Robotic - assisted stereoelectroencephalography (SEEG) placement surgery
Abstract
การผ่าตัดโรคลมชักในประเทศไทยปัจจุบันเป็นที่ยอมรับว่าเป็นมาตรฐานในการรักษาโรคลมชักในผู้ป่วยที่ดื้อต่อยากันชัก การผ่าตัดโรคลมชักมีขั้นหลายขั้นตอนในการประเมินผู้ป่วยก่อนผ่าตัด เช่น การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง 24 ชั่วโมง (24 - hour video - EEG), การตรวจภาพสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (magnetic resonance imaging หรือ MRI) การตรวจจิตวิทยาเมื่อได้ข้อมูลจากการตรวจประเมินเบื้องต้น ผู้ป่วยที่ข้อมูลจากการประเมินสอดคล้องกันก็จะสามารถผ่าตัดเพื่อรักษาโรคลมชักได้ แต่มีผู้ป่วยบางรายที่ข้อมูลในการประเมินเบื้องต้นไม่สามารถผ่าตัดได้ จำเป็นต้องผ่าตัดโดยการใส่ขั้วไฟฟ้าในกะโหลกศีรษะเพื่อหาจุดกำเนิดชัก และ/หรือเพื่อหาตำแหน่งของสมองที่มีหน้าที่สำคัญ (invasive EEG) การผ่าตัดโดยการใส่ขั้วไฟฟ้าในกะโหลกศีรษะในอดีต นิยมผ่าตัดโดยใส่ขั้วไฟฟ้าบนผิวสมอง (subdural electrodes) แต่จำเป็นต้องเปิดกะโหลกศีรษะขนาดใหญ่ มีภาวะแทรกซ้อน เช่น สมองบวม ติดเชื้อ ซึ่งจำเป็นต้องผ่าตัดเพื่อเอาขั้วไฟฟ้าออกและผ่าตัดจุดชักใน admission เดียวกัน นอกจากนี้คลื่นสมองที่ตรวจจับได้เฉพาะผิวสมอง ไม่สามารถตรวจจับคลื่นสมองจากส่วนลึกของสมองได้
References
Vakharia VN, Sparks R, O’Keeffe AG, Rodionov R, Miserocchi A, McEvoy A, et al. Accuracy of intracranialelectrode placement for stereoelectroencephalography: a systemic review and meta - analysis.Epilepsia 2017;58(6):921-32.
González - Martínez J, Bulacio J, Thompson S, Gale J, Smithason S, Najm I, et al. Technique,results, and complications related to robot - assisted stereoelectroencephalography. Neurosurgery2015;78(2):169-80.
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
Copyright (c) 2024 Department of Medical Services, Ministry of Public Health
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
ข้อความและข้อคิดเห็นต่างๆ เป็นของผู้เขียนบทความ ไม่ใช่ความเห็นของกองบรรณาธิการหรือของวารสารกรมการแพทย์