การพยาบาลทารกที่มีความผิดปกติของข้อเข่า Congenital Genu Recurvatum ด้วยการจัดสมดุลโครงสร้างร่างกายแบบมณีเวช: กรณีศึกษา

Main Article Content

ผ่องใส ตันติวิชญวานิช

บทคัดย่อ

บทนำ: โรค Congenital Genu Recurvatum เป็นความผิดปกติของข้อเข่า ทำให้ข้อเข่างอไปด้านหลัง การรักษาขั้นต้นใช้วิธีการใส่เฝือกและปรับเปลี่ยนเป็นระยะ ซึ่งต้องใช้เวลารักษา 8-12 สัปดาห์ การจัดสมดุลโครงสร้างร่างกายด้วยศาสตร์มณีเวช มาใช้เป็นทางเลือกในการรักษา จึงเป็นปรากฏการณ์ที่น่าสนใจ


วัตถุประสงค์: 1). เพื่อให้ทารกมีโครงสร้างร่างกายปกติ 2). เพื่อลดความวิตกกังวลของบิดาและมารดา 3). เพื่อให้มารดาและบิดา มีความรู้ ความสามารถและมีทักษะในการจัดร่างกายบุตร และ 4) เพื่อให้มารดาและบิดา มีส่วนร่วมในการดูแลรักษา


วิธีการศึกษา: เป็นกรณีศึกษาเดี่ยว เพื่ออธิบาย ผลการพยาบาลทารกด้วยศาสตร์มณีเวช เป็นปรากฏการณ์ที่เลือกมาใช้ตามขั้นตอนของกระบวนการพยาบาล กรณีศึกษาทารกแรกคลอดเพศหญิง คลอดโดยวิธีผ่าตัดทางหน้าท้อง ทารกมีขาผิดรูป ปลายขาทั้งสองข้างชี้ขึ้นบน ได้รับการวินิจฉัยโรคเป็นความผิดปกติของข้อเข่า Congenital left knee dislocation and congenital right knee subluxation ศึกษาช่วง 3 วันขณะนอนในโรงพยาบาล


ผลการศึกษา: การพยาบาลโดยการปรับสมดุลโครงสร้างร่างกายทารกด้วยศาสตร์มณีเวช เห็นผลการเปลี่ยนแปลงทันทีที่ทำครั้งแรก คือ ขาของทารกกลับมาอยู่ในสภาพเป็นปกติ และเมื่อครบ 3 วันทารกสามารถยืดเหยียดขาและงอเข่าได้เป็นปกติ ทำให้ความวิตกกังวลของบิดาและมารดาลดลง มารดาและบิดา มีความรู้ ความสามารถและมีทักษะในการจัดร่างกายบุตร และมีส่วนร่วมในการจัดร่างกายบุตร


สรุป: การพยาบาลทารกด้วยการดูแลปรับสมดุลโครงสร้างร่างกายทารกด้วยศาสตร์มณีเวช ในระยะเวลา 3 วัน ทารกสามารถยืดเหยียดขาและงอเข่าได้เป็นปกติ

Article Details

How to Cite
1.
บท
บทความวิชาการ

References

Mehrafshan M, Wicart P, Ramanoudjame M, Seringe R, Glorion C, Rampal V. Congenial dislocation of the knee at birth –part 1 : Clinical signs and classification. Orthop Traumatol Surg Res. 2016;102:631-3.

Farhad T, Jan V. Unilateral congenital dislocation of the knee and hip : a case report. Acta Orthop Belg. 2012;78:134-8.

Oetgen ME, Walick KS, Tulchin K, Karol LA, Johnston CE. Functional results after surgical treatment for congenital knee dislocation. J Child Orthop. 2010;30:216-23.

Shah NR, Limpaphayom N, Dobbs MB. A minimally invasive treatment protocol or the congenital dislocation of the knee. J Pediatr Ortho. 2009;29:720-5.

Rampal V, Mehrafshan M, Ramanoudjame M, Seringe R, Glorion C, Wicart P. Congenial dislocaion of the knee at birth –part 2 : Impact of a new classification on treatment strategies, results and prognostic factors. Orthop Traumatol Surg Res. 2016;102:635-8.

Tarek Hassan Abdelaziz. Shady Samir. Congenital dislocation of the knee: a protocol for management based on degree of knee flexion. J Child Orthop. 2011;5:143-9.

นภดล นิงสานนท์, เกณิกา หังสพฤกษ์. ตำรามณีเวช Maneevej : New paradigm in healthcare เปลี่ยนกระบวนทัศน์ ปรับกระบวนคิด สร้างสมดุลชีวิต. สงขลา: โรงพยาบาลหาดใหญ่; 2560.

Roy CR, Andrews HA. The Roy adaptation model. 2nd ed. Stamford, Conn: Appleton & Lange; 1998.

Suraseranivongs S, Santawat U, Kraiprasit K, Petcharatana S, Prakkamodom S, Muntraporn N. Crossvalidation of a composite pain scale for preschool children within 24 hours of surgery. Br J Anaesth. 2001;87:400-5.