การวิเคราะห์และประเมินการให้บริการด้านรังสีรักษา สถาบันมะเร็งแห่งชาติ : ผู้รับบริการ ระบบโครงสร้างพื้นฐาน และศักยภาพการให้บริการ

ผู้แต่ง

  • สมศักดิ์ เขื่อนชนะ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ถนนพระรามที่หก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 ประเทศไทย

คำสำคัญ:

การบริการด้านรังสีรักษา, ผู้รับบริการ, ระบบโครงสร้างพื้นฐาน, ศักยภาพ

บทคัดย่อ

บทนำ: โรคมะเร็งเป็นปัญหาสำคัญด้านสาธารณสุขของไทยพบอุบัติการณ์เพิ่มขึ้น การฉายรังสีมีบทบาทสำคัญในการรักษาทั้งในระยะแรกและระยะสุดท้าย และยังไม่มีการศึกษาวิเคราะห์ระบบงานด้านรังสีรักษาทั้งมิติด้านบริการและโครงสร้างพื้นฐาน วัตถุประสงค์: เพื่อวิเคราะห์และประเมินผลการให้บริการด้านรังสีรักษาของสถาบันมะเร็งแห่งชาติทั้งด้านสถิติผู้ป่วยโรคมะเร็งที่มารับบริการและโครงสร้างพื้นฐาน วิธีการศึกษา: ศึกษาข้อมูลย้อนหลังเชิงพรรณนาและวิเคราะห์แบบสถิติเชิงบรรยายโดยเก็บรวบรวมข้อมูลผู้รับบริการด้านรังสีรักษาทุกรายและโครงสร้างพื้นฐานย้อนหลัง 3 ปีและรวบรวมข้อมูลจากรายงานทะเบียนโรคมะเร็งระดับประชากรและระดับโรงพยาบาลย้อนหลัง 10 ปี  ผลการศึกษา: สถาบันมะเร็งแห่งชาติพบผู้มารับบริการรายใหม่ลดลงร้อยละ 60 แต่ผู้ป่วยโรคมะเร็งรายใหม่ลดลงร้อยละ 11 เพศหญิงมากกว่าเพศชายและมากกว่าร้อยละ 70 มาจากกรุงเทพมหานครและพื้นที่ใกล้เคียงมารักษาด้วยเคมีบำบัดมากที่สุด โดยพบมะเร็งเต้านมมากที่สุด มีระบบเครื่องฉายรังสีและระบบ TPSและระบบ OIS ที่จำเพาะและแตกต่างกัน 4 ระบบ ผู้ป่วยฉายรังสีลดลงร้อยละ 14.37 ให้บริการฉายรังสีด้วยเทคนิค 3DCRT และมีมูลค่าการให้บริการสูงสุดร้อยละ 50.58 เครื่องฉายรังสี Cyber Knife มีค่าใช้จ่ายในการดูแลสูงที่สุดเท่ากับร้อยละ 307.95 ของมูลค่าการให้บริการ บุคลากรด้านรังสีรักษามีจำนวนตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยนักฟิสิกส์การแพทย์มีอัตราเข้าและออกสูง สรุปผลการศึกษา: พบผู้ป่วยโรคมะเร็งรายใหม่ลดลงและพบโรคมะเร็งเต้านมมากที่สุด ระบบเครื่องฉายรังสีและระบบ TPS และระบบ OIS ทั้ง 4 ระบบที่มีความจำเพาะแตกต่างกันเป็นข้อจำกัดของเทคนิคการฉายรังสี/การกำหนดอัตรากำลัง/การพัฒนาความเชี่ยวชาญ ผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมมาฉายรังสีมากที่สุดจึงมีความจำเป็นจัดหาชุดอุปกรณ์ในการตรวจสอบการจัดท่าการฉายรังสีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ มีการฉายรังสีด้วยเทคนิคขั้นสูงเพิ่มมากขึ้นเป็นการเพิ่มคุณภาพและประสิทธิภาพการรักษาแต่ยังมีสัดส่วนค่าใช้จ่ายในการดูแลเครื่องฉายรังสีสูงและมีแนวโน้มสูงขึ้นตามอายุและการเสื่อมสภาพ จำเป็นต้องจัดหาเพิ่มเติมหรือทดแทนระบบที่มีศักยภาพต่ำหรือล้าสมัยเพื่อเพิ่มคุณภาพ/จำนวนผู้ป่วย/ลดระยะเวลารอคอย/เพิ่มมูลค่าการคิดค่าบริการฉายรังสีแต่ควรคำนึงถึงข้อมูลพื้นฐานและปัจจัยที่มีความสำคัญได้แก่ประเภทและชนิดของโรคมะเร็งแต่พื้นที่ ความพร้อมของระบบเครื่องฉายรังสีและTPSรวมถึงOISที่มีอยู่ ศักยภาพของบุคลากร ประสิทธิภาพการเรียกเก็บค่าบริการฉายรังสีจากกองทุนต่างๆเพื่อให้การรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งด้วยการฉายรังสีมีประสิทธิภาพและคุณภาพเหมาะสมและคุ้มค่าต่อไป

Downloads

References

ประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเรื่อง เกณฑ์การตรวจประเมินเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการที่รับการส่งต่อเฉพาะด้านรังสีรักษาสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง พ.ศ. 2561, ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 135, ตอนพิเศษ 201 ง, 21 สิงหาคม, หน้า 8-10.

ประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง อัตราค่าบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2562, ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 136, ตอนพิเศษ 218 ง, 30 สิงหาคม 2562, หน้า 4-17.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. สำนักสนับสนุนคุณภาพและมาตรฐานหน่วยบริการ, คู่มือแนวทางการรักษาโรคมะเร็งในผู้ใหญ่ พ.ศ. 2561 เพื่อขอรับค่าบริการสาธารณสุข ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, 2561. กรุงเทพฯ: สหมิตรปริ้นติ้งแอนด์พับลิสชิ่ง.

ศิวลี สุริยาปี, ชลเกียรติ ขอประเสริฐ. รังสีรักษาพื้นฐาน htt://www.chulacancer.net/ basicrt/index.html(accessed on 14 May 2019).

American society for radiation oncology. Safety is no accident; a framework for quality radiation oncology care, Available online: https://www.astro.org/ Patient-Care-and-Research/Patient-Safety/Safety-is-no-Accident(accessed on 14 May 2019).

Bureau of Policy and Strategy, Ministry of Public Health, Thailand Health Profile Report 2008–2010. Available online: http:// wops.moph. go.th/ops/thp/thp/en/ index.php?id =288&group=05&page=view_doc (accessed on 14 May 2019).

Imsamran W, Pattatang A, Supaattagorn P, Chiawiriyabunya I, Namthaisong K, Wongsena M, et al. Cancer in Thailand volume IX 2003-2015. Bangkok Thailand: National Cancer Institute Ministry of Public Health; 2018

Cancer Registry Unit, National Cancer Institution, Hospital – Based Report 2011-2020.https://www.nci.go.th/e_book/hosbased_2011-2020/index.html (accessed on 22 Sep 2021)

Lertbutsayanukul C, Rojpornpradit P.Intensity Modulated Radiation Therapy, IMRT); https://www.chulacancer.net/education-inner.php?id=393(accessed on 16 May 2021).

Khan FN. The physics of radiation therapy 3rd ed. Philladelphia: Lippincott Williams & Wilkins; 2003.

International Atomic Energy Agency. Radiotherapy facilities: master planning and concept design considerations. IAEA human health reports No. 10. https://www.iaea.org/publications/10561/radiotherapy-facilities-master-planning-and-concept-design-considerations(accessed on 16 May 2021).

Michael Joiner, Albert van der kogel, Basic Clinical Radiobiology. Britain: Hodder Arnold; 2009.

Suriyapee S, Sanghangthum T, Oonsiri P, et al. Physics of radiotherapy. Ideol digital print; 2020. 70-172.

Thai association of radiation oncology(THASTRO). Radiotherapy new patient report. https://www.thastro.org/Statistics-Online(accessed on 16 May 2021).

Khuanchana S, Lapo K, Boonlerd A, Uadrang S. Cost Analysis and Break-Even Point Radiation Services with Helical Tomotherapy in Cancer Specialized Hospitals. Lopburi: Lopburi Cancer Hospital; 2021.

Uadrang S, Chalermchawalit W, Tungkasmith T, Rakjirawat K, Rueansri J, Jirojmontri T, et al. Break–Even Point of Intensity Modulated Radiotherapy Machines and Volumetric Modulated Arc Therapy Machines for Cancer Treatment. Lopburi: Lopburi Cancer Hospital. Regional Cancer Hospital and National Cancer Institute; 2019.

Chonsani K, Attasit S, Nirin K, Narong C, Surin U, Pichet U, et al. Unit Cost and Break–Even Point of the Intensity Modulated Radiotherapy and the Volumetric Modulated Arc Therapy for Head and Neck Cancer Treatment. Nonthaburi: Institute of Medical Research and Technology Assessment; 2018.

Rojanamatin J, Ukranun W, Supaattagorn P, Chaiwiriyabunya I, Wongsena M, Chaiwerawattana A, et al. Cancer in Thailand volume X 2016-2018. Bangkok Thailand: National Cancer Institute Ministry of Public Health; 2021.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-01-16

How to Cite

1.
เขื่อนชนะ ส. การวิเคราะห์และประเมินการให้บริการด้านรังสีรักษา สถาบันมะเร็งแห่งชาติ : ผู้รับบริการ ระบบโครงสร้างพื้นฐาน และศักยภาพการให้บริการ . Thai J Rad Tech [อินเทอร์เน็ต]. 16 มกราคม 2023 [อ้างถึง 8 เมษายน 2025];48(1):1-10. available at: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tjrt/article/view/260415