การส่งเสริมการมีบุตรเพื่อเด็กเกิดคุณภาพ

Authors

  • พิมลพรรณ ต่างวิวัฒน์ สำนักที่ปรึกษา กรมการแพทย์

Abstract

ประเทศไทยกำลังเผชิญกับปัญหาเด็กเกิดใหม่มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง จากเดิมเคยมีเด็กเกิดไม่ต่ำกว่าปีละ 1 ล้านคน ในช่วงปี พ.ศ. 2506 - 2526 ลดลงเหลือ 517,934 คน ในปี 25661  และอัตราการเจริญพันธุ์รวม (total fertility rate; TFR) ของประเทศลดลงจาก 6.29 ในปี พ.ศ. 2508 ลดลงมาอยู่ที่ 1.1 ในปี พ.ศ. 25652 การลดลงของเด็กเกิดใหม่ส่งผลต่อการลดลงของประชากรวัยแรงงาน ประกอบกับจำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้น มีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศในอนาคต สาเหตุที่ทำให้เด็กเกิดน้อยมาจากหลายปัจจัย ได้แก่ 1) นโยบายประชากรที่ลดอัตราการเพิ่มประชากรมาอย่างต่อเนื่อง 2) การขยายตัวของเมือง ทำให้เกิดการย้ายถิ่นฐานเข้ามาสู่สังคมเมือง อัตราค่าครองชีพสูงขึ้น ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูบุตรสูงขึ้น ระบบการดูแลสุขภาพดีขึ้น ทำให้อัตราการเสียชีวิตลดลง 3) การมีส่วนร่วมในตลาดแรงงาน ผู้หญิงเข้าสู่ตลาดแรงงานเพิ่มขึ้น มีการศึกษาสูงขึ้น นิยมอยู่เป็นโสดมากขึ้น 4) การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม ทำให้พ่อแม่ให้ความสำคัญกับคุณภาพของบุตรแต่ละคนมากกว่าจำนวนบุตร ความเหลื่อมล้ำทางเพศในครอบครัว ทำให้คนแต่งงานช้าลง ชะลอการมีบุตร การมีบุตรส่งผลต่อหน้าที่การงาน และส่วนหนึ่งเกิดจากภาวะมีบุตรยาก การแก้ปัญหาเด็กเกิดน้อยต้องดำเนินการในหลายมิติ ได้แก่ สังคม เศรษฐกิจ การศึกษา สุขภาพ และสิ่งแวดล้อม หลายภาคส่วนจึงได้ร่วมกันผลักดันประเด็นส่งเสริมการมีบุตรให้เป็นวาระแห่งชาติซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างดำเนินการ โดยมีมาตรการสำคัญได้แก่ 1) การปรับสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการมีบุตร 2) เสริมสร้างความรู้และปรับเปลี่ยนทัศนคติ และ 3) ผู้ตัดสินใจมีบุตรได้รับการดูแลอย่างครบวงจรและมีคุณภาพ

References

สำนักบริการการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย [อินเทอร์เน็ต].[เข้าถึงเมื่อ 4 ก.ค. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statyear/#/TableTemplate/Area/statbirth

ระบบฐานข้อมูลการเจริญพันธุ์ประเทศไทย.สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์.[อินเทอร์เน็ต].[เข้าถึงเมื่อ 4 ก.ค. 2567].เข้าถึงได้จาก: https://rhdata.anamai.moph.go.th/index.php/population/population10

UNFPA. Demographic Resilience Programme for Europe & Central Asia.2023 [Internet]. [Cited 2024 Jun 24] Available from: https://eeca.unfpa.org/sites/default/fles/pub-pdf/104_demographic_resilience_brochure_r6.pdf

ระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข.[อินเทอร์เน็ต].[เข้าถึงเมื่อ 4 ก.ค. 2567].เข้าถึงได้จาก: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/main/index.php

สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข แนวทางเวชปฏิบัติภาวะมีบุตรยาก (ฉบับ พ.ศ. 2566).กรุงเทพฯ: พี.เอ. ลีฟวิ่ง; 2566.

สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข นโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์แห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2560-2569) ว่าด้วยการส่งเสริมการเกิดและการเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพ. นนทบุรี: กรมอนามัย; 2559.

Chiware TM, Vermeulen N, Blondeel K, Farquharson R, Kiarie J, Lundin K, et al. IVF and other ART in low- and middle-income countries: a systematic landscape analysis. Hum Reprod Update 2021;27(2):213-28.

Downloads

Published

15-09-2024

How to Cite

1.
ต่างวิวัฒน์ พ. การส่งเสริมการมีบุตรเพื่อเด็กเกิดคุณภาพ. J DMS [Internet]. 2024 Sep. 15 [cited 2024 Oct. 31];49(3):5-9. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JDMS/article/view/270629

Issue

Section

Featured Article