การประเมินปริมาณรังสีและคุณภาพของภาพรังสีช่องท้องด้วยเครื่องเอกซเรย์ดิจิทัลแบบไม่ใช้ระบบตัดรังสีอัตโนมัติที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

ผู้แต่ง

  • เพ็ชรลีย์ สุวรรณประดิษฐ์ สาขารังสีวิทยาวินิจฉัย ฝ่ายรังสีวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย กรุงเทพฯ 10330 ประเทศไทย
  • ศุภกิตต์ ว่องวิทย์โอฬาร สาขารังสีวิทยาวินิจฉัย ฝ่ายรังสีวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย กรุงเทพฯ 10330 ประเทศไทย
  • อรจิรา คงธนะ สาขารังสีวิทยาวินิจฉัย ฝ่ายรังสีวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย กรุงเทพฯ 10330 ประเทศไทย
  • วรินทร กรประเสริฐ สาขารังสีวิทยาวินิจฉัย ฝ่ายรังสีวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย กรุงเทพฯ 10330 ประเทศไทย
  • ฉวี ฤาชาพันธ์ สาขารังสีวิทยาวินิจฉัย ฝ่ายรังสีวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย กรุงเทพฯ 10330 ประเทศไทย
  • อธิชา อริยะชัยพาณิชย์ สาขารังสีวิทยาวินิจฉัย ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 10330 ประเทศไทย
  • เกียรติ อาจหาญศิริ สาขารังสีวิทยาวินิจฉัย ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 10330 ประเทศไทย
  • ลัคนา อภิปัญญาโสภณ ภาควิชารังสีเทคนิคและฟิสิกส์ทางการแพทย์ คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ 10330 ประเทศไทย

คำสำคัญ:

ระบบตัดรังสีอัตโนมัติ, หุ่นจำลองร่างกายมนุษย์, ปริมาณรังสีที่ผิวทางเข้า, ปริมาณรังสีต่อพื้นที่

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: การถ่ายภาพรังสีแบบดิจิทัลร่วมกับระบบตัดรังสีอัตโนมัติ (Automatic exposure control; AEC) เป็นเทคนิคที่ช่วยควบคุมการให้รังสีขณะที่ได้ภาพเพื่อการวินิจฉัยที่มีคุณภาพเหมาะสม อย่างไรก็ตามการใช้ระบบตัดรังสีอัตโนมัติ ร่วมในการถ่ายภาพเพิ่มโอกาสให้ปริมาณรังสีในการถ่ายภาพสูงขึ้น วัตถุประสงค์การศึกษา: เพื่อประเมินปริมาณรังสีและคุณภาพของภาพรังสีช่องท้องจากการถ่ายภาพหุ่นจำลองร่างกายมนุษย์ร่วมกับการใช้ระบบตัดรังสีอัตโนมัติ ตามโปรโตคอลประจำและโปรโตคอลปรับค่าใหม่ ณ ฝ่ายรังสีวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย วัสดุและวิธีการ: ถ่ายภาพรังสีช่องท้องหุ่นจำลองร่างกายมนุษย์ ยี่ห้อ Kyoto Kagaku รุ่น PBU-60 ด้วยเครื่องเอกซเรย์ทั่วไประบบดิจิทัล ยี่ห้อ Philips รุ่น Digital Diagnost ร่วมกับอุปกรณ์รับภาพทำจากซีเซียมไอโอไดด์เจือด้วยแทลเลียม (CsI:Ti) ทั้งแบบใช้และไม่ใช้ระบบตัดรังสีอัตโนมัติ ในทิศทางลำรังสีเข้าทางด้านหน้า (Anteroposterior projection) วัดปริมาณรังสีบริเวณผิวทางเข้า (Entrance surface air kerma; ESAK) ด้วยแผ่นวัดรังสีชนิดสารเรืองแสงเชิงแสง (Optically stimulated luminescence dosimeters; OSLDs) บันทึกค่าปริมาณรังสีต่อพื้นที่ (Kerma area product; KAP) และประเมินคุณภาพของภาพรังสีโดยรังสีแพทย์ที่มีประสบการณ์ จำนวน 2 คน ผลการศึกษา: ค่าปริมาณรังสี ESAK และ KAP มีแนวโน้มไปในทิศทางเดียวกัน โดยค่า ESAK จากการถ่ายภาพรังสีด้วยโปรโตคอลปรับค่าใหม่และไม่ใช้ AEC ที่ 81 kVp และ 3.2 mAs ลดลง 90 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับการใช้โปรโตคอลประจำและใช้ AEC ที่ 85 kVp และ 32 mAs ขณะที่ภาพรังสียังคงได้คะแนนประเมินเชิงคุณภาพอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด สรุปผลการศึกษา: การถ่ายภาพรังสีระบบดิจิทัลของช่องท้องเมื่อไม่ใช้ระบบ AEC ช่วยลดปริมาณรังสีในการถ่ายภาพรังสี ขณะที่ยังคงได้ภาพถ่ายรังสีที่มีคุณภาพเหมาะสมเพื่อการวินิจฉัย

Downloads

References

International Atomic Energy Agency. Avoidance of unnecessary dose to patients while transitioning from analogue to digital radiography. Vienna, IAEA-TECDOC-1667. 2011.

Grewal RK, Young N, Colins L, Karunnaratne N, Sabharwal N. Digital chest radiography image quality assessment with dose reduction. Australas Phys Eng Sci Med. 2012; 35: 71-80.

Choi SS, Lim CH, Jeoung SH. Automatic exposure control in chest radiography. J Econ Lit. 2019; 19(1): DOI: 10.5958/0974-1283.2019.00125.7.

Kim H, Park M, Park S, Jeong H, Kim J, Kim Y. Estimation of absorbed organ doses and effective dose based on body mass index in digital radiography. Radiat Prot Dosimetry. 2013; 153: 92-9.

Suwan-o-pas S, Suwanpradit P, Arjhansiri K, Khamwan K. Optimization of radiation dose and image quality in abdominal radiography using digital mobile x-ray system. Thai J Rad Tech. 2018; 43(1): 13-20.

Kyoto Kagaku, Available from: https://www/kyotokagaku.com/en/products_data/ph-2b/

Microstar user guide version 5.0. Laudauer; 2015.

European commission. European guidelines on quality criteria for diagnostic radiographic images. Luxembourg, EUR 16260 EN. 1996.

Hallgren KA. Computing inter-rater reliability for observational data: an overview and tutorial. Tutor Quant Methods Psychol. 2012; 8(1): 23-34.

Landis JR, Koch GG. The measurement of observe agreement for categorical data. Biometrics. 1977; 33(1): 159-74.

Jang JS, Koo HJ, Yang HJ, Park JH, Cho YC, Do KH. Effective dose in abdominal digital radiography: patient factors. J Korean Soc Radiol. 2017; 77(2): 89-96.

Jang JS, Yang HJ, Koo HJ, Kim SH, Park CR, Yoon SH, Shin SY, Do KH. Image quality assessment with dose reduction using high kVp and additional filtration for abdominal digital radiography. Phys Med. 2018; 50: 46-51.

Almaziad GA, Shahrani AA, Singh OG, Ayaz AA, Abudiab FI, Baligun SO. Modification of the projection from anterior-posterior to posterior-anterior for abdominal radiographic examinations. Biosc Biotech Res Comm. 2021; 14(5): 258-64.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-09-03

How to Cite

1.
สุวรรณประดิษฐ์ เ, ว่องวิทย์โอฬาร ศ, คงธนะ อ, กรประเสริฐ ว, ฤาชาพันธ์ ฉ, อริยะชัยพาณิชย์ อ, อาจหาญศิริ เ, อภิปัญญาโสภณ ล. การประเมินปริมาณรังสีและคุณภาพของภาพรังสีช่องท้องด้วยเครื่องเอกซเรย์ดิจิทัลแบบไม่ใช้ระบบตัดรังสีอัตโนมัติที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย. Thai J Rad Tech [อินเทอร์เน็ต]. 3 กันยายน 2023 [อ้างถึง 15 เมษายน 2025];48(1):52-9. available at: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tjrt/article/view/260702