การติดเชื้อในกระแสเลือดในผู้ป่วยที่มีไข้ร่วมกับเม็ดเลือดขาวนิวโตรฟิลต่ำ ในโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กรมแพทย์ทหารอากาศ

Main Article Content

วัชโรบล ด่านจิตร์ตรง
คริส ฟูจิตนิรันดร์

บทคัดย่อ

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา : ภาวะไข้ร่วมกับมีเม็ดเลือดขาวนิวโตรฟิลต่ำพบได้บ่อยในผู้ป่วยมะเร็งทางโลหิตวิทยา เนื่องจากภาวะนี้เพิ่มโอกาสติดเชื้อรุนแรงและอาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้ การทราบถึงระบาดวิทยาของเชื้อก่อโรคเพื่อเป็นข้อมูลในการให้ยาต้านจุลชีพอาจจะช่วยให้ผลการรักษาดีขึ้นและลดอัตราการเสียชีวิตได้


วัตถุประสงค์การวิจัย : วัตถุประสงค์หลักคือเพื่อศึกษาเชิงระบาดวิทยาในด้านชนิดของเชื้อ ความถี่และอัตราส่วนความชุก (Prevalence ratio, PR) ของเชื้อก่อโรคที่เป็นสาเหตุของการติดเชื้อในกระแสเลือดในผู้ป่วยที่มีไข้ร่วมกับเม็ดเลือดขาวนิวโตรฟิลต่ำ ในโรงพยาบาล ภูมิพลอดุลยเดช กรมแพทย์ทหารอากาศ และมีวัตถุประสงค์รองเพื่อศึกษาความไวต่อยาต้านจุลชีพต่อเชื้อก่อโรคที่เป็นสาเหตุนั้น


วิธีดำเนินการวิจัย : เป็นการศึกษาย้อนหลังจากเวชระเบียนของผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีไข้ร่วมกับเม็ดเลือดขาวนิวโตรฟิลต่ำทั้งหมด ในโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กรมแพทย์ทหารอากาศ ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2554 ถึง 31 ธันวาคม 2562 เก็บข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะทางคลินิกของผู้ป่วย วันที่เก็บและผลเพาะเชื้อจากเลือด รวมถึงความไวต่อยาต้านจุลชีพของเชื้อ และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและเชิงวิเคราะห์


ผลการวิจัย : พบจำนวนครั้งที่ผู้ป่วยมีไข้ร่วมกับเม็ดเลือดขาวนิวโตรฟิลต่ำทั้งหมด 755 ครั้ง จากผู้ป่วย 514 ราย โดยมีผู้ป่วยที่ตรวจพบเชื้อจากการเพาะเชื้อในเลือด 256 ครั้ง (ร้อยละ 33.9) จากผู้ป่วย 137 ราย (ร้อยละ 26.7) อายุเฉลี่ย 50.5 ปี เป็นเพศหญิง ร้อยละ 70 ส่วนใหญ่เป็นโรคมะเร็งทางโลหิตวิทยา ร้อยละ 75.2 ระยะเวลารักษาในโรงพยาบาลเฉลี่ย 13.8+7.4 วัน (4-58 วัน) เชื้อที่เป็นสาเหตุของการติดเชื้อในกระแสเลือด ได้แก่ เชื้อแบคทีเรียแกรมลบ (ร้อยละ 78.4) ซึ่งได้แก่ Escherichia coli, Klebsiella pneumonia, Acinetobacter baumannii และ Pseudomonas aeruginosa ร้อยละ 25.4, 19.9, 10.1 และ 9.8 ตามลำดับ สำหรับเชื้อแบคทีเรียแกรมบวกและเชื้อราพบร้อยละ 14.5 และ 6.3  ตามลำดับ การติดเชื้อในกระแสเลือดจากเชื้อดื้อยามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2554 ถึง พ.ศ. 2562 ในผู้ป่วยที่มีผลเพาะเชื้อในเลือดที่เก็บภายใน 7 วันของการเข้ารักษาในโรงพยาบาล พบมีการติดเชื้อ Acinetobacter baumannii และ Enterobacteriaceae ที่ดื้มยามากกว่าในผู้ป่วยที่มีผลเพาะเชื้อที่เก็บภายใน 7 วัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีค่า PR เท่ากับ 7.16 (95 % confidence interval (CI), 1.70-30.08; p=0.001) และ 2.40 (95 %CI, 1.28-4.50; p=0.005) ตามลำดับ ผลเพาะเชื้อในเลือดที่เก็บภายใน 7 วันของการเข้ารักษาในโรงพยาบาล เชื้อก่อโรคส่วนใหญ่ยังไวต่อยาต้านจุลชีพชนิด 3rd-4th generation cephalosporin, piperacillin/tazobactam และ carbapenems ซึ่งต่างจากผลเพาะเชื้อในเลือดที่เก็บภายหลัง 7 วัน ที่เชื้อส่วนใหญ่จะดื้อต่อยาเหล่านี้


สรุป : แบคทีเรียแกรมลบยังคงเป็นสาเหตุของการติดเชื้อในกระแสเลือดได้บ่อยในผู้ป่วยที่มีไข้ร่วมกับเม็ดเลือดขาวนิวโตรฟิลต่ำ            การติดเชื้อในกระแสเลือดจากเชื้อดื้อยามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากอดีต และพบเชื้อดื้อยาเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในผลเพาะเชื้อ      ในเลือดที่เก็บภายหลัง 7 วันของการเข้ารักษาในโรงพยาบาล

Article Details

บท
รายงานผู้ป่วย

References

คริส ฟูจิตนิรันดร์, Febrile neutropenia. ใน: กำพล สุวรรณพิมลกุล, กมลวรรณ จุติวรกุล, เลลานี ไพฑูรย์พงษ์, โอภาส พุทธเจริญ,

ชุษณา สวนกระต่าย, บรรณาธิการ. infectious diseases emergencies. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ตรีเทพบุ๊คโปรเสส จำกัด,

:251-301.

พัชรสาร ลีนะสมิต, Febrile neutropenia. ใน: ธนาสนธิ์ ธรรมกุล, วรพจน์ ตันติศิริวัฒน์, กำพล สุวรรณพิมลกุล, ชุษณา สวน

กระต่าย บรรณาธิการ. Infectious diseases: short course of infectious diseases of the year 2017. กรุงเทพมหานคร: บริษัท

ตรีเทพบุ๊คโปรเสส จำกัด, 2560:214-39.

Bodey GP, Buckley M, SATHE Y, FREIREICHEJ. Quantitative relationships between circulating leukocytes and

infection in patients with acute leukemia. Annals of internal medicine. 1966;64(2):328-40.

Rosenberg PS, Alter BP, Bolyard AA, et al. The incidence of leukemia and mortality from sepsis in patients with

severe congenital neutropenia receiving long-term G-CSF therapy. Blood. 2006;107(12):4628-35.

Ramphal R. Changes in the etiology of bacteremia in febrile neutropenic patients and the suscepibilities of the

currently isolated pathogens. Clinical infectious diseases.2004;39 (Supplement_1):S25-31.

Kuderer NM, Dale DC, Crawford J, Cosler LE, Lyman GH. Mortality, morbidity, and cost associated with febrile

neutropenia in adult cancer patients. Cancer. 2006;106(10):2258-66.

จักรพงษ์ บรูมินเหนทร์, Febrile neutropenia. ใน: ภิรุณ มุตสิกพันธ์, พรพรรณ กูมานะชัย, รุจิภาต สิริจตุภัทร, ศิริลักษณ์ อนันต์

ณัฐศิริ, บรรณาธิการ. Update in infectious disease 2019. กรุงเทพมหานคร: บริษัท เบสท์ กราฟฟิค อินเตอร์พริ้นท์ จำกัด, 2562:137-180.

Freifeld AG, Bow EJ, Sepkowitz KA, et al. Clinical practice guideline for the use of antimicrobial agents in neutropenic

patients with cancer: 2010 update by the Infectious Diseases Society of America. Clinical infectious diseases.2011;

(4):e56-93.

Keng MK, Sekeres MA. Febrile neutropenia in hematologic malignancies. Current hematologic malignancy reports.

;8(4):370-8.

De Naurois J, Novitzky-Basso I, et al. ESMO Guidelines Working Group.Management of febrile neutropenia: ESMO

clinical practice guidelines. Annals of Oncology. 2010;21 (suppl_5) :v252-6.

Klastersky J. Febrile neutropenia. Supportive Care in Cancer. 1993;1(5):233-9.

Auesomwang C, Suwannawiboon B, Chayakulkeeree M. Changes in Etiologic Microorganisms in Thai Patients

with Chemotherapy-Induced Neutropenia and Fever. JOURNAL OF THE MEDICAL ASSOCIATION OF

THAILAND. 2018;101(2):173-80.

Klastersky J. Management of fever in neutropenic patients with different risks of complications. Clinical Infectious

Diseases. 2004;39 (Supplement_1):S32-7.

ไพลิน มหาพรรณ, ชุษณา สวนกระต่าย An update on infections in neutropenia. ใน: กำพล สุวรรณพิมลกุล, กมลวรรณ จุติวร กุล, เลลานี ไพฑูรย์พงษ์, โอภาส พุทธเจริญ, ชุษณา สวนกระต่าย, บรรณาธิการ. Infections in immunocompromised hosts. บริษัท ตรีเทพบุ๊คโปรเสส จำกัด, 2558:121-79.

Mandal PK, Maji SK, Dolai TK, et al. Microorganisms associated with febrile neutropenia in patients with

haematological malignancies in a tertiary care hospital in Eastern India. Indian Journal of Hematology and Blood

Transfusion.2015;31(1):46-50.

Viscoli C. Management of infection in cancer patients: studies of the EORTC International Antimicrobial Therapy

Group (IATG). European Journal of Cancer.2002;38:82-7.

Hiransuthikul N, Tantawichien T, Suwangoo P. Nuchprayoon T. Febrile neutropenia in Chulalongkorn Hospital

during 1994-1995. Chula Med J 1996:40:781-99.

สมบัติ ลีลาสุภาศรี, Febrile neutropenia. ใน: บุญมี สถาปัตยวงศ์, บรรณาธิการ, An update on infection diseases V.

:230-45.

นงลักษณ์ คณิตทรัพย์, จิรายุ เอื้อวรากุล, ผลการรักษาภาวะไข้จากภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำในผู้ป่วยลิวคีเมียและลิมโฟมาในโรงพยาบาลศิริราช

สารศิริราช 2542:51:857-65.

Krataithong K, Mongkonsritragoon V, Thitivicheanlert S. Febrile neutropenia in acute leukemia in hramongkuiklao

Hospital. Intern Med J Thai 2004;20:282-9.

Wananukul S, Nuchprayoon I. Siripanich H. Mucocutaneous findings in febrile neutropenic children with acute

leukemias. J Med Assoc Thai 2005:88:817-23.

Mecome J, Oberdorfer P. Causative bacteria and antimicrobial susceptibility pattern in oncologic patients with

febrile neutropenia at Chiang Mai University Hospital between 2002-2004. Thai J Pediatr 2006;45:169-78.

Phungtaharn T, Rungviriyavanich O, Klubchareon S, Susaengrat W. Febrile neutropenia at neutropenia at Khon Kaen

Hospital Khon Kaen Hosp Med J 2006:30;111-21.

Roongpoovapatr P, Nilgate S, Chindamporn A, Suankratay C. Febrile neutropenia at King Chulalongkorn Memorial Hospital. J Med Assoc Thai 2009 (manuscript in preparation).

Wanitpongpun C, Amampai W, Teawtrakul N, Chansung K, Sirijeerachai C. Clinical Characteristics, Causative

Organisms, Role of serum galactomannan and Treatment Outcomes of Acute Leukemia patients with Febrile

Neutropenia. Srinagarind Medical Journal. 2017;32(6):511-8.

ชุษณา สวนกระต่าย, ภาวะไข้และเม็ดเลือดขาวต่ำ, ใน:พรรณทิพย์ ยากุล, ชิษณุ พันธุ์เจริญ, ชุษณา สวนกระต่าย, บรรณาธิการตำราโรค

ติดเชื้อ, กรุงเทพฯ:บริษัทโฮลิสติก พับลิชชิ่ง จำกัด, 2549:1008-73.

ชุษณา สวนกระต่าย, Infections in neutropenia. ใน:อมร ลีลารัศมี, วินัย รัตนสุวรรณ, ธีระพงษ์ ตัณฑวิเชียร, บรรณาธิการ An update on infectious diseases. กรุงเทพมหานคร: บริษัท เมดิคัล มีเดีย จำกัด, 2550:324-424.

ชุษณา สวนกระต่าย, ความรู้ใหม่ของยาต้านเชื้อราแบบ systemic. ใน: พรรณพิศ สุวรรณกูล, ศศิธร ลิขิตนุกูล, ธีระพงษ์ ตัณฑวิเชียร,

บรรณาธิการ. An update on infectious diseases. กรุงเทพมหานคร: สวิชาญการพิมพ์, 2548:307-408.

Taplitz RA, Kennedy EB, Bow ET, et al. Antimicrobial prophylaxis for adult patient with cancer related

immunosuppression: ASCO and IDSA clinical practice guideline update. J Clin Oncal 2018: JCO1800274.

Magiorakos AP, Srinivasan A, Carey RB, et al. Multidrug-resistant, extensively drug-resistant and pandrug-

resistant bacteria: an international expert proposal for interim standard definitions for acquired resistance. Clin

Microbiol Infect. 2012;18:268-81.

Centers for Disease Control and Prevention. Bloodstream infection event (central line-associated bloodstream

infection and non-central line-associated bloodstream infection). Device-associated Module BSI. 2017:1-38.

Averbuch D, Orasch C, Cordonnier C, et al. European guidelines for empirical antibacterial therapy for febrile

neutropenic patients in the era of growing resistance: summary of the 2011 4th European Conference on Infections

in Leukemia. haematologica. 2013;98(12):1826-35.

Goodman KE, Simner PJ, Klein EY, et al. Predicting probability of perirectal colonization with carbapenem-

resistant Enterobacteriaceae (CRE) and other carbapenem-resistant organisms (CROs) at hospital unit admission.

Infection Control & Hospital Epidemiology. 2019;40(5):541-50.

Gustineti G, Mikulska M. Bloodstream infections in neutropenic cancer patients: a practical update.

Virulence.2016;7(3):280-97.

World Health Organization. The ICD-10 classification of mental and behavioural disorders: diagnostic criteria for

research. World Health Organization; 1993.

Martin J. Prevalence Ratio[internet]. CTSpedia; (cited 2020 Apr 10). Available from:

https://www.ctspedia.org/do/view/CTSpedia/PrevalenceRatio#Reference

Yousefi M, Yadegarynia D, Lotfali E, Arab-Mazar Z, Ghajari A, Fatemi A. Candidemia in Febrile Neutropenic

Patients; a Brief Report. Emergency.2018;6(1).

Ramphal R. Changes in the etiology of bacteremia in febrile neutropenic patients and the susceptibilities of the

currently isolated pathogens. Clinical infectious disease. 2004;39(Supplement_1) S25-31.

Cattaneo C, Quaresmini G, Casari S, et al. Recent changes in bacterial epidemiology and the emergence of

fluoroquinolone-resistant Escherichia coli among patients with haematological malignancies: results of a

prospective study on 823 patients at a single institution. Journal of antimicrobial chemotherapy. 2008;61(3):721-8.

Gudiol C, Bodro M, Simonetti A, et al. Changing aetiology, clinical features, antimicrobial resistance, and outcomes of

bloodstream infection in neutropenic cancer patients. Clinical Microbiology and Infection. 2013;19(5):474-9.

Chen CY, Tang JL, Hsueh PR, et al. Trends and antimicrobial resistance of pathogens causing bloodstream

infections among febrile neutropenic adults with hematological malignancy. Journal of the Formosan Medical

Association.2004;103(7):526-32.