ความสัมพันธ์ของผลการประกันคุณภาพแผนการรักษาผู้ป่วยระหว่าง Delta4 และ PerFRACTION ของผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและลำคอที่รักษาด้วยเทคนิคการฉายรังสีแบบปรับความเข้มหมุนรอบตัวผู้ป่วยที่โรงพยาบาลราชวิถี

ผู้แต่ง

  • วรารัตน์ พร้อมมูล กลุ่มงานรังสีรักษา โรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข กรุงเทพมหานคร 10400

คำสำคัญ:

การประกันคุณภาพแผนการรักษาผู้ป่วย, ผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและลำคอ, สถิติในการหาความสัมพันธ์, แผนการรักษาผู้ป่วยด้วยเทคนิคปรับความเข้มหมุนรอบตัวผู้ป่วย

บทคัดย่อ

บทนำ: แผนการรักษาผู้ป่วยด้วยเทคนิคปรับความเข้มหมุนรอบตัวผู้ป่วย (Volumetric Modulated Arc Therapy: VMAT) จำเป็นต้องตรวจสอบความถูกต้องก่อนการรักษา วัตถุประสงค์การศึกษา: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของผลการประกันคุณภาพแผนการรักษาผู้ป่วยจากดัชนีแกมมาระหว่าง Delta4 และ PerFRACTION ของผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและลำคอที่รักษาด้วยเทคนิค VMAT วิธีการศึกษา: รวบรวมข้อมูลจากการประกันคุณภาพแผนการรักษาผู้ป่วยทั้งสองระบบได้แก่ Delta4  และ PerFRACTION ในผู้ป่วยที่ฉายรังสีด้วยเทคนิค VMAT จากเครื่องเร่งอนุภาค Elekta รุ่น VersaHDด้วยโฟตอน 6 MV โดยคัดเลือกเฉพาะผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและลำคอจำนวน 50 ราย และใช้ค่าทางสถิติในการหาความสัมพันธ์ของ QA 2 ระบบ ผลการศึกษา: ผลการประกันคุณภาพแผนการรักษาผู้ป่วยระหว่าง Delta4 มีค่าเฉลี่ยแกมมาที่ผ่านและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 98.01±1.09 และเมื่อนำค่ามาเปรียบเทียบกับ PerFRACTION ที่ได้ผลเป็น ดี ดีมาก และดีที่สุด ได้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 96.86±0.90, 98.01±0.77 และ 99.08±0.58 ตามลำดับ และเมื่อทดสอบด้วยค่าทางสถิติในการหาความสัมพันธ์ (Pearson’s correlation) มีค่าเท่ากับ 0.73 (p-value <0.01) สรุปผลการศึกษา: Delta4  และ PerFRACTION ให้ผลในการประกันแผนการรักษาผู้ป่วยไปในทางเดียวกัน สรุปได้ว่าสามารถใช้เครื่องมือตรวจสอบแผนการรักษาทั้งสองระบบแทนกันได้

Downloads

References

สาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์. หลักการรักษาด้วยรังสี.

International Commission on Radiation Units and Measurements. Prescribing, recording and reporting photon beam therapy. Washington (DC): International Commission on Radiation Units and Measurements 1993; Report 50.

International Commission on Radiation Units and Measurements. Prescribing, recording and reporting proton beam therapy. Bethesda (MD): International Commission on Radiation Units and Measurements 1999; Report 62.

Suzuki M, Nakamatsu K, Kanamori S, Okumra M, Uchiyama T, et al. Feasibility study of the simultaneous integrated boost (SIB) method for malignant gliomas using intensity modulated radiotherapy (IMRT). Jpn J ClinOnco.2003;33(6):271-277.

Wu Q, Mohan R, Morris M, Lauve A, Schmidt UR. Simultaneous integrated boost intensity modulated radiotherapy for locally advanced head and neck squamous cell carcinoma. I: dosimetric result. Int J RadiatOnco Biol Phys. 2003; 56(2):573-585.

Tang D, Yang Z, Dai X, Cao Y. Evaluation of Delta4DVH anatomy in 3D patient-specific IMRT/VMAT quality assurance. Technol Cancer Res T.2020;19:1-12.

Feygelman V, Forster K, Opp D, Nilsson G. Evaluation of biplanar diode array dosimeter for quality assurance of step and shoot IMRT. J of ApplClinMedPhys. 2009;10:64-78.

Zhuang AH, Olch AJ. Sensitivity study of an automated system for daily patient QA using EPID exit dose images. Rad Oncol Phys.2018; 19:114-124.

Khuanchana S. Analysis and assessing of radiotherapy service at the National Cancer Institute: productivity, infrastructure, and facilities. Thai J Rad Tech 2023;48(1):1-10.

Sokal RR, Rohlf FJ. Introduction to biostatistics, 2nd ed. New York: Dover Publication; 2009.

Kang SW, Lee B, Song C, Eeom KY, Jang BS, et al. Clinical implementation of PerFRACTION for pre-treatment patient-specific quality assurance. J Korean Phys Soc.2022; 80(6):516-525.

TJRT10-2024

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-25

How to Cite

1.
พร้อมมูล ว. ความสัมพันธ์ของผลการประกันคุณภาพแผนการรักษาผู้ป่วยระหว่าง Delta4 และ PerFRACTION ของผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและลำคอที่รักษาด้วยเทคนิคการฉายรังสีแบบปรับความเข้มหมุนรอบตัวผู้ป่วยที่โรงพยาบาลราชวิถี. Thai J Rad Tech [อินเทอร์เน็ต]. 25 ธันวาคม 2024 [อ้างถึง 30 มีนาคม 2025];49(1):95-102. available at: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tjrt/article/view/269996