About the Journal

Focus and Scope (Objectives and scope of publication)
Journal of the Department of Medical Services With the objective of publishing high quality articles Medical articles, Original Article / Research article, Academic article / Review article, Case report / Case series that are related to medicine, public health, health science both in and Outside the institution.

Peer Review Process
Every article must be considered by at least 2 experts who are experts and authors do not know each other's names (double-blind review).

Types of articles
Original Article / Research article
Academic article / Review article
Case report / Case series

Language (language that is published)
Thai language English language

Publication Frequency (set out)
Journals published 4 issues per year
Issue 1 January - March
Issue 2 April - June
Issue 3 July - September
Issue 4 October - December

Reference Vancouver Style

Example : Vichathai W, Prateeptongkum E, Sripanaratanakul somsak, Leevarakarn S, Chayopitak N, Nulek N, Jitkreeyarn P. The Evaluation and Improvement of Dental Platform in Ergonomic Design. j dept med ser [Internet]. 2022 Dec. 28 [cited 2023 Feb. 1];47(4):69-76. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JDMS/article/view/258102

Publisher (Journal owner)
DEPARTMENT OF MEDICAL SERVICES
Journal of the Department of Medical Services Accept to publish articles "Without charge".

จริยธรรมและจรรยาบรรณของวารสารกรมการแพทย์

 

ผู้นิพนธ์

ผู้นิพนธ์มีความซื่อสัตย์ มีคุณธรรม มีจริยธรรมและจรรยาบรรณ ในการดำเนินงานวิจัย การเขียนรายงานผลการวิจัยที่ถูกต้อง ไม่บิดเบือนข้อมูล ไม่มีข้อมูลที่เป็นเท็จ รวมทั้งการอภิปรายอย่างมีวัตถุประสงค์ถึงความสำคัญ มีรายละเอียดเพียงพอและการอ้างอิงเพื่ออนุญาตให้ผู้อื่นทำซ้ำงาน งานวิจัยต้องได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการจริยธรรมสำหรับพิจารณาโครงการวิจัยที่ทำในมนุษย์และในสัตว์ทดลอง หรืออื่นๆที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยนั้น ผู้นิพนธ์บทความควรจำกัดเฉพาะผู้ที่มีส่วนสำคัญต่อการจัดทำต้นฉบับรวมถึงความคิดการออกแบบการศึกษา การสรุปผลการศึกษาและการเขียนต้นฉบับ ผู้ที่มีส่วนร่วมอย่างมีนัยสำคัญควรระบุว่าเป็นผู้นิพนธ์ร่วมโดยมีบทบาทหน้าที่และสัดส่วนของความรับผิดชอบอย่างชัดเจน มีการตรวจสอบให้แน่ใจว่าผู้นิพนธ์ร่วมที่เหมาะสมทั้งหมดถูกรวมอยู่ในบทความ ได้ตรวจสอบและเห็นพ้องกับต้นฉบับฉบับสุดท้ายนอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ต้องปฏิบัติตามแนวทางดังต่อไปนี้

  1. ผู้นิพนธ์เขียนงานต้นฉบับทั้งหมดด้วยตนเอง หากผู้นิพนธ์ใช้ผลงานของผู้อื่นควรอ้างถึงอย่างเหมาะสม และควรได้รับอนุญาตหากมีลิขสิทธิ์ ที่มีการลอกเลียน รวมไปถึงการขโมยความคิดถือเป็นพฤติกรรมที่ผิดจรรยาบรรณ และเป็นที่ยอมรับไม่ได้ ดังนั้นในการส่งบทความผู้นิพนธ์ควรมีการตรวจสอบข้อความที่คล้ายคลึงกัน
  2. ผู้นิพนธ์มีความรับผิดชอบต่อผลงานของตน และรับรองว่าผลงานนั้นไม่เคยถูกตีพิมพ์ในวารสาร หรือรายงานสืบเนื่องจากการประชุมใดๆ ก่อนส่งมาตีพิมพ์
  3. ผู้นิพนธ์ไม่ควรส่งบทความที่กำลังอยู่ในระหว่างขั้นตอนการพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารอื่นมายังวารสารกรมการแพทย์ ขณะเดียวกันไม่ควรเผยแพร่ต้นฉบับที่อธิบายถึงการวิจัยเดียวกันในวารสารมากกว่าหนึ่งฉบับ ผู้นิพนธ์สามารถส่งต้นฉบับไปยังวารสารอื่นๆ หลังจากที่ถูกปฏิเสธจากวารสารกรมการแพทย์แล้ว
  4. ผู้นิพนธ์มีรับผิดชอบต่อความผิดพลาดและข้อโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ รวมถึงการลอกเลียนแบบ ตอบสนองต่อความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้ประเมิน (reviewer) หากผู้นิพนธ์ไม่เห็นด้วยกับความคิดเห็นใดๆ สามารถโต้แย้งได้โดยให้คำอธิบาย การตัดสินใจขั้นสุดท้ายขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของคณะบรรณาธิการ
  5. การเปลี่ยนแปลงผลงาน การอนุมัติการเปลี่ยนแปลงการเป็นผู้นิพนธ์ เช่น เพิ่ม/ลบผู้นิพนธ์ เปลี่ยนลำดับผู้นิพนธ์ เปลี่ยนผู้นิพนธ์ประสานงานควรได้รับความยินยอมจากผู้นิพนธ์ทุกคน
  6. ผู้นิพนธ์ระบุในกิตติกรรมประกาศถึงแหล่งทุนที่สนับสนุนสำหรับการดำเนินการวิจัย และ/หรือการเตรียมบทความควรได้รับการเปิดเผย และระบุผลประโยชน์ทับซ้อน (ถ้ามี) แหล่งทุนและความสัมพันธ์ส่วนตัวกับบุคคลหรือองค์กรอื่นๆ ที่อาจถูกมองว่ามีอิทธิพลอย่างไม่เหมาะสมต่อการทำงานวิจัยนี้
  7. เมื่อผู้นิพนธ์พบข้อผิดพลาดที่สำคัญความไม่ถูกต้องในบทความที่เผยแพร่ของตนเอง ต้องแจ้งให้บรรณาธิการวารสารทราบทันที หากบรรณาธิการทราบจากบุคคลอื่นว่างานที่เผยแพร่มีข้อผิดพลาด ผู้นิพนธ์ร่วมมือกับบรรณาธิการแก้ไข รวมถึงการให้หลักฐานแก่บรรณาธิการเมื่อได้รับการร้องขอ

บรรณาธิการวารสารและคณะ

บรรณาธิการวารสารและคณะ มีหน้าที่ดำเนินงานวารสารกรมการแพทย์ ให้ตรงตามวัตถุประสงค์ ปรับปรุง พัฒนาให้ได้มาตรฐาน พิจารณาคัดเลือกบทความสู่กระบวนการประเมินคุณภาพ เพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ โดยพิจารณาเนื้อหาบทความให้สอดคล้องกับนโยบาย

บรรณาธิการวารสารและคณะ ประกอบด้วย

  • ผู้บริหารกรมการแพทย์
  • บรรณาธิการ
  • ผู้จัดการวารสาร
  • คณะบรรณาธิการ
  • คณะทำงานวารสาร

บรรณาธิการและผู้จัดการวารสาร มีหน้าที่

  • ร่วมกันพิจารณาต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์ หากเนื้อหาต้นฉบับนั้นมีคุณภาพและตรงกับขอบเขตของวารสาร
  • มีหน้าที่รับผิดชอบในการมอบหมายต้นฉบับ ให้ผู้ประเมินทั้งภายในหรือภายนอกสถาบัน ที่มีความเชี่ยวชาญที่เหมาะสมเป็นผู้ประเมิน โดยบรรณาธิการจะตัดสินใจขั้นสุดท้าย ว่าต้นฉบับจะได้รับการรับตีพิมพ์หรือปฏิเสธ ตามคำแนะนำและความคิดเห็นของผู้ประเมิน
  • มีหน้าที่ให้คำแนะนำและแนวทางด้านวิชาการ ตลอดจนกำกับดูแลเรื่องคุณภาพวารสาร การ ดำเนินงานของวารสาร ให้เป็นไปตามนโยบายและวัตถุประสงค์ ให้ถูกต้องตามจริยธรรมและจรรยาบรรณอย่างเหมาะสม เป็นผู้พิจารณาเมื่อเกิดปัญหาทางด้านจริยธรรมและจรรยาบรรณ

คณะทำงาน มีหน้าที่

จัดการดำเนินงานด้านธุรการ ดูแลระบบฐานข้อมูลออนไลน์ บริหารจัดการและประสานงานกับผู้เกี่ยวข้อง เพื่อให้การดำเนินงานของวารสารเป็นไปด้วยความเรียบร้อย

บรรณาธิการวารสารและคณะปฏิบัติตามแนวทางมาตรฐานจริยธรรมและจรรยาบรรณดังต่อไปนี้

  1. บรรณาธิการและผู้จัดการวารสาร ดำเนินการเลือกผู้ประเมินที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวข้อง มีจริยธรรมและจรรยาบรรณที่เหมาะสม มีทัศนคติที่ดีในการประเมินและไม่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ใด กับผู้นิพนธ์ต้นฉบับ โดยบทความได้รับการประเมินโดยผู้ประเมินจากภายนอกสถาบันของผู้นิพนธ์อย่างน้อยสองถึงสามคนที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาการแพทย์หรือที่เกี่ยวข้อง
  2. บรรณาธิการและคณะทำงานไม่เปิดเผยตัวตนของผู้ประเมินต่อผู้นิพนธ์ และผู้นิพนธ์ต่อผู้ประเมินบทความนั้น ปกป้องความลับของเนื้อหาทั้งหมดที่ส่งมายังวารสาร และการสื่อสารทั้งหมดกับผู้ประเมิน ไม่เปิดเผยข้อมูลใดๆจากต้นฉบับ หรือความคิดเห็นจากผู้ประเมินก่อนที่จะเผยแพร่ข้อมูล ไม่ใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัว เว้นแต่จะตกลงเป็นอย่างอื่นกับผู้นิพนธ์และผู้ประเมิน
  3. บรรณาธิการมีความรับผิดชอบ มีอิสระในการตัดสินใจว่าจะรับต้นฉบับใดที่ส่งมายังวารสาร โดยปราศจากอิทธิพลใดๆ และกระบวนการประเมินมีความเป็นธรรม ตรงเวลา
  4. บรรณาธิการประเมินเนื้อหาต้นฉบับ โดยไม่คำนึงถึงภูมิหลังของผู้นิพนธ์ เพศ เชื้อชาติ ความเชื่อศาสนา การเมือง ระดับการศึกษา สถานที่ทำงานหรือต้นสังกัดของผู้นิพนธ์ และอื่นๆที่อาจส่งผลต่อความไม่เท่าเทียมในการรับตีพิมพ์
  5. นโยบายบรรณาธิการของวารสาร ส่งเสริมความโปร่งใส การรายงานที่ซื่อสัตย์ รายงานที่สมบูรณ์ ว่าผู้ประเมินและผู้นิพนธ์มีความเข้าใจที่ชัดเจนเกี่ยวกับสิ่งที่คาดหวัง มีกลไกที่โปร่งใสเมื่อรู้ว่ามีความไม่ถูกต้องเกิดขึ้นกับบทความที่ตีพิมพ์ไปแล้ว รวมถึงมีประโยคที่นำไปสู่ความเข้าใจผิด หรือเป็นรายงานที่บิดเบือนข้อเท็จจริง จะต้องดำเนินการแก้ไขทันทีด้วยความชัดเจน
  6. วารสารมีกระบวนการคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิที่เหมาะสมเป็นกลาง มาเป็นคณะบรรณาธิการ
  7. คณะบรรณาธิการไม่มีส่วนร่วม ในการตัดสินใจเกี่ยวกับต้นฉบับที่เขียนด้วยตนเอง นอกจากนี้การส่งต้นฉบับใดๆ ดังกล่าวจะต้องเป็นไปตามขั้นตอนปกติทั้งหมดของวารสาร บรรณาธิการอาจมอบหมายให้ผู้ใดผู้หนึ่งในคณะบรรณาธิการเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทน การประเมินต้องได้รับการจัดการอย่างเป็นอิสระจากผู้นิพนธ์หรือบรรณาธิการที่เกี่ยวข้อง

ผู้ประเมิน

          บทความทุกบทความ ต้องผ่านกระบวนการประเมินจากผู้ประเมินอย่างน้อย 2-3 ท่าน ซึ่งไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์ ปฏิบัติตามแนวทางมาตรฐานจริยธรรมและจรรยาบรรณดังต่อไปนี้

  1. ผู้ประเมินที่ถูกเลือกและรู้สึกว่าไม่เหมาะสมที่จะประเมินต้นฉบับ หรือไม่สามารถทบทวน และประเมินที่รวดเร็ว ควรแจ้งบรรณาธิการ และปฏิเสธที่จะเข้าร่วมในกระบวนการประเมิน
  2. ต้นฉบับใดๆ ที่ได้รับการประเมินจะต้องถือเป็นความลับ ผู้ประเมินจะต้องไม่แสดงความเห็นหรือข้อมูลเกี่ยวกับต้นฉบับกับใคร หรือติดต่อผู้นิพนธ์โดยตรง โดยไม่ได้รับอนุญาตจากบรรณาธิการ
  3. เนื้อหาในต้นฉบับที่ส่งมาประเมินและยังไม่ได้เผยแพร่ จะต้องไม่ถูกนำไปใช้ในการวิจัยของผู้ประเมิน โดยไม่ได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้นิพนธ์ ข้อมูลหรือแนวคิดที่ได้รับการประเมินจะต้องเป็นความลับและไม่ใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัว
  4. ประเด็นทางจริยธรรมที่อาจเกิดขึ้นในต้นฉบับที่อยู่ระหว่างการพิจารณา ผู้ประเมินควรให้ความสนใจนำสิ่งที่พบเหล่านี้รายงานต่อบรรณาธิการ รวมถึงความคล้ายคลึงกันที่สำคัญหรือทับซ้อนกันระหว่างต้นฉบับที่อยู่ระหว่างการพิจารณาและบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารอื่นๆ คำชี้แจงใดๆ ที่ได้รับการรายงานก่อนหน้านี้ควรมาพร้อมกับหลักฐานการอ้างอิงที่เกี่ยวข้อง ผู้ประเมินควรชี้ให้เห็นงานเผยแพร่ที่เกี่ยวข้องซึ่งยังไม่ได้อ้างถึง
  5. ผู้ประเมินต้องไม่มีอคติส่วนตัวใดๆ เมื่อพิจารณาต้นฉบับ ให้คำแนะนำในเชิงบวก แนะนำในสิ่งที่ปรับปรุงแก้ไขได้ บทความที่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้น ผู้ประเมินควรปรึกษาบรรณาธิการก่อนตกลงเพื่อประเมิน
  6. หากผู้ประเมินแนะนำว่าผู้นิพนธ์รวมการอ้างอิงถึงผลงานของผู้ประเมินเอง สิ่งนี้จะต้องมีเหตุผลทางวิทยาศาสตร์อย่างแท้จริงและไม่ใช่ด้วยความตั้งใจที่จะเพิ่มจำนวนการอ้างอิงของผู้ประเมินหรือเพิ่มการมองเห็นการทำงานของผู้ประเมิน