การศึกษาประสิทธิภาพการติดฉลากเม็ดเลือดแดงกับเทคนิเชียม-99เอ็มในคนปกติสำหรับตรวจการทำงานของหัวใจห้องล่างซ้ายที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
คำสำคัญ:
การติดฉลากเม็ดเลือดแดงกับเทคนิเซียม-99เอ็ม, ประสิทธิภาพการติดฉลากบทคัดย่อ
บทนำ: การติดฉลากเม็ดเลือดแดงกับเทคนิเชียม-99เอ็ม จะมีปัจจัยหลายอย่างที่รบกวนการติดฉลากทั้งที่ทราบสาเหตุ และไม่ทราบสาเหตุ ทำให้บางครั้งได้ภาพที่มีคุณภาพไม่ดี ซึ่งอาจพบได้เป็นครั้งคราวในงานเวชศาสตร์นิวเคลียร์ ทำให้ต้องมีการเพิ่มระยะเวลาในการถ่ายภาพให้นานขึ้นหรือนัดคนไข้มาทำซ้ำ ในกรณีที่ร้อยละของการติดฉลากเม็ดเลือดแดงกับเทคนิเชียม-99เอ็ม มีค่าต่ำมาก วัตถุประสงค์: การศึกษานี้ต้องการเปรียบเทียบประสิทธิภาพการติดฉลากกับการประเมิลผลการติดฉลากจากภาพที่ได้โดยรังสีแพทย์ และต้องการหาอุบัติการณ์การติดฉลากที่ไม่ดีในคนปกติ วิธีการศึกษา: ศึกษาในผู้ป่วยที่ส่งมาตรวจการทำงานของหัวใจห้องล่างซ้ายก่อนให้ยาเคมีบำบัดและอาสาสมัครที่ไม่ได้รับประทานยาที่มีผลต่อการติดฉลากของเม็ดเลือดแดงกับเทคนิเชียมเปอร์เทคนิเตท หาร้อยละของการติดฉลากเม็ดเลือดแดงเทียบกับการประเมินคุณภาพของภาพถ่ายปอดด้านหน้า (Anterior) แบบอยู่กับที่ (Static) โดยใช้เมตริกซ์ขนาด 256x256 ตั้งค่าการถ่ายภาพนาน 2 นาที ด้วยเครื่องถ่ายภาพรังสีแกมมาของ Siemens รุ่น ECAM ใช้คอลลิเมเตอร์แบบ Low Energy High Resolution (LEHR) และให้รังสีแพทย์ประเมินการติดฉลากจากภาพที่ได้ว่าต่ำ ปานกลาง หรือ ดี ผลการศึกษา: ในผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด 70 ราย มี 3 ราย ที่ได้รับสารเภสัชรังสีซึ่งมีร้อยละของการติดฉลากต่ำกว่า 10 และรังสีแพทย์ประเมินประสิทธิภาพการติดฉลากจากภาพที่ได้ในระดับต่ำ มี 3 ราย ที่ได้รับสารเภสัชรังสีซึ่งมีร้อยละของการติดฉลากอยู่ระหว่าง 10-30 และรังสีแพทย์ประเมินประสิทธิภาพการติดฉลากจากภาพที่ได้ในระดับปานกลาง ที่เหลืออีก 64 ราย ได้รับสารเภสัชรังสีซึ่งมีร้อยละของการติดฉลากสูงกว่า 50 และรังสีแพทย์ประเมินประสิทธิภาพการติดฉลากจากภาพที่ได้ในระดับดี สรุปผลการศึกษา: ในการประเมินประสิทธิภาพของการติดฉลากเม็ดเลือดแดงด้วยเทคนิเชียม-99เอ็ม ถ้าร้อยละของการติดฉลากต่ำกว่า 10 จะได้ภาพที่มีคุณภาพต่ำมาก ควรนัดมาตรวจใหม่ ถ้าร้อยละของการติดฉลากอยู่ระหว่าง 10-30 ควรเพิ่มระยะเวลาของการถ่ายภาพให้มากกว่าปกติ 2-3 เท่า และให้รังสีแพทย์ตรวจสอบคุณภาพของภาพที่ได้ก่อนให้ผู้ป่วยกลับบ้าน
Downloads
References
Sampson CB. Complications and difficulties in radiolabeling blood cells: A review. Nucl Med Commun 1996;17:648-658.
Callahan RJ. Radiolabeled Red Blood Cells: Method and Mechanisms Volume 12, Lesson 1 [cited 2014 Mar 21]. Available from; http://pharmacyce.unm.edu/nuclear_program/freelessonfiles/Vol12Lesson1.pdf
Strauss HW, Griffeth LK, Shahrokh FD,Gropler RJ. Cardiovascular system. In: Bernier DR, Christian PE, Laugan JK, editors. Nuclear medicine technology and technics, 3rded. St. Louis; Mosby Year Book;1994.p.279-281.
Thrall JH, Siezzman HA.Nuclear Medicine: The Requisites,St. Louis; Mosby Year Book;1995. p.73-74.
Idalet I. Cantez S. Poor-quality red blood cell labelling with technetium-99m: case report and review of the literature. Eur J Nucl Med 1994;21:173-175.
Patrick ST, Glowniak JV, Turner FE, Robbins MS, Wolfangel RG. Comparison of In Vitro RBC Labeling with theUltraTagRBC Kit Versus In Vivo Labeling, J Nucl Med 1991;32:242-244.
Karesh S. Tc-99m Radiopharmaceuticals.[cited 2017 Mar 21]. Available from http://www.meddean.luc.edu/lumen/meded/radio/nuc_med/radiopharm/sect-f2b.htm
Rehani MM, Sharma SK. Site of Tc-99m binding to the red blood cell: Concise communication, J Nucl Med 1980;21:676-678.
Srivastava SC, Chervu LR. Radionuclide-labeled red blood cell: Current status and future prospects, Sem Nucl Med 1984;14:68-82.
Grady E. Gastrointestinal bleeding scintigraphy in the early 21st century. J Nucl Med 2016;57:252-259
Dam HQ, Brandon DC, Grantham VV, Hilson AJ, Howarth DM, Maurer AH, Stabin MG,Tulchinsky M, Ziessman HA, Zuckier LS. The SNMMI procedure standard/EANM practice guideline for gastrointestinal bleeding scintigraphy 2.0. J Nucl Med Technol 2014;42:308-317Landauer Inc. Dosimeters: InLight® Systems Dosimeters. [Internet]. 2005. [cited 2017 May 20]. Available from: https://www.nagase-landauer.co.jp/english/inlight/pdf/Dosimeters/inlightdosimeters.pdf
Hesse B, Lindhardt TB, Acampa W, Anagnostopoulos C, Ballinger J, Bax JJ, Edenbrandt W, Flotats A, Germano G, Stopar TG, et al. EANM/ESC guidelines for radionuclide imaging of cardiac function. Eur J Nucl Med Mol Imaging. 2008;35:851-885.
Corbett JR, Akinboboye OO, Bacharach SL, Borer JS, Botvinick EH, Henzlova MJ, Kriekinge SV. ASNC imaging guidelines for nuclear cardiology procedures: Equilibrium radionuclide angiocardiography. J Nucl Cardiol 2006;13;e56-e79.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสมาคมรังสีเทคนิคแห่งประเทศไทย (The Thai Society of Radiological Technologists)
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสมาคมรังสีเทคนิคแห่งประเทศไทยและบุคคลากรท่านอื่น ๆในสมาคม ฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว