การศึกษาความสัมพันธ์ของปริมาณแคลเซียมบนหลอดเลือดแดงเอออร์ตาส่วนท้อง โดยการตรวจเอ็กซ์เรย์ด้านข้างของกระดูกสันหลังส่วนเอวกับคะแนนประเมินปริมาณแคลเซียมบนหลอดเลือดแดงโคโรนารี่ โดยการตรวจด้วยเครื่องเอ็กซ์เรย์คอมพิวเตอร์ ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง
Main Article Content
บทคัดย่อ
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา : ภาวะแคลเซียมเกาะที่หลอดเลือด เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อการเสียชีวิตจากโรคหัวใจ และหลอดเลือดในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ซึ่งการตรวจประเมินปริมาณแคลเซียมบนหลอดเลือดแดงโคโรนารี่ด้วยเครื่องเอ็กซ์เรย์คอมพิวเตอร์เป็นวิธีที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในการคัดกรองภาวะดังกล่าว อย่างไรก็ตามการตรวจด้วยเครื่องเอ็กซ์เรย์คอมพิวเตอร์นั้นมีราคาค่อนข้างสูง ซึ่งอาจไม่เหมาะที่จะนำมาใช้ในประเทศไทย การศึกษานี้จึงต้องการที่จะทดสอบว่าการตรวจหาปริมาณแคลเซียมบนหลอดเลือดแดงเอออร์ตาส่วนท้องจากการตรวจเอ็กซ์เรย์ด้านข้างของกระดูกสันหลังส่วนเอวมีความสัมพันธ์และสามารถใช้แทนการตรวจปริมาณแคลเซียมบนหลอดเลือดแดงโคโรนารี่ที่ตรวจด้วยเครื่องเอ็กซ์เรย์คอมพิวเตอร์ในผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้หรือไม่
วิธีดำเนินการวิจัย : การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบตัดขวางเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปริมาณแคลเซียมบนหลอดเลือดแดงเอออร์ตา ส่วนท้องโดยการตรวจเอ็กซ์เรย์กระดูกสันหลังด้านข้างของกระดูกสันหลังส่วนเอวกับคะแนนประเมินปริมาณแคลเซียมบนหลอดเลือด แดงโคโรนารี่โดยการตรวจด้วยเครื่องเอ็กซ์เรย์คอมพิวเตอร์ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะก่อนการบำบัดทดแทนไต และทำการเก็บข้อมูลทางคลินิกและผลตรวจทางห้องปฏิบัติการของผู้ป่วยดังกล่าว แล้วนำไปวิเคราะห์ทางสถิติ
ผลการวิจัย : มีผู้ป่วยเข้าร่วมการศึกษาจำนวนทั้งสิ้น 70 ราย อายุเฉลี่ย 70.59+10.16 ปี เป็นเพศชายร้อยละ 62.9 พบว่ามีความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณแคลเซียมบนหลอดเลือดแดงเอออร์ตาส่วนท้องโดยการตรวจเอ็กซ์เรย์กระดูกสันหลังด้านข้างของกระดูกสันหลังส่วนเอวกับคะแนนประเมินปริมาณแคลเซียมบนหลอดเลือดแดงโคโรนารี่โดยการตรวจด้วยเครื่องเอ็กซ์เรย์คอมพิวเตอร์ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ทั้งการประเมินแบบคะแนนเต็ม 4 (r=0.399, P=0.001), 8 (r=0.364, P=0.002) และ 24 (r=0.385, P=0.001) เมื่อนำคะแนนประเมินปริมาณแคลเซียมบนหลอดเลือดแดงเอออร์ตาส่วนท้องที่ได้คะแนนอย่างน้อย 2 จากคะแนนเต็ม 4 (sensitivity = 93.5 %, specificity = 59 %, area under the curve (AUC) = 0.783), 3 จากคะแนนเต็ม 8 (sensitivity = 83.9 %, specificity = 64.1 %, AUC = 0.766) และ 4 จากคะแนนเต็ม 24 (sensitivity = 87.1 %, specificity = 71.8 %, AUC = 0.799) และยังพบความสัมพันธ์ที่ดี่ในแต่ละวิธีที่ใช้ในการประเมินปริมาณแคลเซียมบนหลอดเลือดแดงเอออร์ตาส่วนท้องอีกด้วย
สรุป : การประเมินปริมาณแคลเซียมบนหลอดเลือดแดงเอออร์ตาส่วนท้องโดยการตรวจเอ็กซ์เรย์กระดูกสันหลังด้านข้างของกระดูก สันหลังส่วนเอวมีความสัมพันธ์กับปริมาณแคลเซียมบนหลอดเลือดแดงโคโรนารี่โดยการตรวจเอ็กซ์เรย์คอมพิวเตอร์ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง และอาจใช้เป็นเครื่องมือในการคัดกรองภาวะแคลเซียมเกาะที่หลอดเลือดในผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพฺเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Ingsathit A, Thakkinstian A, Chaiprasert A, Sangthawan P, Gojaseni P, Kiattisunthorn K, et al. Thai-SEEK Group.
Prevalence and risk factors of chronic kidney disease in the Thai adult population: Thai SEEK study. Nephrol Dial
Transplant. 2010;25(5):1567-75.
Shulman NB, Ford CE, Hall WD, Blaufox MD, Simon D, Langford HG, et al. Prognostic valve of serum creatinine
and effect of treatment of hypertension on renal function. Results from the hypertention detection and follow-up
program. The Hypertention Detection and Follow-up Program Cooperative Group. Hypertention 1989;13:180-93.
Foley RN, Parfrey PS, Sarnak MJ. Clinical epidemiology of cardiovascular disease in chronic renal disease. Am J
Kidney Dis 1998; 32:S112-9.
Weiner DE, Tighiouart H, Amin MG, Stark PC, MacLeod B, Griffith JL, et al. Chronic kidney disease as a risk
factor for cardiovascular disease and all-cause mortality: a pooled analysis of community-base studies. J Am Soc Nephrol
;15:1307-15.
Keith DS, Nichols GA, Gullion CM, Brown JB, Smith DH. Longitudinal follow-up and outcomes among a population
with chronic kidney disease in a large managed care organization. Arch Intern Med 2004;164: 659-63.
Keough-Ryan TM, Kiberd BA, Dipchand CS, Cox JL, Rose CL, Thompson KJ, et al. Outcomes of acute coronary
syndrome in a large Canadian cohort: impact of chronic renal insufficiency, cardiac interventions, and anemia.
Am J Kidney Dis 2005;46:845-55.
Russo D, Palmiero G, De Blasio AP, Balletta MM, Andreucci VE. Coronary artery calcification in patients with CRF
not undergoing dialysis. Am J Kidney Dis 2004;44:1024-30.
Ganesh SK, Stack AG, Levin NW, Hulbert-Shearon T, Port FK. Association of elevated serum PO(4), Ca x PO(4)
product, and parathyroid hormone with cardiac mortality risk in chronic hemodialysis patients. J Am Soc
Nephrol. 2001;12(10):2131-8.
Menon V, Greene T, Wang X, Pereira AA, Marcovina SM, Beck GJ, et al. C-reactive protein and albumin as
predictors of all-cause and cardiovascular mortality in chronic kidney disease. Kidney Int. 2005;68(2):766-72.
Raggi P, Boulay A, Chasan-Taber S, Amin N, Dillon M, Burke SK, et al. Cardiac calcification in adult hemodialysis
patients. A link between end-stage renal disease and cardiovascular disease. J Am Coll Cardiol 2002;39:695-701.
Mehrotra R, Budoff M, Christenson P, Ipp E, Takasu J, Gupta A, et al. Determinants of coronary artery calcification in diabetics
with and without nephropathy. Kidney Int 2004;66:2022-31.
Raggi P,Cooil B,Shaw L. Progression of coronary calcification on serial electron beam tomography scanning is greater in patients
with future myocardial infarction. Am J Cardiol;46:166-72.
Detrano R, Guerci AD, Carr JJ, Bild DE, Burke G, Folsom AR, et al. Coronary calcium as a predictor of coronary
events in four racial or ethnic groups. N Engl J Med. 2008;358(13):1336-45.
Tanenbaum S R,Kondos G T,Veselik K E. Detection of calcific deposits in coronary artery by ultrafast computed
tomography and correlation with angiography.Am J Cardiol;63:870-72.
Wilson PW, Kauppila LI, O’Donnell CJ, Kiel DP, Hannan M, Polak JM, et al. Abdominal aortic calcific deposits are
an important predictor of vascular morbidity and mortality. Circulation. 2001;103(11):1529-34.
KDIGO clinical practice guideline for the diagnosis, evaluation, prevention, and treatment of Chronic Kidney
Disease-Mineral and Bone Disorder (CKD-MBD).
Bellasi A, Ferramosca E, Muntner P, Ratti C, Wildman RP, Block GA, et al. Correlation of simple imaging tests and
coronary artery calcium measured by computed tomography in hemodialysis patients. Kidney Int. 2006; 70(9):1623-8.
Budoff MJ, Gul KM. Expert review on coronary calcium. Vasc Health Risk Manag. 2008;4(2):315-24.