Information For Authors

คำแนะนำในการเตรียมบทความและการเขียนเอกสารอ้างอิง

 

          กองบรรณาธิการได้กำหนดระเบียบการส่งต้นฉบับไว้ให้ผู้เขียนยึดเป็นแนวทางในการส่งต้นฉบับสำหรับการตีพิมพ์บทความลงวารสารแพทยสารทหารอากาศ เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ส่งบทความใช้เป็นรูปแบบในการเขียนบทความได้ถูกต้องตามรูปแบบของวารสารแพทยสารทหารอากาศ โดยมีระเบียบการดังนี้

 

การเตรียมต้นฉบับ มีรายละเอียดดังนี้

  1. การจัดรูปแบบหน้าของบทความ

          บทความต้องจัดส่งในรูปแบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ โดยพิมพ์บทความในกระดาษ A4 ขนาด 210 มม. X 297 มม. (8.27 นิ้ว x 11.69 นิ้ว) บทความมีจำนวน 10-15 หน้า รวมเอกสารอ้างอิง (หรือไม่เกิน 15 หน้า) รูปแบบการพิมพ์เป็นแบบ 1 คอลัมน์ ส่วนที่ยกเว้นสำหรับการพิมพ์แบบสองคอลัมน์ คือ ชื่อบทความ           ชื่อผู้เขียน สถาบันและอีเมล์ และรูปประกอบหรือตารางขนาดที่มีขนาดใหญ่ กำหนดระยะห่างของขอบกระดาษทุกด้านให้มีขนาด 2.54 ซม จัดระยะระหว่างบรรทัดเป็นหนึ่งเท่า (Single) จัดย่อหน้าแบบ       ชิดขอบ และจัดส่งมาในรูปแบบเอกสารที่จัดทำในโปรแกรม Microsoft Words บันทึกมาในรูปแบบไฟล์นามสกุล “doc” หรือ “docx” (Microsoft Word เวอร์ชั่น 2003 หรือเวอร์ชั่นใหม่กว่า)

 

  1. การจัดพิมพ์บทความ

          2.1  เนื้อหาของบทความใช้กระดาษ A4 พิมพ์หน้าเดียว กำหนดระยะห่างจากขอบกระดาษ 1 นิ้ว (2.54 ซม.) เท่ากันทุกด้าน

          2.2  ตัวอักษรใช้รูปแบบ TH Sarabun PSK ขนาดและชนิดต่าง ๆ ดังนี้

 

รายการ

ขนาด

ชนิด

ชื่อเรื่อง (ภาษาไทย)

18 (กึ่งกลาง)

ตัวหนา

ชื่อเรื่อง (ภาษาอังกฤษ)

18 (กึ่งกลาง)

ตัวหนา

ชื่อผู้เขียนและสังกัด (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)

12 (กึ่งกลาง)

ตัวธรรมดา

ตำแหน่ง หน่วยงานที่สังกัด และอีเมล์ของผู้เขียน (Footnote)

12 (กึ่งกลาง)

ตัวธรรมดา

หัวข้อของบทคัดย่อ / Abstract

18 (ชิดซ้าย)

ตัวหนา

เนื้อหาบทคัดย่อ / Abstract

16 (ย่อหน้าบรรทัดแรก)

ตัวธรรมดา

คำสำคัญ / Keywords

16 (ชิดซ้าย)

ตัวธรรมดา

หัวข้อเรื่อง (ไม่ลำดับเลข)

18 (ชิดซ้าย)

ตัวหนา

หัวข้อย่อย

16 (ย่อหน้าบรรทัดแรก)

ตัวหนา

เนื้อเรื่อง

16 (ย่อหน้าบรรทัดแรก)

ตัวธรรมดา

เอกสารอ้างอิง

18 (ชิดซ้าย)

ตัวหนา

ชื่อตาราง (ระบุไว้บนตาราง)

16 (ชิดซ้าย)

ตัวหนา

ชื่อรูป ชื่อแผนภูมิ (ระบุชื่อไว้ใต้รูปแผนภูมิ)

16 (กึ่งกลาง)

ตัวหนา

 

 

 

ส่วนประกอบของบทความตามลำดับ ดังนี้

  1. ชื่อบทความ เรียงลำดับ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ (ไม่ต้องใส่วงเล็บ)
  2. ข้อมูลผู้เขียนบทความทุกคน ประกอบด้วย ชื่อผู้เขียนและสังกัด (กึ่งกลาง) ข้อมูลติดต่อผู้เขียน (เชิงอรรถ) ทั้งนี้หากมีข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้เขียนหรือบทความให้เขียนไว้ที่เชิงอรรถหน้าแรก

 

  1. ประเภทของบทความ ประกอบด้วย

นิพนธ์ต้นฉบับ             ได้แก่ บทความผลงานวิจัยที่ทำขึ้นใหม่ ประกอบด้วย ความเป็นมาและความสำคัญ

(Original Articles)      ของปัญหา วัตถุประสงค์ วิธีดำเนินการวิจัย ผลการวิจัย การอภิปรายผล สรุป

                             ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป กิตติกรรมประกาศ เอกสารอ้างอิง คำสำคัญ

                             (Key words) 3-5 คำ                                 

 

รายงานผู้ป่วย             เขียนได้ 2 แบบ คือ รายงานอย่างละเอียดหรือสั้น ๆ ประกอบด้วย บทนำ

(Case Reports)          รายงานผู้ป่วย วิจารณ์อาการทางคลินิก ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ

                             เสนอข้อคิดเห็น สรุป และเอกสารอ้างอิง

 

วิจัยสิ่งประดิษฐ์           กล่าวถึงสิ่งประดิษฐ์ ซึ่งจะเน้นรายละเอียดของส่วนประกอบ และการทดลองใช้

(Innovations)           สิ่งประดิษฐ์ ข้อดี ข้อเสีย ที่เกิดขึ้น โดยมีการทดลองตามขั้นตอน มีสถิติสนับสนุน

                             วิจารณ์เหมือนกับเขียนนิพนธ์ต้นฉบับ

 

บทความฟื้นฟูวิชาการ    เป็นบทความที่เขียนจากการรวบรวมความรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยเฉพาะจาก

(Review Articles)       วารสารต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ นำมาวิเคราะห์ วิจารณ์ เปรียบเทียบเพื่อให้

                             เกิดความกระจ่างในเรื่องนั้นยิ่งขึ้น ควรเป็นบทความที่ให้ความรู้ใหม่ รวบรวม

                             สิ่งตรวจพบใหม่หรือเรื่องที่น่าสนใจที่ผู้อ่านนำไปประยุกต์ได้ ประกอบด้วย บทนำ

                              ความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่นำมาเขียน วิจารณ์ สรุป และเอกสารอ้างอิง

 

อภิปรายคลินิกร่วมพยาธิ เป็นการรายงานผู้ป่วยที่น่าสนใจที่มีการวินิจฉัยแน่นอน แสดงผลการตรวจ

(Clinico-pathological ที่น่าสนใจ รังสีภาพที่ช่วยในการวินิจฉัย ผลการตรวจชิ้นเนื้อ ผลการตรวจ

Conferences)            ทางห้องปฏิบัติการ วิจารณ์และสรุปการวินิจฉัยโรค

 

  1. ถ้ามีรูปภาพ

          แผนภูมิ ตารางประกอบหรืออื่น ๆ ต้องมีหลายเลขกำกับในบทความอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลให้ถูกต้อง ชัดเจน และไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น ใช้รูปภาพสีหรือขาว-ดำ ที่มีความคมชัด และส่งภาพถ่ายต้นฉบับ (ถ้ามี) หรือไฟล์รูปภาพแยกต่างหาก แนบมาพร้อมกับบทความด้วย

 

  1. การอ้างอิงเอกสาร

          การเขียนอ้างอิงแทรกในเนื้อหาให้ใช้ตัวเลขอารบิค ใส่ในวงเล็บแล้วยก (Superscript) ส่วนการเรียงลำดับเอกสารอ้างอิงให้ใช้ระบบ Vancouver แล้วนำมารวบรวมไว้ตามลำดับในส่วนเอกสารอ้างอิง       ท้ายบทความ การแจ้งเอกสารอ้างอิง ควรมีลักษณะดังนี้

*   วารสารภาษาอังกฤษ ให้เริ่มต้นด้วยนามสกุลของผู้เขียนคนแรก ตามด้วยอักษรตัวแรกของชื่อต้นและ

     ชื่อกลาง ใส่ชื่อผู้เขียนทุกคนคั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาค ตามด้วยชื่อเรื่องของบทความ อ้างอิงชื่อวารสาร

     การย่อชื่อวารสาร ให้ใช้ตามแบบ Index Medicus และปีที่อ้างอิงให้ใช้ปีคริสต์ศักราช

*  ถ้ามีผู้แต่งไม่เกิน 6 คน ให้ใส่ชื่อผู้แต่งทุกคน แต้ถ้ามีตั้งแต่ 7 คนขึ้นไป ให้ใส่ 3 ชื่อแรกแล้วเติม et. al.

*  กรณีเอกสารอ้างอิงเป็นวารสาร ให้จัดลำดับและเครื่องหมายวรรคตอนดังนี้  ผู้แต่ง, ชื่อบทความ,

     ชื่อย่อวารสาร, ปี; ปีที่ (vol.): หน้า   ตัวอย่างเช่น  Nicot GS, Merle LJ, Charmes JP, et. al. 

     Transient glomerular proteinuria, enzymuria, and nephrotoxic reaction induced by

     radiocontrast media. JAMA. 1984;252(17):2432-4.

*  กรณีเอกสารอ้างอิงเป็นหนังสือหรือตำรา ให้จัดลำดับและเครื่องหมายวรรคตอนดังนี้ ชื่อบรรณาธิการ

     ผู้แต่ง, ชื่อบท (ถ้ามี), ชื่อหนังสือ, เมืองที่พิมพ์ : สำนักพิมพ์, ปี : หน้า  ตัวอย่างเช่น  กิตติกร  มีทรัพย์.

     จิตวิทยาการเลี้ยงดูเด็ก. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : ธุรกิจการพิมพ์, 2544.

*   กรณีเอกสารอ้างอิงเป็นบทความในหนังสือหรือตำรา และผู้เขียนบทความมิได้เป็นบรรณาธิการ

     ให้จัดลำดับและเครื่องหมายวรรคตอนดังนี้  ผู้เขียน, ชื่อเรื่อง, ใน [ใส่ชื่อบรรณาธิการ แล้ววงเล็บว่า

     บรรณาธิการ], ชื่อหนังสือ, เมืองที่พิมพ์ : สำนักพิมพ์, ปี : หน้า    ตัวอย่างเช่น สมจิต  หนุเจริญกุล และ

     ประคอง  อินทรสมบัติ.  “การประเมินผลการพยาบาล” ใน เอกสารการสอนชุดวิชามโนมติและ

     กระบวนการพยาบาล หน่วยที่ 8-15.  หน้า 749-781.  มยุรา  กาญจนางกูร, บรรณาธิการ, กรุงเทพฯ :

     โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2536.

*   กรณีอ้างอิงเอกสารในลักษณะอื่น

     - รายงานประจำปีหรือเอกสารเผยแพร่หน่วยงานหนึ่งซึ่งตีพิมพ์เป็นครั้งคราว  ผู้แต่ง, ชื่อบทความ,

       ชื่อการประชุม ครั้งที่จัด สถานที่จัด, วัน เดือน ปีที่จัดประชุม : หน้า  ตัวอย่างเช่น อุษณีย์  ริงคะนานนท์. 

       Prevention of Diabetes การประชุมวิชาการทางการแพทย์ รพ.ภูมิพลอดุลยเดช พอ., ครั้งที่ 34,

       โรงแรมโซฟิเทล เซ็นทารา แกรนด์ กรุงเทพฯ. 24 มี.ค.54:329.

     - รายงานการอภิปรายหรือสัมมนาวิชาการซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร ตัวอย่างเช่น การอภิปรายหมู่เรื่อง

       Tuberculosis’ 85 วารสารวัณโรคและโรคทรวงอก 2528;6:79-96.

     - การอ้างอิงเอกสารจากอินเทอร์เน็ต

      ชื่อผู้ให้บริการ, ชื่อผู้แต่ง, ชื่อเรื่อง, {Online}, ปี เดือน วันที่ค้นข้อมูล <URL> ตัวอย่าง เช่น

       McKenzie BC. Medicine and the internet {Online}, 1995 Oct 13. <URL>:

       http://www.oup.co.uk/scimed/medit>.

 

  1. ภาคผนวก

          หากมีภาคผนวก ให้ใส่ไว้หลังจากบรรณานุกรม และใส่ชื่อภาคผนวกดังนี้ ภาคผนวก ก : ชื่อภาคผนวก ก.

 

  1. การนำส่งบทความต้นฉบับ

          ผู้เขียนบทความต้องเข้าสมัครสมาชิกในระบบวารสารออนไลน์ โดยเข้าไปที่เว็บไซด์ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/rtafmg/user/profile  เมื่อสมัครเรียบร้อยจึงส่งบทความต้นฉบับ  ที่พิมพ์ตามข้อกำหนดของรูปแบบวารสารเข้าในระบบตามวิธีการที่กำหนด

          ผู้เขียนสามารถเข้าดูขั้นตอนการส่งบทความและข้อมูลเพิ่มเติมได้ตามลิงก์นี้

          https://drive.google.com/drive/u/0/folders/1dv1OZchVQGoRUSDsRCjeWbtWFX-607T3

  1. เกณฑ์การพิจารณาบทความ

          ต้นฉบับจะได้รับการอ่านประเมิน โดยผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกมหาวิทยาลัยในสาขาวิชานั้น ๆ จำนวน 2 ท่าน / 1 บทความ และส่งผลการประเมินคืนผู้เขียนเพื่อให้ปรับปรุง แก้ไข โดยมีหลักการดังนี้

          8.1  กองบรรณาธิการและคณะกรรมการกลั่นกรองบทความ จะพิจารณาตรวจสอบบทความในเบื้องต้นภายใน 7 วันหลังจากได้รับต้นฉบับแล้ว

          8.2  บทความได้รับการตอบรับจากกองบรรณาธิการแล้วคณะกรรมการกลั่นกรองบทความจะคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยในสาขาวิชานั้น ๆ จากนั้นจะส่งบทความให้ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณา โดยมีกำหนดเวลาภายใน 15 วัน

          8.3  ถ้ามีข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความกองบรรณาธิการจะแจ้งให้ผู้เขียนแก้ไขภายใน 7 วัน

          8.4  สำหรับบทความที่ไม่ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ กองบรรณาธิการจะแจ้งให้ผู้เขียนทราบ โดยไม่มีการส่งต้นฉบับคืนแก่เจ้าของบทความ

 

  1. ขั้นตอนแจ้งผลและแก้ไขบทความ

          กองบรรณาธิการจะแจ้งผลการพิจารณา ส่วนของการแก้ไขให้เจ้าของบทความต้องแก้ไขบทความ      ให้ถูกต้องตามข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิ แล้วนำส่งภายในระยะเวลาที่กำหนด (การแก้ไขอาจมีมากกว่า       1 ครั้ง)

 

  1. ความรับผิดชอบ

          เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์