เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด

  • The submission has not been previously published, nor is it before another journal for consideration (or an explanation has been provided in Comments to the Editor).
  • The submission file is in OpenOffice, Microsoft Word, or RTF document file format.
  • Where available, URLs for the references have been provided.
  • The text is single-spaced; uses a 12-point font; employs italics, rather than underlining (except with URL addresses); and all illustrations, figures, and tables are placed within the text at the appropriate points, rather than at the end.
  • The text adheres to the stylistic and bibliographic requirements outlined in the Author Guidelines.

คำแนะนำสำหรับผู้นิพนธ์ต้นฉบับ (Submission Information for Authors)

วารสารวิชาการเขต 12 เป็นวารสารที่พิมพ์เผยแพร่ผลงานทางวิชาการและนวัตกรรม ด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพสาขาต่างๆ และแพทยศาสตร์ศึกษา เป็นบทความที่ไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน ในกรณีที่เป็นนิพนธ์ต้นฉบับและรายงานผู้ป่วย ต้องมีหนังสือรับรองการพิจารณาจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ ในกรณีของรูปภาพหรือตารางที่คัดลอกหรือดัดแปลงจากผู้อื่น ต้องมีหนังสือรับรองว่าได้รับอนุญาตให้ตีพิมพ์โดยผู้เขียนเป็นผู้รับผิดชอบต่อเนื้อหาที่เขียน ส่วนลิขสิทธิ์ของเรื่องที่เผยแพร่ในวารสารนี้เป็นของสำนักงานวารสารวิชาการเขต 12

ประเภทผลงานที่ตีพิมพ์

  1. นิพนธ์ต้นฉบับ (Original articles) เป็นผลงานที่เตรียมจากข้อมูลที่ผู้เขียนหรือกลุ่มผู้เขียนได้ค้นคว้าวิจัยด้วยตัวเอง
  2. รายงานผู้ป่วย (Case reports) เป็นบทความรายงานผู้ป่วยที่น่าสนใจและพบได้ไม่บ่อย เพื่อเป็นการเผยแพร่ให้ผู้อ่านได้มีประสบการณ์โดยยังไม่ต้องพบด้วยตัวเอง
  3. บทความวิชาการ (Research articles) เป็นบทความวิชาการที่เรียบเรียงโดยมีการวิเคราะห์ วิจารณ์ เปรียบเทียบ วรรณกรรมที่มีการดำเนินการมาแล้วจนถึงปัจจุบัน
  4. จดหมายถึงบรรณาธิการ (Letter to editor) เป็นการแสดงข้อคิดเห็นเกี่ยวกับบทความที่ได้ลงตีพิมพ์ในวารสารนี้แล้วโดยส่งถึงบรรณาธิการ

การเตรียมบทความต้นฉบับ

  • การเตรียมบทความนิพนธ์ต้นฉบับ
    • ตันฉบับ (manuscript) พิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์ โปรแกรม Microsoft Words 2010 ขึ้นไป ใช้ตัวอักษร Thai SarabunPSK ขนาด 16 point ระยะห่างระหว่างบรรทัดใช้ Single Space โดยบทความทั้งฉบับควรมีความยาว ประมาณ 7 หน้ากระดาษ A4 ไม่ควรเกิน 10 หน้ากระดาษ A4
    • การเรียงตามลำดับเนื้อหาของนิพนธ์ต้นฉบับ ให้ใช้ตามรูปแบบ ดังนี้
      • ชื่อเรื่อง (Title) ควรกะทัดรัด สื่อเป้าหมายหลักของการศึกษาวิจัย ไม่ใช้คำย่อ ไม่ยาวเกิน 12 คำ ไม่ควรระบุสถานที่ในชื่อเรื่อง
      • ชื่อผู้นิพนธ์ (Authors) ระบุชื่อ วุฒิ ของทีมผู้วิจัยทุกคนและระบุหน่วยงานหรือสถาบันที่สังกัด และชื่อของผู้รับผิดชอบที่ติดต่อได้ (corresponding author) พร้อมระบุสถานที่ติดต่อและ e-mail address
      • บทคัดย่อ (Abstract) มีทั้งภาษาไทยและอังกฤษ มีความยาวแต่ละภาษาไม่เกิน 250-300 คำ ไม่ต้องใส่เอกสารอ้างอิง (References) โดยแบ่งเป็นหัวเรื่องเรียงลำดับ ดังนี้ คำนำ (background) วัตถุประสงค์ (objectives) วิธีการศึกษา (methodology) ผลการศึกษา (results) และสรุป (conclusions)
      • คำสำคัญ (Keyword) ไม่เกิน 5 คำ ให้ระบุทั้งในภาษาไทย และในภาษาอังกฤษ เพื่อประโยชน์ในการสืบค้นในอนาคต

ตัวอย่าง บทคัดย่อ (ภาษาไทย)

ชื่อเรื่อง (ภาษาไทย)

ชื่อผู้นิพนธ์คนแรก (ภาษาไทย), ตัวย่อ ปริญญาหรือวุฒิ (ภาษาไทย)

ชื่อผู้นิพนธ์คนถัดไป (ภาษาไทย), ตัวย่อ ปริญญาหรือวุฒิ (ภาษาไทย)

หน่วยงานหรือสถาบัน (ภาษาไทย)

บทคัดย่อ

บทนำ: ……………………………………….

วัตถุประสงค์: ………………………………

วิธีการศึกษา: ………………………………

ผลการศึกษา: ………………………………

สรุป: …………………………………………..

คำสำคัญ: …………………………………….

*ผู้ให้การติดต่อ (Corresponding e mail; ผู้นิพนธ์คนแรก)

 

ตัวอย่าง บทคัดย่อ (ภาษาอังกฤษ)

ชื่อเรื่อง (ภาษาอังกฤษ)

ชื่อผู้นิพนธ์แรก (ภาษาอังกฤษ), ตัวย่อ ปริญญาหรือวุฒิ (ภาษาอังกฤษ)

ชื่อผู้นิพนธ์คนถัดไป (ภาษาอังกฤษ), ตัวย่อ ปริญญาหรือวุฒิ (ภาษาอังกฤษ)

หน่วยงานหรือสถาบัน (ภาษาอังกฤษ)

Abstract

Background: ……………………………………….

Objectives: …………………………………………

Methodology: ……………………………………

Results: ………………………………………………

Conclusions: ………………………………………

Keyword: …………………………………………….

 

  • เนื้อเรื่อง (Text) แนะนำใช้หัวข้อในการนำเสนอตามลำดับ ดังนี้ (1) บทนำ (Background) (2) วิธีการศึกษา (Methodology or materials and methods) (3) ผลการศึกษา (Results) (4) วิจารณ์ (Discussion) (5) สรุป (Conclusions)(6) กิตติกรรมประกาศ (Acknowledgment) (ไม่บังคับ)
  • เอกสารอ้างอิง (References) การจัดการเอกสารอ้างอิงโดยใช้ระบบแวนคูเวอร์ (Vancouver) อ้างอิงไม่ควรเกิน 20 เรื่อง รูปแบบการเขียนอ้างอิงประกอบด้วย 2 ส่วน คือ 1) การอ้างอิงในเนื้อหา (In-text citation) 2) การอ้างอิงท้ายเล่มหรือ เอกสารอ้างอิง (References)

          1) การอ้างอิงในเนื้อหา (In-text citation) เมื่อนำผลงานของบุคคลอื่นไม่ว่าบางส่วน หรือทั้งหมดมาอ้างอิงในผลงานวิชาการ ให้ใส่ตัวเลขตามลำดับของการอ้างอิง หลังชื่อผู้เขียน หรือหลังข้อความที่อ้างอิงและใช้เลขลำดับเดิม ในกรณีที่มีการอ้างอิงซ้ำทุกครั้ง ส่วนเอกสารอ้างอิงท้ายเล่ม จัดเรียงตัวเลขตามลำดับของการอ้างอิงในเนื้อหา โดยวิธีการอ้างอิง ดังนี้

การอ้างอิงที่เน้นผู้เขียน หรือผู้เขียนเป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหา ให้ใส่ตัวเลขลำดับการอ้างอิงตามหลังชื่อผู้เขียน

ตัวอย่าง

.............. กรอท์เบอร์ก และคณะ1...............................สำนักงานวิจัยแห่งชาติ2...........

          - การอ้างอิงที่เน้นเนื้อหา หรือผู้เขียนไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหา ให้ใส่ตัวเลขลำดับการอ้างอิง

ตัวอย่าง

.................................................................. ประเด็นสำคัญเป็นจริงของผลการวิจัย10

              - การอ้างอิงหลายรายการพร้อมกัน ในกรณีที่ตัวเลขลำดับการอ้างอิง เป็นลำดับที่ต่อเนื่องกันให้ใช้เครื่องหมายยติภังค์ ( - ) คั่นระหว่างตัวเลข แต่ถ้าตัวเลขลำดับการอ้างอิงไม่ต่อเนื่องกันให้ใช้เครื่องหมายจุลภาค ( , ) คั่นระหว่างตัวเลข

ตัวอย่าง

          รายงานผู้ป่วยที่ไม่ธรรมดา หรือเป็นโรค หรือกลุ่มอาการใหม่ที่ไม่เคยรายงานมาก่อน6-7 ดังนั้นรายงานผู้ป่วยที่มีลักษณะเวชกรรมและค่าเป็นโรคที่ไม่ตรงกัน9,13

2) การอ้างอิงท้ายเล่ม เป็นการนำการอ้างอิงในเนื้อหา มารวบรวมไว้ในส่วนท้ายของผลงานวิชาการภายใต้หัวข้อ เอกสารอ้างอิง (References) โดยจัดเรียงตัวเลขตามลำดับ 1, 2, 3, 4, 5,..... ซึ่งตัวเลขต้องสอดคล้องกับลำดับตัวเลขของการอ้างอิงในเนื้อหาข้อมูลที่นำมาเขียนเอกสารอ้างอิงจะแตกต่างกันตามประเภทของเอกสารที่นำมาอ้างอิง เช่น หนังสือ บทความวารสาร เอกสารประกอบการประชุม หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เอกสารทางอินเทอร์เน็ต เป็นต้น

- การเขียนเอกสารอ้างอิง

ชื่อผู้เขียน (Author)

ผู้เขียนชาวต่างประเทศ หรือคนไทยที่เขียนเอกสารภาษาอังกฤษ ให้ใช้นามสกุลขึ้น ตามด้วยอักษรย่อชื่อต้น และอักษรย่อชื่อกลาง (ถ้ามี)

ตัวอย่าง

          Ada Hamosh                       ใช้ว่า              Hamosh A

                 Mark R. Brinker                             ใช้ว่า              Brinker MR

          Khachornjakdi Silpopojakul     ใช้ว่า              Silpopojakul K

ใส่ชื่อผู้เขียนได้ไม่เกิน 6 คน ระหว่างชื่อผู้เขียนแต่ละคนใช้เครื่องหมายจุลภาค ( , ) คั่นและเว้น 1 ตัวอักษร กรณีที่มีผู้เขียนมากกว่า 6 คน ให้ใช้ผู้เขียน 6 คนแรก หลังชื่อผู้เขียนคนที่ 6 ต่อด้วยเครื่องหมายจุลภาค ( , ) เว้น 1 ตัวอักษรแล้วตามด้วย “และคนอื่นๆ” สำหรับผู้เขียนที่เป็นคนไทย หรือตามด้วย “et al” สำหรับผู้เขียนชาวต่างประเทศ

ตัวอย่าง

ลิ่มเฮง พรหมดี, จิรวัฒน์ มิ่งไชย, ศุภรดา ติ้นกะชาติ, วัลยา สิทธิ, แขขัย ไพกะเพศ, สิริวชญ์ สนโศก, และคนอื่นๆ.

Ridker PM, Macfadyen JG, Nordestgaowd BG, Koening W, Kastelein JJ, Genest J, et al.

ผู้เขียนที่เป็นนิติบุคคล ได้แก่ หน่วยงาน องค์กร บริษัท สถาบัน มหาวิทยาลัย เป็นต้น ให้ใส่ชื่อหน่วยงานใหญ่ ตามด้วยหน่วยงานรอง ตามลำดับ ระหว่างชื่อหน่วยงานตามด้วยเครื่องหมายมหัพภาค ( . ) และเว้น 1 ตัวอักษร

ตัวอย่าง

          มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. คณะแพทย์ศาสตร์. ภาควิชาศัลยศาสตร์

          โรงพยาบาลสงขลานครินทร์. หน่วยเวชสถิติ

          โรงพยาบาลสงขลานครินทร์. ฝ่ายบริการพยาบาล

          กรมควบคุมโรค. สำนักระบาดวิทยา

          American Cancer Society.

          World Health Organization. Epidemiology Division.

                             - การอ้างอิงบทความจากวารสาร (Articlas in journals)

รูปแบบพื้นฐาน

ชื่อผู้แต่ง (Author). ชื่อบทความ (Title of the article). ชื่อวารสาร (Title of the Journal). ปีพิมพ์ (Year); เล่มที่ของวารสาร (Volume): หน้าแรก-หน้าสุดท้าย (Page).

ตัวอย่าง

Kan RA, Kane RL. Effect of genetic testing for risk of Alzheimer’s disease. N Engl J Med 2009; 361:298-9.

จิราภรณ์ จันทร์จร. การใช้โปรแกรม Endnote: จัดการเอกสารอ้างอิงทางการแพทย์. จุฬาลงกรณ์เวชสาร 2551; 52:241-53.

- การอ้างอิงเอกสารที่เป็นหนังสือตำรา แบ่งเป็น 2

                 การอ้างอิงหนังสือทั้งเล่ม

รูปแบบพื้นฐาน

ชื่อผู้แต่ง (Author). ชื่อหนังสือ (Title of the book). ครั้งที่พิมพ์ (Edition). เมืองที่พิมพ์ (Place of Publication): สำนักพิมพ์ (Publisher); ปีพิมพ์ (Year).

ตัวอย่าง

พรเทพ เทียนสิวากุล, บรรณาธิการ. โลหิตวิทยาคลินิกชั้นสูง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2541.

Bucholz RW, Heckman JD, editors. Rockwood and Green’s fractures in adults. Vol. 2. 5th ed. Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins; 2001.

การอ้างอิงบทหนึ่งของหนังสือที่มีผู้เขียนเฉพาะบทและมีบรรณาธิการของหนังสือ

รูปแบบพื้นฐาน

ชื่อผู้แต่ง (Author). ชื่อบท (Title of the chapter). ใน/In: ชื่อบรรณาธิการ, บรรณาธิการ/editor(s). ชื่อหนังสือ (Title of the book). ครั้งที่พิมพ์ (Edition). เมืองที่พิมพ์ (Place of Publication): สำนักพิมพ์ (Publisher); ปีพิมพ์ (Year). หน้า/P. หน้าแรก-หน้าสุดท้าย.

ตัวอย่าง

เกรียงศักดิ์ จีระแพทย์. การให้สารน้ำและเกลือแร่. ใน: มนตรี ตู้จินดา, วินัย สุวัตถี, อรุณ วงษ์จิราษฎร์, ประอร ชวลิตบำรุง, พิภพ จิรภิญโญ, บรรณาธิการ. กุมารเวชศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: เรือนแก้ว การพิมพ์; 2540. หน้า 424-78.

Esclamado R, Cummings CW. Management of the impaired in adults. In: Cummings CW, Fredrickson JM, Harker LA, Krause CJ, Schuller DE, editors. Otolaryngology-head and neck surgery. 2th ed. St. Louis, MO: Mosby Year Book; 1993. P. 2001-19.

เอกสารอ้างอิงที่เป็นหนังสือประกอบการประชุม/ รายงานประชุม (Conference proceeding)

รูปแบบพื้นฐาน

ชื่อบรรณาธิการ, บรรณาธิการ. ชื่อเรื่อง. ชื่อการประชุม; วัน เดือน ปีที่ประชุม; สถานที่จัดประชุม. เมืองที่พิมพ์: สำนักพิมพ์; ปีพิมพ์.

การอ้างอิงบทความที่นำเสนอในการประชุม หรือสรุปผลการประชุม (Conferenced paper)

รูปแบบพื้นฐาน

ชื่อผู้เขียน. ชื่อเรื่อง. ใน/In: ชื่อบรรณาธิการ, บรรณาธิการ/editor. ชื่อการประชุม; วัน เดือน ปีที่ประชุม; สถานที่จัดประชุม. เมืองที่พิมพ์: สำนักพิมพ์; ปีพิมพ์. หน้า/p. หน้าแรก-หน้าสุดท้าย.

การอ้างอิงในหนังสือพิมพ์ (Newspaper article)

รูปแบบพื้นฐาน

ชื่อผู้เขียน. ชื่อเรื่อง. ชื่อหนังสือพิมพ์. ปี เดือน วันที่; ส่วนที่: เลขหน้า(เลขคอลัมน์).

การอ้างอิงเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Material)

รูปแบบพื้นฐาน

ชื่อผู้แต่ง (Author). ชื่อบทความ (Title of the article) [ประเภทของสื่อ/วัสดุ]. ปีพิมพ์ [เข้าถึงเมื่อ/cited ปี เดือน วันที่]. เข้าถึงได้จาก/Available from: http://..............................

บทความวารสารบทอินเทอร์เน็ต (Journal article on the Internet)

รูปแบบพื้นฐาน

ชื่อผู้แต่ง (Author). ชื่อบทความ (Title of the article). ชื่อวารสาร (Title of the Journal). [ประเภทของสื่อ]. ปีที่พิมพ์ [เข้าถึงเมื่อ/cited ปี เดือน วันที่]; ปีที่: [หน้า/about screen]. เข้าถึงได้จาก/Available from: http://..................................

  • ข้อกำหนดอื่น ได้แก่ ตารางและรูปภาพรวมกันไม่เกิน 6 ภาพ หลีกเลี่ยงการใช้ภาพสี
  • การเตรียมบทความนิพนธ์อื่นมีข้อกำหนด ได้แก่
    • รายงานผู้ป่วยมีความยาวไม่เกิน 5 หน้ากระดาษ A4
    • บทความฟื้นฟูวิชาการมีความยาวไม่ควรเกิน 10 หน้ากระดาษ A4
    • บทความชนิดอื่นๆ ไม่จำเป็นต้องมีส่วนในข้อ 1.2 กรณีที่ไม่มีรายละเอียดของหัวข้อนั้นๆ
  • การส่งบทความให้กับสำนักงานวารสาร ทาง e-mail address โดยส่ง file ต้นฉบับมาที่ regionjournal12@gmail.com และพร้อมแนบเอกสารรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ (EC) (ไม่เกิน 2 ปี)

          การส่งบทความเพื่อขอรับการตีพิมพ์

  1. ผู้นิพนธ์จะต้องชำระเงินค่าตรวจประเมินอ่านบทความ บทความละ 1,000 บาท
  2. เมื่อบทความผ่านการตีพิมพ์แล้วต้องโอนเงินเพิ่มอีก 2,000 บาท สำหรับบทความที่ไม่เกิน 7 หน้า
  3. บทความตั้งแต่หน้าที่ 8 เป็นต้นไป คิดหน้าละ 400 บาท

 

โอนเงินผ่านบัญชี ธนาคารกรุงไทย สาขาโรงพยาบาลหาดใหญ่

ชื่อบัญชี  “วารสารวิชาการเขต 12 โรงพยาบาลหาดใหญ่”

หมายเลขบัญชี  936-0-14430-4

 

ทั้งนี้ขอสงวนสิทธิ์ทุกบทความที่ส่งและโอนเงินมาแล้ว ไม่สามารถขอรับเงินคืนได้ไม่ว่ากรณีใด ๆ

                    การออกใบเสร็จรับเงิน เมื่อผู้นิพนธ์โอนเงินผ่านบัญชีดังกล่าวแล้ว ให้ส่งหลักฐานการโอนเงินรวมทั้งแจ้งชื่อ-นามสกุล และที่อยู่ของผู้นิพนธ์ทางอีเมล์ regionjournal12@gmail.com เพื่อจะดำเนินการออกใบเสร็จรับเงินและจัดส่งให้ผู้นิพนธ์ต่อไป

ที่อยู่ สำนักงานวารสารวิชาการเขต 12 โรงพยาบาลหาดใหญ่ ตึกอุบัติเหตุ ชั้น 7 เลขที่ 182
ถนนรัถการ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110 โทรศัพท์ 074-273100 ต่อ 2702 หรือ 074-273270