The การวิเคราะห์ความเสถียรของค่าการสอบเทียบของหัววัดสำหรับปริมาณรังสีดูดกลืนในน้ำ (ND,w) ในหัววัดรังสีไอออนไนเซชั่นชนิดฟาร์มเมอร์โดยใช้ข้อมูลย้อนหลัง 10 ปี
คำสำคัญ:
ค่าแก้การสอบเทียบ, ค่า ND,w, การสอบเทียบ, หัววัดรังสี, หัววัดไอออนไนเซชั่นบทคัดย่อ
บทนำ: ค่า calibration factor (ND,w) เป็นค่าที่มีความสำคัญเพราะมีความสัมพันธ์กับปริมาณรังสีที่ให้แก่ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยวิธีฉายรังสี ค่า ND,w นี้จะได้จากการส่ง หัววัดรังสี (ionization chamber) ไปสอบเทียบที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งจะส่งไปสอบเทียบประมาณ 1-3 ปีต่อครั้ง แต่เนื่องจากสถานการณ์ระบาดของโรค COVID19 ทำให้การนัดหมายในการสอบเทียบมีความล่าช้าออกไป ซึ่งอาจจะส่งผลต่อปริมาณรังสีที่ให้ผู้ป่วยได้ ทำให้ต้องพิจารณาถึงค่าความคลาดเคลื่อนของค่า calibration factor ที่อาจเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ยังไม่ได้ส่งไปสอบเทียบ วัตถุประสงค์การศึกษา: การศึกษานี้ได้ทำการพิจารณาหาค่าความคลาดเคลื่อน ย้อนหลังของค่า ND,w ของ ionization chamber 2 ชนิดตลอดระยะเวลา 10 ปี วิธีการศึกษา: หาค่าค่าเปอร์เซ็นความเปลี่ยนแปลงย้อนหลังของค่า ND,w ของ ionization chamber 2 ชนิดที่ใช้งานมากที่สุดของทางรังสีรักษา คือ FC65_G และ FC65_P รวมทั้งหมด 4 หัววัด โดย กำหนดให้ค่า ND,w ที่ส่งเป็นปีแรกและปีครั้งก่อนหน้าของ ionization chamber แต่ละหัววัดเป็นค่าอ้างอิง ตามลำดับ ผลการศึกษา: ความเปลี่ยนแปลงของค่า ND,w อยู่ภายในช่วงน้อยกว่า ±3% ทำให้เรามั่นใจได้ว่าตลอด 10 ปี หัววัดรังสีมีเสถียรภาพค่อนข้างสูง ดังนั้นหาก หัววัดรังสีไม่ผิดปกติและมีสถานการณ์ที่ทำให้เราไม่สามารถส่งสอบเทียบได้ เช่น สถานการณ์ COVID19 เราจึงมีความเชื่อมั่นในการใช้ค่า ND,w ต่อไปได้ สรุปผลการศึกษา: Famer chamber มีค่า calibration factor ค่อนข้างคงที่ แปลว่า ประสิทธิภาพในการวัดรังสีของหัววัดทั้งหมดค่อนข้างมีเสถียรภาพ ดังนั้น เชื่อได้ว่าในระยะเวลาที่ยังไม่สามารถส่งหัววัดสอบเทียบได้ ซึ่งอาจมากกว่า 3 ปีในแต่ละรอบของการส่ง ยังคงสามารถใช้หัววัด Famer chamber เหล่านั้นมาทำการวัดรังสีได้อย่างถูกต้อง
Downloads
References
Hohlfeld K. The standard DIN 6800: procedures for absorbed dose determination in radiology by the ionization method (IAEA‑SM‑298/31). Vienna: IAEA; 1988:13–22.
Andreo P. Absorbed dose beam quality factors for the dosimetry of high-energy photon beams. Phys Med Biol. 1992;37(10):2189–2211.
Rogers DWO. The advantages of absorbed-dose calibration factors. Med Phys. 1992;19(5):1227–1239.
International Atomic Energy Agency (IAEA). Absorbed dose determination in external beam radiotherapy: an international code of practice for dosimetry based on standards of absorbed dose to water. Technical Reports Series No. 398. Vienna: IAEA; 2001.
Minniti R, Shobe J, Seltzer SM, Chen-Mayer HH, Domen SR. Absorbed dose to water calibration of ionization chambers in a 60Co gamma-ray beam. NIST Spec Publ. 2006;250:250–274.
Castro P, García-Vicente F, Mínguez C, Floriano A, Sevillano D, Pérez L, et al. Study of the uncertainty in the determination of the absorbed dose to water during external beam radiotherapy calibration. J Appl Clin Med Phys. 2008;9(1):70–86.
Muir BR. Ion chamber absorbed dose calibration coefficients, ND,w, measured at ADCLs: distribution analysis and stability. Med Phys. 2015;42(3):1546–1554.
Karzmark CJ. Concerning radiotherapy standard dose meter calibration. Med Phys. 1980;7(5):574–575.
Manoj S, Harishchandra G, Sakshi S, Ashok K, Aruna K. Variation in dosimeter calibration factor (ND,w) over a period of 20 years. J Med Phys. 2021;46(2):125–127.
International Commission on Radiation Units and Measurements (ICRU). Measurement quality assurance for ionizing radiation dosimetry. ICRU Report 76. Oxford: Oxford University Press; 2006.
Mijnheer BJ, Battermann JJ, Wambersie A. Reply to: precision and accuracy in radiotherapy. Radiother Oncol. 1989;14(2):163–167.
Ravichandran R, Binukumar JP, Davis CA. Estimation of absorbed dose in clinical radiotherapy linear accelerator beams: effect of ion chamber calibration and long-term stability. J Med Phys. 2013;38(4):205–209.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สมาคมรังสีเทคนิคแห่งประเทศไทย

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสมาคมรังสีเทคนิคแห่งประเทศไทย (The Thai Society of Radiological Technologists)
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสมาคมรังสีเทคนิคแห่งประเทศไทยและบุคคลากรท่านอื่น ๆในสมาคม ฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว