พารามิเตอร์ที่เหมาะสมในการถ่ายภาพเอกซเรย์ดิจิทัลระบบดีอาร์ ของทรวงอกโดยใช้หุ่นจำลองรูปตัววีและการวิเคราะห์ของทากูชิ
คำสำคัญ:
หุ่นจำลองรูปตัววี, ความแตกต่างของวัตถุที่มีขนาดเล็กที่สุดที่ตรวจวัดได้, การวิเคราะห์ของทากูชิ, เอกซเรย์ดิจิทัลระบบดีอาร์บทคัดย่อ
บทนำ: การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องเอกซเรย์เป็นเรื่องสำคัญ จำเป็นต้องถ่ายภาพเอกซเรย์ที่สามารถตรวจวัดเนื้อเยื่อหรือวัตถุที่มีขนาดเล็กที่สุดและเห็นความแตกต่างนั้นได้ เพื่อให้แพทย์สามารถวินิจฉัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ วัตถุประสงค์: เพื่อหาค่าพารามิเตอร์ที่เหมาะสมและหาค่า ความแตกต่างของวัตถุที่มีขนาดเล็กที่สุดที่ตรวจวัดได้ โดยการวิเคราะห์ของทากูชิและ เพื่อทดสอบหุ่นจำลองรูปตัววีที่สร้างขึ้นเอง ว่าสามารถนำมาใช้กับเครื่องเอกซเรย์ดิจิทัลระบบดีอาร์ สำหรับเทคนิคการถ่ายภาพเอกซเรย์ทรวงอกได้ วิธีการศึกษา: ถ่ายภาพหุ่นจำลองรูปตัววี ที่ประกอบรวมกับหุ่นจำลองวัสดุสมมูลเนื้อเยื่อแบบแข็ง โดยปรับเปลี่ยนค่าพารามิเตอร์ 5 ปัจจัย ได้แก่ (A) ขนาดของจุดโฟกัส (B) ความต่างศักย์ (C) กระแสหลอดคูณเวลา (D) ตัวกรองรังสี และ (E) ความหนาหุ่นจำลอง ซึ่งแต่ละปัจจัยปรับเปลี่ยนได้ 2 หรือ 3 ระดับ และใช้ตารางแนวแถวตั้งฉากแบบ L18 ในการออกแบบการทดลอง อ่านผลภาพที่ได้ นำผลมาวิเคราะห์ความแปรปรวนทางสถิติ และหาความละเอียดเชิงพื้นที่ โดยการวัดค่าความแตกต่างของวัตถุที่มีขนาดเล็กที่สุดที่ตรวจวัดได้ ผลการศึกษา: วิธีการของทากูชิสามารถหาพารามิเตอร์ที่เหมาะสมที่ให้อัตราส่วนระหว่างสัญญาณกับสัญญาณรบกวนมากที่สุดที่ปัจจัย (A) ขนาดของจุดโฟกัสขนาดใหญ่ (B) ความต่างศักย์140 (C) กระแสหลอดคูณเวลา 6.25 (D) ตัวกรองรังสี 0.1 มิลลิเมตร และ (E) ความหนาหุ่นจำลอง 16 เซนติเมตร สรุปผลการศึกษา: หุ่นจำลองรูปตัววีสามารถใช้หาพารามิเตอร์ที่เหมาะสมด้วยวิธีทางทากูชิได้ โดยค่าความแตกต่างของวัตถุที่มีขนาดเล็กที่สุดที่ตรวจวัดได้คือ 0.87 มิลลิเมตร เทียบกับพารามิเตอร์เดิมที่ 1.66 มิลลิเมตร และจากการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางสถิติ ทุกปัจจัยส่งผลต่อคุณภาพของภาพอย่างมีนัยสำคัญ
Downloads
References
Krishnaiah K, Shahabudeen P. Fundamentals of experimental design. In: Ghosh AK, editors. Applied design of experiments and Taguchi methods. New Delhi: PHI Learning; 2012;22-48.
Krishnaiah K, Shahabudeen P. Taguchi methods. In: Ghosh AK, editors. Applied design of experiments and Taguchi methods. New Delhi: PHI Learning; 2012;198-201.
พรเพ็ญ รุจิรามงคลชัย, ภัทรภณ หนูแก้ว. การหาค่าพารามิเตอร์ที่เหมาะสมในการถ่ายภาพด้วยเครื่องเอกซเรย์ DR สำหรับเทคนิคการถ่ายภาพทรวงอกโดยอาศัยการวิเคราะห์ของทากูชิ: ศึกษาจากหุ่นจำลอง [ภาคนิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2561.
วสวัตติ์ ประสงค์สร้าง, สิรัณยาพงศ์ สุวรรณโอภาส. ข้อแตกต่างระหว่างการเอกซเรย์ระบบถ่ายภาพรังสีคอมพิวเตอร์กับระบบถ่ายภาพดิจิทัล. วารสารรังสีวิทยาศิริราช 2018;5(1):48-54.
โรงพยาบาลสำโรงการแพทย์. เครื่องเอกซเรย์ระบบดิจิตอล [อินเทอร์เน็ต]. 2555 [เข้าถึงเมื่อ 27 ธ.ค. 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://www.samrong-hosp.com/ข่าวและกิจกรรม/เครื่องเอกซเรย์ระบบดิจิตอล
Pan LF, Wu KY, Chen KL, Kittipayak S, Pan LK. Taguchi method-based optimization of the minimum detectable difference of a cardiac x-ray imaging system using a precise line pair gauge. J Mech Med Biol 2019;19(7):1-17.
Yeh DM, Chang PJ, Pan LK. The optimum Ga-67-citrate gamma camera imaging quality factors as first calculated and shown by the Taguchi’s analysis. Hell J Nucl Med 2013;16(1):25-32.
Pan LF, Chen YH, Wang CC, Peng BR, Kittipayak S, Pan LK. Optimizing cardiac CT angiography minimum detectable difference via Taguchi’s dynamic algorithm, a V-shaped line gauge, and three PMMA phantoms. Technol Health Care 2022; 30:91–103.
สุชาติ เกียรติวัฒนเจริญ. kV หรือ kVp [อินเทอร์เน็ต]. 2553 [เข้าถึงเมื่อ 2 ก.พ. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.gotoknow.org/posts/401227
Bell DJ. Milliampere-seconds (mAs) [Internet]. 2021 [cited 2023 February 2]. Available from: https://radiopaedia.org/articles/milliampere-seconds-mas45
เพชรากร หาญพานิชย์. การกรองรังสีของหลอดเอกซเรย์ [อินเทอร์เน็ต]. 2553 [เข้าถึงเมื่อ 2 ก.พ. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.gotoknow.org/posts/
Supertech x-ray. Whole Body Phantom Kyoto Kagaku PBU-60 [Internet]. 2022 [cited 2022 October 19]. Available from: https://www.supertechx-ray.com/Anthropomorp hic/FullBodyPhantoms/PBU-60.php#
Larson MG. Analysis of Variance. Circulation 2008;117(1):115-121.
Chieng R, Alhusseiny K, Liao A. Spatial resolution (gamma camera) [Internet]. 2023 [cited 2024 April 3]. Available from: https://doi.org/10.53347/rID-173540

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สมาคมรังสีเทคนิคแห่งประเทศไทย

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสมาคมรังสีเทคนิคแห่งประเทศไทย (The Thai Society of Radiological Technologists)
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสมาคมรังสีเทคนิคแห่งประเทศไทยและบุคคลากรท่านอื่น ๆในสมาคม ฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว