ค่าความคลาดเคลื่อนของการจัดท่าและขอบเขต CTV to PTV สำหรับมะเร็งบริเวณช่องท้องส่วนบนที่รักษาด้วยการฉายรังสีแบบเทคนิค ปรับความเข้มโดยใช้อุปกรณ์รับภาพอิเล็กทรอนิกส์ในโรงพยาบาลสกลนคร

ผู้แต่ง

  • วิมลมาศ ทองงาม หน่วยรังสีรักษา กลุ่มงานรังสีวิทยา โรงพยาบาลสกลนคร อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร
  • ศรายุทธ ครโสภา หน่วยรังสีรักษา กลุ่มงานรังสีวิทยา โรงพยาบาลสกลนคร อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร
  • พัฒนพงษ์ แสนชนม์ หน่วยรังสีรักษา กลุ่มงานรังสีวิทยา โรงพยาบาลสกลนคร อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร
  • นวพร พงษ์ศักดิ์ หน่วยรังสีรักษา กลุ่มงานรังสีวิทยา โรงพยาบาลสกลนคร อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร
  • เนตรชนก ยิ่งสม ภาควิชารังสีเทคนิค คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
  • เกศมณี ละลมชัย ภาควิชารังสีเทคนิค คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
  • ญานิกา ไวสาริกรรม ภาควิชารังสีเทคนิค คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
  • สุมาลี ยับสันเทียะ ภาควิชารังสีเทคนิค คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก

คำสำคัญ:

ความคลาดเคลื่อนของการจัดท่า, มะเร็งช่องท้องส่วนบน, เทคนิคการฉายรังสีแบบปรับความเข้ม, อุปกรณ์รับภาพอิเล็กทรอนิกส์

บทคัดย่อ

บทนำ: ค่าความคลาดเคลื่อนจากการจัดท่าสำหรับผู้ป่วยมะเร็งช่องท้องส่วนบนมีความจำเพาะในแต่ละโรงพยาบาล วัตถุประสงค์: เพื่อหาค่าความคลาดเคลื่อนแบบระบบและแบบสุ่มและค่า CTV to PTV margin สำหรับผู้ป่วยมะเร็งช่องท้องส่วนบนที่รักษาด้วยเทคนิคปรับความเข้มที่ตรวจสอบการรักษาโดยใช้อุปกรณ์รับภาพอิเล็กทรอนิกส์ วิธีการศึกษา: เก็บข้อมูลค่าความคลาดเคลื่อนจากการจัดท่าผู้ป่วยที่เข้ารับการฉายรังสี จำนวน 32 ราย จากระบบ Mosaiq และนำค่าที่ได้มาคำนวณค่าความคลาดเคลื่อนแบบระบบและแบบสุ่มของผู้ป่วยแต่ละรายและกลุ่มประชากร หลังจากนั้นคำนวณค่า CTV to PTV margin โดยใช้สมการของ Van Herk และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างค่าความคลาดเคลื่อนกับค่าดัชนีมวลกาย อายุ และปริมาตร PTV ผลการศึกษา: ผลการศึกษาพบว่าค่าความคลาดเคลื่อนในแนวศีรษะ-ปลายเท้า แนวซ้าย-ขวา และแนวหน้า-หลัง ของมะเร็งช่องท้องส่วนบนพบว่ามีค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.59±1.44, 2.17±0.95, 1.66±0.59 มิลลิเมตร ตามลำดับ ค่าความคลาดเคลื่อนแบบระบบของประชากรในแนวศีรษะ-ปลายเท้า แนวซ้าย-ขวา และแนวหน้า-หลังเท่ากับ 1.44, 0.95 และ 0.59 มิลลิเมตร ตามลำดับ ค่าความคลาดเคลื่อนแบบสุ่มของประชากรในแนวศีรษะ-ปลายเท้า แนวซ้าย-ขวา และแนวหน้า-หลังเท่ากับ 2.59, 2.17 และ 1.66 มิลลิเมตร ตามลำดับ และค่า CTV to PTV margin ในแนวศีรษะ-ปลายเท้า แนวซ้าย-ขวา และแนวหน้า-หลังเท่ากับ 5.42, 3.89 และ 2.62 มิลลิเมตร ตามลำดับ และพบว่าค่าความคลาดเคลื่อนไม่มีความสัมพันธ์กับค่าดัชนีมวลกาย อายุ และ PTV (p-value> 0.05) สรุปผลการศึกษา: ค่า CTV to PTV margin ทั้ง 3 แนวมีค่าไม่เกิน 5 มิลลิเมตร ยกเว้นในแนวศีรษะ-ปลายเท้า ซึ่งผลการวิจัยนี้อาจจะมีประโยชน์ในการทบทวนค่า PTV margin ของโรงพยาบาลต่อไป

Downloads

References

World Health Organization. Cancer burden rise to 18.1 million new cases and 9.6 million cancer deaths in 2018. Int Agency Res Cancer 2018; 2018:3.

Gregoire V, Mackie TR. Dose prescription, reporting and recording in intensity-modulated radiation therapy: a digest of the ICRU Report 83. Imaging in Medicine 2011;3(3):367-373.

เมทินี วิเศษรินทอง. การประเมินค่า CTV to PTV margin ของตำแหน่งการฉายรังสีในผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและลำคอ ที่รักษาด้วยเทคนิคการฉายรังสีแบบปรับความเข้มหมุนรอบตัวผู้ป่วย โดยใช้เครื่องถ่ายภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์แบบโคน. วารสารสมาคมรังสีรักษาและมะเร็งวิทยาแห่งประเทศไทย 2559;22(1):39-46.

Caruana K, Refalo N, Spiteri D, Couto JG, Zarb F, Bezzina P. PTV margin calculation for head and neck patients treated with VMAT: a systematic literature review. Journal of Radiotherapy in Practice 2022;21(4):586-593.

วิมลมาศ ทองงาม, สุมาลี ยับสันเทียะ. การประเมินค่าความคลาดเคลื่อนของตำแหน่งการฉายรังสีในผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและลำคอด้วยเทคนิคการฉายรังสีแบบปรับความเข้มโดยใช้อุปกรณ์รับภาพอิเล็กทรอนิกส์. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร. 2564;24(3):1-11.

วิมลมาศ ทองงาม, สุมาลี ยับสันเทียะ. การเปรียบเทียบความคลาดเคลื่อนของการจัดท่าผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากด้วยอุปกรณ์ยึดตรึงสามชนิดในเทคนิคการฉายรังสีความเข้ม. Journal of Thai Association of Radiation Oncology 2021; 27:102-115.

Leszczyńska P, Leszczyński W, Wydmański J, Kinga D, Kaletka AN, Tukiendorf A, et al. Delineation of margins for the planning target volume (PTV) for image-guided radiotherapy (IGRT) of gastric cancer based on intrafraction motion. Asian Pacific Journal of Cancer Prevention: APJCP 2017;18(1):37.

Tong Y, Gong G, Chen J, Lu J, Liu T, Cheng P, et al. The heterogeneous CTV-PTV margins should be given for different parts of tumors during tomotherapy. Oncotarget 2017;8(51):89086-94.

Yamane T. Statistics: An introductory analysis – 2nd ed. New York: Harper and Row; 1967.

Van Herk M, Remeijer P, Rasch C, Lebesque JV. The probability of correct target dosage: dose-population histograms for deriving treatment margins in radiotherapy. International Journal of Radiation Oncology Biology Physics 2000;47(4):1121-1135.

Chu KY, Cooke R, Van den Heuvel F, Mukherjee S, Hawkins MA. Impact of abdominal compression on setup error and image matching during radical abdominal radiotherapy. Technical Innovations & Patient Support in Radiation Oncology 2019; 12:28-33.

Trifiletti DM, Zaorsky NG. Absolute Clinical Radiation Oncology Review. 1st Edition, Springer; 2019.

Hong T, Das P. Radiation therapy for gastrointestinal cancers. Cham, Switzerland: Springer International Publishing; 2017.

Wang D, Hu K, Zhang F. Impact of Body Mass Index and Abdominal Subcutaneous Fat Thickness of Setup Errors in Postoperative Cervical Cancer Patients Underwent Daily Image-Guided Radiation Therapy. International Journal of Radiation Oncology Biology Physics 2021 ;111(3): e623.

TJRT1

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-22

How to Cite

1.
ทองงาม ว, ครโสภา ศ, แสนชนม์ พ, พงษ์ศักดิ์ น, ยิ่งสม เ, ละลมชัย เ, ไวสาริกรรม ญ, ยับสันเทียะ ส. ค่าความคลาดเคลื่อนของการจัดท่าและขอบเขต CTV to PTV สำหรับมะเร็งบริเวณช่องท้องส่วนบนที่รักษาด้วยการฉายรังสีแบบเทคนิค ปรับความเข้มโดยใช้อุปกรณ์รับภาพอิเล็กทรอนิกส์ในโรงพยาบาลสกลนคร. Thai J Rad Tech [อินเทอร์เน็ต]. 22 พฤษภาคม 2024 [อ้างถึง 30 มีนาคม 2025];49(1):1-13. available at: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tjrt/article/view/265632