ผลของการปรับค่าเทคนิคการถ่ายภาพรังสีต่อค่าดัชนีเบี่ยงเบนของปริมาณรังสีและค่าปริมาณรังสีอ้างอิงจากภาพถ่ายรังสีทรวงอกแบบดิจิทัลในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชหล่มเก่า
คำสำคัญ:
ค่าเทคนิคการถ่ายภาพรังสีทรวงอกแบบดิจิทัล, ค่าดัชนีเบี่ยงเบนของปริมาณรังสี, การถ่ายภาพรังสีทรวงอกบทคัดย่อ
บทนำ: ค่าดัชนีการเบี่ยงเบนของปริมาณรังสี (Deviation index; DI) ในระบบสร้างภาพทางรังสีแบบดิจิทัล (Digital Radiography; DR) นั้นมีความสำคัญ ในการกำหนดค่าเทคนิคถ่ายภาพรังสีให้มีความเหมาะสม วัตถุประสงค์การศึกษา: เพื่อหาค่าเทคนิคถ่ายภาพรังสีทรวงอกแบบดิจิทัล ที่มีความเหมาะสม ตามมาตรฐานสากล ของสมาคมนักฟิสิกส์การแพทย์แห่งสหรัฐอเมริกา (American Association of Physicists in Medicine ; AAPM) ฉบับ 116 โดยที่ค่าปริมาณรังสีผ่านเข้าผิว (Entrance Skin Air Kerma ; ESAK) ในระดับหน่วยงาน มีค่ามัธยฐานไม่เกินค่าปริมาณรังสีอ้างอิงในการถ่ายภาพรังสีวินิจฉัยทางการแพทย์ของประเทศไทย พ.ศ. 2566 รวมทั้งเปรียบเทียบค่าดัชนีการเบี่ยงเบนของปริมาณรังสี ค่าปริมาณรังสีผ่านเข้าผิว ในช่วงก่อนและหลังการปรับค่าเทคนิคถ่ายภาพรังสีทรวงอก วิธีการศึกษา: หาค่าเทคนิคใหม่ของการถ่ายภาพรังสีทรวงอก สำหรับเครื่องเอกซเรย์โตชิบ้ารุ่น KXO-32s ชุดอุปกรณ์สร้างภาพระบบดิจิทัล เครื่องหมายการค้า PIXXGEN1417 โดยใช้หุ่นจำลองส่วนทรวงอก เก็บข้อมูลค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าสูงสุดของหลอดเอกซเรย์ (kVp) กระแสหลอดคูณเวลา (mAs) ค่าปริมาณรังสีผ่านเข้าผิว และค่าดัชนีการเบี่ยงเบนของปริมาณรังสี จากแต่ละเทคนิค เพื่อหาค่าเทคนิคการถ่ายภาพรังสีทรวงอกแบบดิจิทัล ที่มีความเหมาะสมตามมาตรฐาน AAPM ที่กำหนดค่าดัชนีการเบี่ยงเบนของปริมาณรังสี ให้อยู่ระหว่าง ±3 และค่าปริมาณรังสีผ่านเข้าผิวตามค่าปริมาณรังสีอ้างอิงของไทย ที่กำหนดไว้ไม่เกิน 0.40 มิลลิเกรย์ จากนั้นทำการทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูล จากกลุ่มอาสาสมัคร จำนวน 68 ราย ที่มีช่วงอายุ 20-60 ปี ส่วนสูง 150-190 เซนติเมตร น้ำหนัก 45-75 กิโลกรัม และค่าดัชนีมวลกาย 18.5-22.9 กิโลกรัมต่อตารางเมตร ผลการศึกษา: พบว่าก่อนปรับค่าเทคนิคถ่ายภาพรังสีทรวงอก ค่าเฉลี่ยของ kVp ของการถ่ายภาพ คือ 117.41±1.51 ค่าเฉลี่ย mAs คือ 3.71±0.76 mAs ได้ค่าเฉลี่ยดัชนีการเบี่ยงเบนของปริมาณรังสีของภาพถ่ายรังสีเท่ากับ -4.11±0.91 และค่ามัธยฐานของปริมาณรังสีผ่านเข้าผิว เท่ากับ 0.22 มิลลิเกรย์ หลังปรับค่าเทคนิคการถ่ายภาพรังสีทรวงอก ค่า kVp ของการถ่ายภาพเท่ากับ 124 kVp ค่า mAs เท่ากับ 4.5 ได้ค่าเฉลี่ยดัชนีการเบี่ยงเบนของปริมาณรังสีของภาพถ่ายรังสีเท่ากับ -2.38±0.53 และค่ามัธยฐานของปริมาณรังสีผ่านเข้าผิวเท่ากับ 0.27 มิลลิเกรย์ เมื่อทำการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยดัชนีการเบี่ยงเบนของปริมาณรังสี และจำนวนร้อยละของภาพที่ผ่านมาตรฐาน ในช่วงก่อนและหลังปรับค่าเทคนิคถ่ายภาพรังสีทรวงอก พบว่าค่าเฉลี่ยดัชนีการเบี่ยงเบนของปริมาณรังสี มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value < 0.001) โดยมีจำนวนภาพถ่ายรังสีที่มีค่าดัชนีการเบี่ยงเบนของปริมาณรังสี อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน เพิ่มขึ้นเป็น 85% เมื่อเปรียบเทียบกับในช่วงก่อนปรับค่าเทคนิคถ่ายภาพรังสีทรวงอก (8%) สรุปผลการศึกษา: จากการวิจัยสรุปได้ว่าภาพถ่ายทางรังสีทรวงอกด้วยค่าเทคนิคแบบใหม่ มีค่าดัชนีการเบี่ยงเบนของปริมาณรังสี อยู่ในช่วงเกณฑ์มาตรฐานของ AAPM และมีค่าปริมาณรังสีผ่านเข้าผิวไม่เกินจากค่าปริมาณรังสีอ้างอิงของไทย ดังนั้นการศึกษานี้จึงแนะนําให้ใช้เทคนิคการถ่ายภาพรังสีแบบใหม่สําหรับการถ่ายภาพรังสีทรวงอกแบบดิจิทัล
Downloads
References
Butler ML, Rainford L, Last J, Brennan PC. Are exposure index values consistent in clinical practice? A multi-manufacturer investigation. Radiat Prot Dosimetry. 2010;139(1–3):371–374.
Lança L, Silva A. Evaluation of exposure index (IgM) in orthopaedic radiography. Radiat Prot Dosimetry. 2008;129(1–3):112–128.
Shepard SJ, Wang J, Flynn M, Gingold E, Goldman L, Krugh K, et al. An exposure indicator for digital radiography: AAPM Task Group 116 (executive summary). Med Phys. 2009;36(7):2898–2914.
Don S, Whiting BR, Rutz LJ, Apgar BK. New exposure indicators for digital radiography simplified for radiologists and technologists. AJR Am J Roentgenol. 2012;199(6):1337–1341.
ประภัสสร ไกรหาญ, ดวงฤดี สุภมาตย์. การประเมินค่าดัชนีชี้วัดปริมาณรังสีในการถ่ายภาพทรวงอกเด็กอายุ 0-12 ปี โรงพยาบาลสิรินธร จังหวัดขอนแก่น. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา. 2564;4:18–27.
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. ค่าปริมาณรังสีอ้างอิงจากการถ่ายภาพรังสีวินิจฉัยจากเครื่องเอกซเรย์ทั่วไปแบบดิจิตอล 2566 (Diagnostic reference levels in Digital radiography: DR). กรุงเทพฯ: บียอนด์ พับสิสชิ่ง; 2566.
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล. คนไทยรู้ยัง: คนไทยวัยทำงานมี “ดัชนีมวลกายปกติ” แค่ 51.76% [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 20 ก.พ. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.tcijthai.com/news/2019/13/scoop/9662
Daniel WW, Cross CL. Foundations for analysis in the health sciences. Biom J. 1995;37(6):177–178.
สุรพงษ์ คงสัตย์, ธีรชาติ ธรรมวงค์. การหาค่าความเที่ยงตรงของแบบสอบถาม (IOC) [อินเทอร์เน็ต]. 2551 [เข้าถึงเมื่อ 22 มี.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.mcu.ac.th/article/detail/14329
Vañó E, Miller DL, Martin CJ, Rehani MM, Kang K, Rosenstein M, et al. ICRP publication 135: Diagnostic reference levels in medical imaging. Ann ICRP. 2017;46(1):111–144.
International Atomic Energy Agency. Dosimetry in diagnostic radiology: an international code of practice. IAEA Technical Reports Series No. 457. Vienna: IAEA; 2007.
วสุชาวลี เชื้อมหาวัน, ศิริวรรณ บุญชรัตน. คู่มือการวัดค่าปริมาณรังสีที่ใช้ในการถ่ายภาพรังสีด้วยเครื่องเอกซเรย์ [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 30 กันยายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://webapp1.dmsc.moph.go.th/petitionxray/web3/downloadproject/รายละเอียดโครงการและวิธีการเก็บข้อมูล.pdf
เสาวนีย์ อัศวผาติบุญ. การป้องกันอันตรายจากรังสีวินิจฉัย [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 30 ก.ย. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.rama.mahidol.ac.th/radiology/sites/default/files/public/knowledge/A_Diagnosis_Protection_24July2018_handout.pdf
Japan Association on Radiological Protection in Medicine. Diagnostic reference levels based on latest surveys in Japan [Internet]. 2015 [cited 29 Sept 2023]. Available from: http://www.radher.jp/J-RIME/report/DRLhoukokusyoEng.pdf
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. Radiation protection in diagnostic radiology 2018 [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 30 กันยายา 2566]. เข้าถึงได้จาก:
https://www.rama.mahidol.ac.th/radiology/sites/default/files/public/training/Protection2018.pdf
รังสีวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทย. โอกาสเกิดมะเร็งกับการตรวจวินิจฉัยทางรังสี [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 16 ส.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.radiologythailand.org/
ลัดดา เย็นศรี. การศึกษาเปรียบเทียบปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับจากการถ่ายภาพรังสีทรวงอกด้วยระบบ CR และ DR. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 2559;3(1):129–139.
ธัญรัตน์ ชูศิลป์, ฐิติพงศ์ แก้วเหล็ก. ตัวบ่งชี้ปริมาณรังสีในระบบการถ่ายภาพรังสีแบบดิจิทัล. วารสารรังสีเทคนิค. 2561;43(1):21–28.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สมาคมรังสีเทคนิคแห่งประเทศไทย

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสมาคมรังสีเทคนิคแห่งประเทศไทย (The Thai Society of Radiological Technologists)
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสมาคมรังสีเทคนิคแห่งประเทศไทยและบุคคลากรท่านอื่น ๆในสมาคม ฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว