ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ เจตคติ ต่อพฤติกรรมการป้องกัน โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ของนักเรียนพยาบาลทหารอากาศ ปีการศึกษา 2561
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เรื่องโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เจตคติ และพฤติกรรมป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในนักเรียนพยาบาลทหารอากาศ ปีการศึกษา 2561 โดยใช้กรอบแนวคิดและทฤษฎีแบบจำลอง KAP Model ของชาร์ท เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสุ่ม โดยเป็นนักเรียนพยาบาลทหารอากาศ ชั้นปีที่ 1-4 จำนวน 140 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามเกี่ยวกับความรู้เรื่องโรคไม่ติดต่อ เแบบสอบถามเกี่ยวกับเจตคติต่อ โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และแบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ความถี่่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย วิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และวิเคราะห์ความแปรปรวนที่ระดับนัยสำคัญที่ .05
ผลการวิจัยพบว่า ความรู้เรื่องโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของนักเรียนพยาบาลทหารอากาศ พบว่าอยู่ในระดับดีมากทั้ง 4 ชั้นปี คิดเป็นร้อยละ 100 โดยมีความรู้มากที่สุดในด้านลักษณะอาการและอาการแสดงของโรค คิดเป็นร้อยละ 90.46 ด้านเจตคติต่อ โรคไม่ติดต่อเรื้อรังของนักเรียนพยาบาลทหารอากาศอยู่ในเกณฑ์ดีมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 51.84 คะแนน โดยมีเจตคติ ดีมากที่สุดในด้านการรับรู้ประโยชน์ในการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ด้านพฤติกรรมการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของนักเรียน พยาบาลทหารอากาศพบว่ามีพฤติกรรมป้องกันโรคในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 19.74 คะแนน ผลการวิเคราะห์ความ สัมพันธ์พบว่าความรู้เรื่องโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมีความสัมพันธ์กับเจตคติต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของนักเรียนพยาบาลทหารอากาศ โดยมีความรู้สัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r=0.418) และเมื่อนำมาวิเคราะห์ความแปรปรวน พบว่าความรู้เรื่องโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเจตคติต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในแต่ละชั้นปีมีความแตกต่างกัน (F=19.493, df=139, p<.05, F=5.036, df=139, p<.05) ส่วนพฤติกรรมการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ในแต่ละชั้นปีไม่มีความแตกต่างกัน (F=1.394, df=139, p>.05)
ผลการวิจัยครั้งนี้ มีข้อเสนอแนะว่า ควรมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพในนักเรียนพยาบาลทหารอากาศให้มากขึ้น เพื่อให้นักเรียนตระหนักถึงอันตรายและมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังต่อไป
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพฺเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
เอช ไอ วี/เอดส์ ของคนประจำเรือไทย* (The KAP Model and A Study of Behavior and Attitude
on Prevention HIV/AIDS Infection in Thai Seafarers). คณะโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 2556.
2. เบญจมาศ สุขศรีเพ็ง. แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ (Health Belief Model). ค้นเมื่อ กรกฎาคม 9, 2561,
จาก https://www.gotoknow.org/post/115420. 2556.
3. เบญจมาศ สุขศรีเพ็ง. แบบจำลองการวางแผนส่งเสริมสุขภาพ (PRECEDE - PROCEED Model). ค้นเมื่อ
กรกฎาคม 10, 2561, จาก https://www.gotoknow.org/posts/115416. 2559.
4. แพนนี่ ตรีวิเชียร และจิราพร เกศพิชญวัฒนา. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของนายทหารนอก-
ราชการ วารสารพยาบาลทหารบก, ปีที่ 11 (ฉบับพิเศษ), หน้า 94-100. 2559.
5. มนรดา แข็งแรง. “ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มารับบริการใน
โรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่ง ในจังหวัดอุบลราชธานี.” การประชุมวิชาการ และนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ
ราชธานีวิชาการ ครั้งที่ 2. 2559.
6. วิภาวรรณ ศิริกังวานกุล, รัตน์ศิริ ทาโต และระพิณ ผลสุข. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือด
หัวใจของกำลังพลกองทัพบก วารสารพยาบาลศาสตร์. 2560.
7. สุจิตตรา จันทร์ลอย. ทฤษฎีการเรียนรู้ตามแนวคิดของบลูม. ค้นหาเมื่อ กรกฎาคม 15, 2561. จาก http://
weblogsimple.blogspot.com/2011/08/blog-post 21.html. 2554.
8. สุพัตรา ศรีวณิชชากร. สถานการณ์โรคไม่ติดต่อ ปัจจัยเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อและการจัดระบบบริการเพื่อ
ตอบสนอง ต่อโรคไม่ติดต่อตามเป้าหมายและตัวชี้วัดระดับโลกของประเทศ ไทย. ค้นเมื่อกรกฎาคม 17, 2561.
จากhttp://k4ds.psu.ac.th/ncd/files/SituationReport_20160419.pdf. 2559.
9. สำนักงานโรคไม่ติดต่อ. แผนยุทธศาสตร์การป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อ ระดับชาติ 5 ปี (2560-2564).
ค้นหาเมื่อ กรกฎาคม 7, 2561. จาก http://www.thaincd.com/2016/mission/activity-
detail.php?id=13065&tid=31&gid=1-015-005. 2559.
10. อรรถพงศ์ เพ็ชร์สุวรรณ์. พฤติกรรมของประชาชนเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน. ค้นเมื่อ
มิถุนายน 29, 2561. จาก http://library1.nida.ac.t/tempaper6/sd/2552/19571.pdf. 2559.
11. อรรถเกียรติ กาญจนพิบูลวงศ์. รายงานสถานการณ์โรค NCDs. พิมพ์ครั้งที่ 1. สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพ
ระหว่างประเทศ อาคารคลังพัสดุ (ถ.สาธารณสุข 6) กระทรวงสาธารณสุข ถ.ติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี
11000, 2558.