบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ โดยพิมพ์บทความในกระดาษ A4 ขนาด 210 มม. X 297 มม. (8.27 นิ้ว x 11.69 นิ้ว) บทความมีจำนวน 10-15 หน้า รวมเอกสารอ้างอิง (หรือไม่เกิน 15 หน้า) รูปแบบการพิมพ์เป็นแบบ 1 คอลัมน์ ส่วนที่ยกเว้นสำหรับการพิมพ์แบบสองคอลัมน์ คือ ชื่อบทความ ชื่อผู้เขียน สถาบันและอีเมล์ และรูปประกอบหรือตารางขนาดที่มีขนาดใหญ่ กำหนดระยะห่างของขอบกระดาษทุกด้านให้มีขนาด 2.54 ซม จัดระยะระหว่างบรรทัดเป็นหนึ่งเท่า (Single) จัดย่อหน้าแบบ ชิดขอบ และจัดส่งมาในรูปแบบเอกสารที่จัดทำในโปรแกรม Microsoft Words บันทึกมาในรูปแบบไฟล์นามสกุล “doc” หรือ “docx” (Microsoft Word เวอร์ชั่น 2003 หรือเวอร์ชั่นใหม่กว่า)
- การจัดพิมพ์บทความ
2.1 เนื้อหาของบทความใช้กระดาษ A4 พิมพ์หน้าเดียว กำหนดระยะห่างจากขอบกระดาษ 1 นิ้ว (2.54 ซม.) เท่ากันทุกด้าน
2.2 ตัวอักษรใช้รูปแบบ TH Sarabun PSK ขนาดและชนิดต่าง ๆ ดังนี้
รายการ
|
ขนาด
|
ชนิด
|
ชื่อเรื่อง (ภาษาไทย)
|
18 (กึ่งกลาง)
|
ตัวหนา
|
ชื่อเรื่อง (ภาษาอังกฤษ)
|
18 (กึ่งกลาง)
|
ตัวหนา
|
ชื่อผู้เขียนและสังกัด (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)
|
12 (กึ่งกลาง)
|
ตัวธรรมดา
|
ตำแหน่ง หน่วยงานที่สังกัด และอีเมล์ของผู้เขียน (Footnote)
|
12 (กึ่งกลาง)
|
ตัวธรรมดา
|
หัวข้อของบทคัดย่อ / Abstract
|
18 (ชิดซ้าย)
|
ตัวหนา
|
เนื้อหาบทคัดย่อ / Abstract
|
16 (ย่อหน้าบรรทัดแรก)
|
ตัวธรรมดา
|
คำสำคัญ / Keywords
|
16 (ชิดซ้าย)
|
ตัวธรรมดา
|
หัวข้อเรื่อง (ไม่ลำดับเลข)
|
18 (ชิดซ้าย)
|
ตัวหนา
|
หัวข้อย่อย
|
16 (ย่อหน้าบรรทัดแรก)
|
ตัวหนา
|
เนื้อเรื่อง
|
16 (ย่อหน้าบรรทัดแรก)
|
ตัวธรรมดา
|
เอกสารอ้างอิง
|
18 (ชิดซ้าย)
|
ตัวหนา
|
ชื่อตาราง (ระบุไว้บนตาราง)
|
16 (ชิดซ้าย)
|
ตัวหนา
|
ชื่อรูป ชื่อแผนภูมิ (ระบุชื่อไว้ใต้รูปแผนภูมิ)
|
16 (กึ่งกลาง)
|
ตัวหนา
|
ส่วนประกอบของบทความตามลำดับ ดังนี้
- ชื่อบทความ เรียงลำดับ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ (ไม่ต้องใส่วงเล็บ)
- ข้อมูลผู้เขียนบทความทุกคน ประกอบด้วย ชื่อผู้เขียนและสังกัด (กึ่งกลาง) ข้อมูลติดต่อผู้เขียน (เชิงอรรถ) ทั้งนี้หากมีข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้เขียนหรือบทความให้เขียนไว้ที่เชิงอรรถหน้าแรก
- ประเภทของบทความ ประกอบด้วย
นิพนธ์ต้นฉบับ ได้แก่ บทความผลงานวิจัยที่ทำขึ้นใหม่ ประกอบด้วย ความเป็นมาและความสำคัญ
(Original Articles) ของปัญหา วัตถุประสงค์ วิธีดำเนินการวิจัย ผลการวิจัย การอภิปรายผล สรุป
ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป กิตติกรรมประกาศ เอกสารอ้างอิง คำสำคัญ
(Key words) 3-5 คำ
รายงานผู้ป่วย เขียนได้ 2 แบบ คือ รายงานอย่างละเอียดหรือสั้น ๆ ประกอบด้วย บทนำ
(Case Reports) รายงานผู้ป่วย วิจารณ์อาการทางคลินิก ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ
เสนอข้อคิดเห็น สรุป และเอกสารอ้างอิง
วิจัยสิ่งประดิษฐ์ กล่าวถึงสิ่งประดิษฐ์ ซึ่งจะเน้นรายละเอียดของส่วนประกอบ และการทดลองใช้
(Innovations) สิ่งประดิษฐ์ ข้อดี ข้อเสีย ที่เกิดขึ้น โดยมีการทดลองตามขั้นตอน มีสถิติสนับสนุน
วิจารณ์เหมือนกับเขียนนิพนธ์ต้นฉบับ
บทความฟื้นฟูวิชาการ เป็นบทความที่เขียนจากการรวบรวมความรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยเฉพาะจาก
(Review Articles) วารสารต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ นำมาวิเคราะห์ วิจารณ์ เปรียบเทียบเพื่อให้
เกิดความกระจ่างในเรื่องนั้นยิ่งขึ้น ควรเป็นบทความที่ให้ความรู้ใหม่ รวบรวม
สิ่งตรวจพบใหม่หรือเรื่องที่น่าสนใจที่ผู้อ่านนำไปประยุกต์ได้ ประกอบด้วย บทนำ
ความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่นำมาเขียน วิจารณ์ สรุป และเอกสารอ้างอิง
อภิปรายคลินิกร่วมพยาธิ เป็นการรายงานผู้ป่วยที่น่าสนใจที่มีการวินิจฉัยแน่นอน แสดงผลการตรวจ
(Clinico-pathological ที่น่าสนใจ รังสีภาพที่ช่วยในการวินิจฉัย ผลการตรวจชิ้นเนื้อ ผลการตรวจ
Conferences) ทางห้องปฏิบัติการ วิจารณ์และสรุปการวินิจฉัยโรค
- ถ้ามีรูปภาพ
แผนภูมิ ตารางประกอบหรืออื่น ๆ ต้องมีหลายเลขกำกับในบทความอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลให้ถูกต้อง ชัดเจน และไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น ใช้รูปภาพสีหรือขาว-ดำ ที่มีความคมชัด และส่งภาพถ่ายต้นฉบับ (ถ้ามี) หรือไฟล์รูปภาพแยกต่างหาก แนบมาพร้อมกับบทความด้วย
- การอ้างอิงเอกสาร
การเขียนอ้างอิงแทรกในเนื้อหาให้ใช้ตัวเลขอารบิค ใส่ในวงเล็บแล้วยก (Superscript) ส่วนการเรียงลำดับเอกสารอ้างอิงให้ใช้ระบบ Vancouver แล้วนำมารวบรวมไว้ตามลำดับในส่วนเอกสารอ้างอิง ท้ายบทความ การแจ้งเอกสารอ้างอิง ควรมีลักษณะดังนี้
* วารสารภาษาอังกฤษ ให้เริ่มต้นด้วยนามสกุลของผู้เขียนคนแรก ตามด้วยอักษรตัวแรกของชื่อต้นและ
ชื่อกลาง ใส่ชื่อผู้เขียนทุกคนคั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาค ตามด้วยชื่อเรื่องของบทความ อ้างอิงชื่อวารสาร
การย่อชื่อวารสาร ให้ใช้ตามแบบ Index Medicus และปีที่อ้างอิงให้ใช้ปีคริสต์ศักราช
* ถ้ามีผู้แต่งไม่เกิน 6 คน ให้ใส่ชื่อผู้แต่งทุกคน แต้ถ้ามีตั้งแต่ 7 คนขึ้นไป ให้ใส่ 3 ชื่อแรกแล้วเติม et. al.
* กรณีเอกสารอ้างอิงเป็นวารสาร ให้จัดลำดับและเครื่องหมายวรรคตอนดังนี้ ผู้แต่ง, ชื่อบทความ,
ชื่อย่อวารสาร, ปี; ปีที่ (vol.): หน้า ตัวอย่างเช่น Nicot GS, Merle LJ, Charmes JP, et. al.
Transient glomerular proteinuria, enzymuria, and nephrotoxic reaction induced by
radiocontrast media. JAMA. 1984;252(17):2432-4.
* กรณีเอกสารอ้างอิงเป็นหนังสือหรือตำรา ให้จัดลำดับและเครื่องหมายวรรคตอนดังนี้ ชื่อบรรณาธิการ
ผู้แต่ง, ชื่อบท (ถ้ามี), ชื่อหนังสือ, เมืองที่พิมพ์ : สำนักพิมพ์, ปี : หน้า ตัวอย่างเช่น กิตติกร มีทรัพย์.
จิตวิทยาการเลี้ยงดูเด็ก. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : ธุรกิจการพิมพ์, 2544.
* กรณีเอกสารอ้างอิงเป็นบทความในหนังสือหรือตำรา และผู้เขียนบทความมิได้เป็นบรรณาธิการ
ให้จัดลำดับและเครื่องหมายวรรคตอนดังนี้ ผู้เขียน, ชื่อเรื่อง, ใน [ใส่ชื่อบรรณาธิการ แล้ววงเล็บว่า
บรรณาธิการ], ชื่อหนังสือ, เมืองที่พิมพ์ : สำนักพิมพ์, ปี : หน้า ตัวอย่างเช่น สมจิต หนุเจริญกุล และ
ประคอง อินทรสมบัติ. “การประเมินผลการพยาบาล” ใน เอกสารการสอนชุดวิชามโนมติและ
กระบวนการพยาบาล หน่วยที่ 8-15. หน้า 749-781. มยุรา กาญจนางกูร, บรรณาธิการ, กรุงเทพฯ :
โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2536.
* กรณีอ้างอิงเอกสารในลักษณะอื่น
- รายงานประจำปีหรือเอกสารเผยแพร่หน่วยงานหนึ่งซึ่งตีพิมพ์เป็นครั้งคราว ผู้แต่ง, ชื่อบทความ,
ชื่อการประชุม ครั้งที่จัด สถานที่จัด, วัน เดือน ปีที่จัดประชุม : หน้า ตัวอย่างเช่น อุษณีย์ ริงคะนานนท์.
Prevention of Diabetes การประชุมวิชาการทางการแพทย์ รพ.ภูมิพลอดุลยเดช พอ., ครั้งที่ 34,
โรงแรมโซฟิเทล เซ็นทารา แกรนด์ กรุงเทพฯ. 24 มี.ค.54:329.
- รายงานการอภิปรายหรือสัมมนาวิชาการซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร ตัวอย่างเช่น การอภิปรายหมู่เรื่อง
Tuberculosis’ 85 วารสารวัณโรคและโรคทรวงอก 2528;6:79-96.
- การอ้างอิงเอกสารจากอินเทอร์เน็ต
ชื่อผู้ให้บริการ, ชื่อผู้แต่ง, ชื่อเรื่อง, {Online}, ปี เดือน วันที่ค้นข้อมูล <URL> ตัวอย่าง เช่น
McKenzie BC. Medicine and the internet {Online}, 1995 Oct 13. <URL>:
http://www.oup.co.uk/scimed/medit>.
- ภาคผนวก
หากมีภาคผนวก ให้ใส่ไว้หลังจากบรรณานุกรม และใส่ชื่อภาคผนวกดังนี้ ภาคผนวก ก : ชื่อภาคผนวก ก.
- การนำส่งบทความต้นฉบับ
ผู้เขียนบทความต้องเข้าสมัครสมาชิกในระบบวารสารออนไลน์ โดยเข้าไปที่เว็บไซด์ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/rtafmg/user/profile เมื่อสมัครเรียบร้อยจึงส่งบทความต้นฉบับ
ที่พิมพ์ตามข้อกำหนดของรูปแบบวารสารเข้าในระบบตามวิธีการที่กำหนด ผู้เขียนสามารถเข้าดูขั้นตอนการส่งบทความและข้อมูลเพิ่มเติมได้ตามลิงก์นี้
ขั้นตอนการส่งบทความ
- เกณฑ์การพิจารณาบทความ
ต้นฉบับจะได้รับการอ่านประเมิน โดยผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกมหาวิทยาลัยในสาขาวิชานั้น ๆ จำนวน 2 ท่าน / 1 บทความ และส่งผลการประเมินคืนผู้เขียนเพื่อให้ปรับปรุง แก้ไข โดยมีหลักการดังนี้
8.1 กองบรรณาธิการและคณะกรรมการกลั่นกรองบทความ จะพิจารณาตรวจสอบบทความในเบื้องต้นภายใน 7 วันหลังจากได้รับต้นฉบับแล้ว
8.2 บทความได้รับการตอบรับจากกองบรรณาธิการแล้วคณะกรรมการกลั่นกรองบทความจะคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยในสาขาวิชานั้น ๆ จากนั้นจะส่งบทความให้ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณา โดยมีกำหนดเวลาภายใน 15 วัน
8.3 ถ้ามีข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความกองบรรณาธิการจะแจ้งให้ผู้เขียนแก้ไขภายใน 7 วัน
8.4 สำหรับบทความที่ไม่ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ กองบรรณาธิการจะแจ้งให้ผู้เขียนทราบ โดยไม่มีการส่งต้นฉบับคืนแก่เจ้าของบทความ
- ขั้นตอนแจ้งผลและแก้ไขบทความ
กองบรรณาธิการจะแจ้งผลการพิจารณา ส่วนของการแก้ไขให้เจ้าของบทความต้องแก้ไขบทความ ให้ถูกต้องตามข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิ แล้วนำส่งภายในระยะเวลาที่กำหนด (การแก้ไขอาจมีมากกว่า 1 ครั้ง)
- ความรับผิดชอบ
เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
กลับไปบนสุด