การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเสียชีวิตในผู้ป่วยกระดูกคอสะโพกหัก หลังการผ่าตัด 1 ปี ในโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช

Main Article Content

ธนกร จิรภาณุโรจ
สมัชญ์ ตั้งชูสกุล
เอกพุฒิ อิทธิรวิวงศ์
เอกพุฒิ อิทธิรวิวง

บทคัดย่อ

ภาวะกระดูกคอสะโพกหักในผู้สูงอายุ เป็นภาวะที่พบได้มากขึ้นในสังคมผู้สูงอายุในประเทศไทย ซึ่งภาวะนี้เป็นภาวะที่ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนและนำไปสู่การเสียชีวิตในผู้สูงอายุได้ การรักษาในปัจจุบัน การผ่าตัดเป็นทางเลือกที่ดีในการลดภาวะแทรกซ้อน และลดการเสียชีวิตของผู้ป่วยลงได้ แต่ในการศึกษาที่ผ่านมา ยังพบว่าการรักษาผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักด้วยการผ่าตัดจะลดการเสียชีวิตลงจากการไม่ผ่าตัดได้จริง แต่ยังพบว่าผู้ป่วยหลังการผ่าตัดที่รักษาไปแล้ว ยังมีการเสียชีวิตได้อยู่สูง จึงคิดทำวิจัยที่ศึกษาหาปัจจัยที่อาจส่งผลต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยหลังการผ่าตัดรักษาภาวะคอกระดูกสะโพกหัก
วิธีการ : ศึกษาในผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นคอกระดูกสะโพกหักที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป ที่ได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดและเก็บข้อมูลปัจจัยต่างๆของผู้ป่วยก่อนที่จะได้รับการผ่าตัด แล้วนำข้อมูลจากปัจจัยที่ได้มาเทียบกันระหว่างกลุ่มที่เสียชีวิตและไม่เสียชีวิตเมื่อรักษาผู้ป่วยไปแล้ว 1 ปี
ผลลัพธ์ : ผู้ป่วยที่มีภาวะคอกระดูกสะโพกหักของโรงพยาบาลภูมิพลมีจำนวน 125 คน แบ่งเป็นเพศชาย 38 คน (30.4%) และ เพศหญิง 87 คน (69.6%) มีชีวิตอยู่หลังการผ่าตัดที่ 1 ปี 95 คน (76%) เสียชีวิตหลังผ่าตัดที่ 1 ปี 30 คน (24%) มีปริมาณฮีโมโกลบริน ≥ 10 g/dl จำนวน 114 คน (91.2%) มีปริมาณฮีโมโกลบริน < 10 g/dl จำนวน 11 คน (8.8%) ผู้ป่วยที่มีค่าโปรตีน อัลบูมินในเลือด ≥ 3.5 g/dl จำนวน 101 คน (80.8%)มีค่าโปรตีนอัลบูมินในเลือด < 3.5 g/dl จำนวน 24 คน (19.2%) ผู้ป่วยที่มีจำนวนเม็ดเลือดขาวในปัสสาวะ < 5-10 cell/HPF จำนวน 72 คน (57.6%) ผู้ป่วยที่มีจำนวนเม็ดเลือดขาวในปัสสาวะ ≥ 5-10 cell/HPF จำนวน 53 คน (42.4%) ผู้ป่วยที่มีวิตามินดีในเลือด ≥ 25 ng/dl จำนวน 44 คน (35.2%) ผู้ป่วยที่มีวิตามินดีในเลือด < 25 ng/dl จำนวน 81 คน (64.8 %) ผู้ป่วยมีอายุระหว่าง 60 – 80 ปี จำนวน 68 คน (54.4%) ผู้ป่วยมีอายุมากกว่า 80 ปี จำนวน 57 คน (45.6%) ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดภายใน 7 วันหลังจากกระดูกคอสะโพกหัก จำนวน 85 คน (68%) ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดหลังจากกระดูกคอสะโพกหักมากกว่า 7 วัน จำนวน 40 คน (32%) ผู้ป่วยที่สามารถกายภาพได้หลังผ่าตัดภายใน 3 วัน จำนวน 68 คน (54.4%) ผู้ป่วยที่สามารถกายภาพได้หลังผ่าตัดมากกว่า 3 วัน จำนวน 57 คน (45.6%) ผู้ป่วยที่ใช้ระยะเวลารักษาตัวในโรงพยาบาลภายใน 14 วัน จำนวน 50 คน (40%) ผู้ป่วยที่ใช้ระยะเวลารักษาตัวในโรงพยาบาลเกิน 14 วัน จำนวน 75 คน (60%) ผู้ป่วยมีระดับความเสี่ยงตามแนวทางของ American Society of Anesthesiologists classification ≤ 2 จำนวน 66 คน (52.8%) มีระดับความเสี่ยงตามแนวทางของ American Society of Anesthesiologists classification > 2 จำนวน 59 คน (47.2%) ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว ≤ 2 โรค จำนวน 59 คน (47.2%) ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว > 2 โรค จำนวน 66 คน (52.8%) ผู้ป่วยที่มีปริมาณเม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซต์ในเลือด > 1500 cell/µL จำนวน 53 คน (42.4%) ผู้ป่วยที่มีปริมาณเม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซต์ในเลือด ≤ 1500 cell/µL จำนวน 72 คน (57.6%)
สรุป : ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยคอสะโพกหักหลังได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดนั้น มาจากปัจจัย ปริมาณโปรตีนอัลบูมินในเลือด ค่าวิตามินดีในเลือด ระยะเวลาหลังการผ่าตัดจนได้รับการกายภาพ ระยะเวลารักษาตัวในโรงพยาบาล ระดับความเสี่ยงตามแนวทางของ American Society of Anesthesiologists classification จำนวนโรคประจำตัว และ เพศ

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

L.J. Melton 3rd Epidemiology of hip fractures: implications of the exponential increase with age Bone, 18 (3 Suppl)(1996),pp.121S-125S

Gullberg B, Johnell O, Kanis JA. World-wide projections for hip fracture. Osteoporos Int 1997;7:407-13

Amphansap T, Nitiwarangkul L. One-year mortality rate after osteoporotic hip fractures and associated risk factors in Police General Hospital. Osteoporosis and Sarcopenia 2015 : 75-79

Chaysri R, Leerapun T, Klunklin K, Chiewchantanakit S, Luevitoonvechkij S, Rojanasthien S. Factors Related to Mortality after Osteoporotic Hip Fracture Treatment at Chiang Mai University Hospital, Thailand, during 2006 and 2007. J Med Assoc Thai 2015; 98 (1): 59-64

VaseenonTanawat, LuevitoonvechkijSirichai, WongtriratanachaiPrasit, RojanasthienSattaya . Long-Term Mortality After Osteoporotic Hip Fracture in Chiang Mai, Thailand. Journal of Clinical Densitometry 2010;14(1): 63-67

S. Chariyalertsak, P. Suriyawongpisal, A. Thakkinstain. Mortality after hip fractures in Thailand. Int Orthop, 25 (5) (2001), pp. 294–297

Öztürk A, Özkan Y, Akgöz S, Yalçýn N, Özdemir R M, AykutS.The risk factors for mortality in elderlypatients with hip fractures: postoperativeone-year results. Singapore Med J2010; 51(2) : 137-143

Gyeong-Hak Lee,Jung-Won Lim, Yong-Gum Park, Yong-Chan Ha. Vitamin D Deficiency Is Highly Concomitant but Not Strong Risk Factor for Mortality in Patients Aged 50 Year and Older with Hip Fracture. J Bone Metab. 2015 Nov; 22(4): 205–209.