ความรู้และทักษะการใช้ระบบกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติในเครื่องกระตุกหัวใจด้วยไฟฟ้า ก่อนและหลังอบรมการช่วยชีวิตพื้นฐานในพยาบาลห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กรมแพทย์ทหารอากาศ
Main Article Content
บทคัดย่อ
ความเป็นมา : เมื่อพบผู้ป่วยหมดสติ การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานอย่างถูกต้อง และการรีบช็อคไฟฟ้าหัวใจโดยเร็วที่สุด ช่วยเพิ่ม โอกาสการรอดชีวิตให้ผู้ป่วย พยาบาลสามารถใช้ระบบกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติในเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าเพื่อช่วยชีวิตผู้ป่วยได้ จึงมีความมุ่งมั่นในการพัฒนาความรู้และทักษะของพยาบาล โดยจัดอบรมการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานและสอนใช้ระบบกระตุกหัวใจ ไฟฟ้าอัตโนมัติในเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าให้กับพยาบาลห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งเป็นกลุ่มที่เจอสถานการณ์ ฉุกเฉินได้บ่อย
วัตถุประสงค์ : เพื่อประเมินความรู้และทักษะการใช้ระบบกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติในเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้า ของพยาบาล ห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช ก่อนและหลังการอบรม และหาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการช่วยชีวิต ขั้นพื้นฐาน
วิธีดำเนินการวิจัย :เป็นการศึกษาเพื่อประเมินความรู้และปัจจัยที่เกี่ยวข้องก่อนและหลังการอบรมการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน ตามแนวทางการช่วยชีวิตปี ค.ศ. 2015 ในพยาบาลห้องฉุกเฉิน 92 คน แบ่งเป็น 3 กลุ่ม โดยทำการประเมินความรู้ก่อนและหลัง ในวันเดียวกัน
ผลการวิจัย : คะแนนความรู้ประเภทปรนัยก่อนและหลังการอบรม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 7.15 + 1.24 คะแนน และ 9.2 + 0.788 ตามลำดับ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ p-value< 0.001 ผลคะแนนเฉลี่ยปรนัยและคะแนนปฏิบัติหลังการอบรมเทียบในแต่ละ กลุ่มประสบการณ์การทำงาน ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ P-value เท่ากับ 0.316 และ 0.214 ตามลำดับ ผลคะแนนเฉลี่ยปรนัยและ คะแนนปฏิบัติหลังการอบรมเทียบตามความถี่ในการเจอผู้ป่วย CPR ใน 1 เดือน ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ p-value เท่ากับ 0.895 และ 0.810 ตามลำดับ ผลคะแนนเฉลี่ยปรนัยและคะแนนปฏิบัติหลังการอบรมเทียบตามความถี่ในการเจอผู้ป่วยใช้ AED ใน 1 เดือน ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ ค่า p-value เท่ากับ 0.055 และ 0.107 ตามลำดับ กลุ่มงานกู้ชีพมีคะแนนปรนัยก่อน การอบรม 8.25 + 0.70 คะแนน กลุ่มงานพยาบาล 7.05 + 1.23 คะแนน ซึ่งงานกู้ชีพคะแนนมากกว่าอย่างมีนัยสำคัญ p-value เท่ากับ 0.008 แต่คะแนนปรนัยและคะแนนปฏิบัติหลังอบรม ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ p-value เท่ากับ 0.107 และ 0.297 ตามลำดับ
สรุป :ผลการประเมินความรู้หลังการอบรมการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน การอบรมการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานนี้ ช่วยพัฒนาความสามารถของพยาบาลห้องฉุกเฉินได้เป็นอย่างดี กลุ่มงานกู้ชีพซึ่งมีโอกาสได้ปฏิบัติการกู้ชีพและใช้เครื่องกระตุก หัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติบ่อยครั้ง มีความรู้พื้นฐานก่อนการอบรมที่ดีกว่ากลุ่มงานพยาบาล นอกจากนี้พบว่าการเรียนรู้และพัฒนาทักษะ ความสามารถในการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานนั้น ไม่สัมพันธ์กับประสบการณ์การทำงาน และความบ่อยในการปฏิบัติการกู้ชีพ ทุกคน สามารถปรับเปลี่ยนพัฒนาความสามารถหลังเรียนได้อย่างเท่าเทียมกัน
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพฺเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Association Guidelines for Cardiopulmonary Resuscitation and Emergency Cardiovascular
Care. Circulation. 2015;122:S685-S705.
2. The Public Access Defibrillation Trial Investigator. Public-access defibrillation and survival
After out-of-hospital cardiac arrest. N Engl J Med. 2004;351:637-64.
3. Valenzuela TD, Roe Dj, Nichol G, Clark LL, Spaite DW, Hardman RG. Outcomes of rapid Defibril-
lation by security officers after cardiac arrest in casinos. N Engl J Med. 2000;343:1206-9.
4. Afzalimoghaddam M, Talebideloi M, Talebian MT, Farahmand Sh. Evaluation of the Effective-
ness of Basic Life Support Training on the Knowledge and Skills. Patient Safety and
Quality Improvement Journal.2014;2(2):73-6.
5. Bloom B.S. Taxonomy of educational objectives. Hand book II The affective domain. New York:
David Mckay; 1956.
6. Theresa MM, Cordula K, Christoph H. Basic life support skills of high school students before and
after cardiopulmonary resuscitation training: a longitudinal investigation. Scandinavian
Journal of Trauma, Resuscitation and Emergency Medicine. 2012;20:1-7.
7. Shrestha R, Piryani RM, Sharma MW. Basic life support: knowledge and attitude of medical/
paramedical professionals. World Journal Emergency Medicine. 2012;3:141-5.
8. Ura S, Supattra U, Tippamas C. Factors Related to Nurses’ Knowledge and Skills in Cardiopul-
monary Resuscitation in Songklanagarind Hospital. Songklanagarind Journal of Nursing.
2012;1:1-10.