เกี่ยวกับวารสาร

วัตถุประสงค์ของวารสาร

เป็นวารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพด้านการคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อใช้เป็นสื่อกลางและเป็นเวทีทางวิชาการ ในการเผยแพร่ผลงานวิจัย บทความวิชาการ ถอดบทเรียนการทำงานด้านอาหาร ยา เครื่องสำอาง เครื่องมือแพทย์ วัตถุอันตราย  วัตถุเสพติด สถานพยาบาล สถานบริการด้านสุขภาพ และด้านการแพทย์ของนักวิชาการ ภาครัฐ องค์กรเอกชน และประชาชน

ขอบเขตของวารสาร

 

สาระพอสังเขป

เป็นวารสารด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ โดยมีบทความวิจัยและบทความวิชาการ บทเรียนการทำงาน เกร็ดกฎหมาย เรื่องเล่าชาวฟาร์ ที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ และด้านการแพทย์ กำหนดตีพิมพ์วารสารปีละ 2 ฉบับ ได้แก่ ฉบับ เดือนมกราคม – มิถุนายน ฉบับ เดือนกรกฎาคม – ธันวาคม

 

จริยธรรมการตีพิมพ์

จริยธรรมในการตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสารวิชาการ (Publication Ethics)

          จริยธรรมในการตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสารวิชาการ (Publication Ethics) วารสารการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ เป็นสื่อกลางในการเผยแพร่งานวิจัยหรือบทความวิชาการระหว่างนักวิจัยหรือผู้นิพนธ์กับสังคมภายนอก ดังนั้นเพื่อให้การสื่อสารทางวิชาการเป็นไปอย่างถูกต้อง มีคุณภาพ โปร่งใสและสอดคล้องกับมาตรฐานการตีพิมพ์ระดับนานาชาติ จึงได้กำหนดแนวทาง วิธีปฏิบัติที่ดี และจริยธรรมของการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยหรือผลงานวิชากาตามแนวทางของหน่วยงาน Committee on Publication Ethics (COPE) ไว้ดังนี้

บทบาทหน้าที่ของผู้นิพนธ์ (Duties of Authors) (ขั้นตอนสำหรับผู้แต่ง)

  1. ผู้นิพนธ์เมื่อส่งบทความไปยังบรรณาธิการ บทความนี้ต้องไม่เคยเผยแพร่มาก่อนและไม่ได้รับการพิจารณาให้ตีพิมพ์ที่อื่นมาก่อน
  2. ผู้นิพนธ์ควรแจ้งเตือนบรรณาธิการโดยทันทีหากพบข้อผิดพลาดที่สำคัญหรือข้อมูลที่ไม่ถูกต้องในบทความที่เผยแพร่เพื่อถอนการตีพิมพ์หรือแก้ไขข้อผิดพลาดในสิ่งพิมพ์นี้ หากบรรณาธิการรู้จากบุคคลที่สามว่ามีข้อผิดพลาดที่สำคัญในงานที่ตีพิมพ์และแจ้งให้ผู้นิพนธ์ทราบถึงข้อผิดพลาดดังกล่าว ข้อผิดพลาดจะต้องได้รับการแก้ไขโดยทันทีและผู้นิพนธ์มีหน้าที่ต้องแสดงหลักฐานความถูกต้องของข้อมูลให้กองบรรณาธิการทราบ
  3. ผู้นิพนธ์ต้องรับผิดชอบต่อเนื้อหาของสิ่งพิมพ์ของตน หากผู้นิพนธ์ใช้เนื้อหาที่นำมาจากนักวิจัยคนอื่นโดยตรง ต้องมีการอ้างอิงหรือยกมาอย่างเหมาะสม
  4. ผู้นิพนธ์ต้องเขียนบทความวิจัยให้ถูกต้องตามรูปแบบที่กำหนดไว้ใน “คำแนะนำในการส่งต้นฉบับ”
  5. ผู้นิพนธ์ที่มีชื่อปรากฏในบทความทุกคน ต้องเป็นผู้ที่มีส่วนในการดำเนินการวิจัยจริง
  6. ผู้นิพนธ์จะต้องรับผิดชอบในการเปิดเผยแหล่งที่มาของการสนับสนุนทุนทั้งหมด สำหรับโครงการวิจัย โดยอธิบายไว้ในต้นฉบับที่ส่งมา รวมทั้งระบุผู้นิพนธ์ร่วมทั้งหมดที่อำนวยความสะดวกในการวิจัย
  7. ผู้นิพนธ์ต้องระบุผลประโยชน์ทับซ้อน (หากมี)
  8. ผู้นิพนธ์ต้องรับผิดชอบต่อเนื้อหาของสิ่งพิมพ์ของตน หากผู้นิพนธ์ใช้เนื้อหาที่นำมาจากนักวิจัยคนอื่นโดยตรง ต้องมีการอ้างอิงหรือยกมาอย่างเหมาะสม

 

บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของบรรณาธิการ (Duties of Editors)

  1. บรรณาธิการวารสารมีหน้าที่พิจารณาคุณภาพของบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารโดยคัดกรองตรวจสอบ บทความที่ส่งมาเพื่อตีพิมพ์ด้วยหลักการทางวิชาการ
  2. บรรณาธิการต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้เขียนและผู้ประเมินบทความในระหว่างการประเมินบทความ

บรรณาธิการควรดำเนินการทุกอย่างเพื่อให้มั่นใจในคุณภาพของบทความที่ตีพิมพ์เพื่อรับรองคุณภาพของงานวิจัยที่ตีพิมพ์ และตระหนักว่าวารสาร และแต่ละส่วนของวารสาร มีวัตถุประสงค์ และมาตรฐานที่ต่างกัน

การตัดสินใจของบรรณาธิการต่อการยอมรับหรือปฏิเสธบทความวิจัยเพื่อการตีพิมพ์ ควรขึ้นอยู่กับความถูกต้องตามหลักวิชาการ ความสำคัญ ความใหม่ และความชัดเจนของบทความวิจัย ตลอดจนความเกี่ยวข้องกับขอบเขตของวารสาร

  1. บรรณาธิการควรมีการชี้แจงหรือให้ข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการตรวจสอบประเมินบทความ(peer review) นอกจากนี้ควรมีความพร้อมในการชี้แจงความเบี่ยงเบนต่าง ๆ จากกระบวนการตรวจสอบที่ได้ระบุไว้
  2. บรรณาธิการควรจัดพิมพ์คำแนะนำแก่ผู้นิพนธ์ในทุกประเด็นที่บรรณาธิการคาดหวัง ในทุกเรื่องที่ผู้นิพนธ์ควรรับทราบ และควรมีการปรับปรุงคำแนะนำให้ทันสมัยอยู่เสมอ พร้อมทั้งควรมีการอ้างอิงหรือการเชื่อมโยงกับระเบียบดังกล่าวนี้ด้วย
  3. บรรณาธิการไม่ควรเปลี่ยนแปลงการตัดสินใจในการตอบรับบทความที่ถูกปฏิเสธการติพิมพ์ไปแล้ว ยกเว้นมีปัญหาร้ายแรงเกิดขึ้นในระหว่างการส่งบทความมารับการพิจารณา
  4. บรรณาธิการใหม่ไม่กลับคำตัดสินใจมาตีพิมพ์บทความที่บรรณาธิการคนก่อนตอบปฏิเสธไปแล้ว ยกเว้นมีการพิสูจน์ถึงปัญหาร้ายแรงที่เกิดขึ้น
  5. บรรณาธิการพิจารณาผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาของบทความและส่งบทความให้ผู้พิจารณาบทความโดยผู้พิจารณาบทความจะไม่ทราบชื่อผู้แต่งและผู้นิพนธ์จะไม่ทราบชื่อผู้พิจารณาบทความ (Double blind)
  6. บรรณาธิการต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์ผู้ประเมิน และทีมผู้บริหาร
  7. บรรณาธิการต้องมีการตรวจบทความในด้านการคัดลอกงานผู้อื่น (Plagiarism) หากพบต้องหยุดกระบวนการประเมินและติดต่อผู้นิพนธ์ทันทีเพื่อขอคำชี้แจง เพื่อประกอบการ “ตอบรับ” หรือ “ปฏิเสธ” การตีพิมพ์บทความนั้น

 

บทบาทหน้าที่ของผู้ประเมินบทความ (Duties of Reviewers)  (ขั้นตอนสำหรับผู้ประเมินบทความ)

  1. ผู้ประเมินบทความต้องไม่เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับต้นฉบับที่ส่งมาเพื่อการประเมินแก่บุคคลอื่นนอกเหนือจากผู้นิพนธ์และผู้ประเมิน
  2. ผู้ประเมินบทความควรแจ้งและปฏิเสธการประเมินกับบรรณาธิการหากมีผลประโยชน์ทับซ้อนกับบทความที่ส่งมาให้พิจารณา
  3. ผู้ประเมินบทความควรประเมินบทความในสาขาที่ตนเชี่ยวชาญโดยพิจารณาความสำคัญของเนื้อหา คุณภาพการวิเคราะห์และความเข้มข้นของผลงาน ไม่ควรใช้ความเห็นส่วนตัวที่ไม่มีข้อมูลรองรับมาเป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจ
  4. ผู้ประเมินบทความต้องระบุผลงานวิจัยที่สำคัญและสอดคล้องกับบทความที่กำลังประเมินแต่ผู้นิพนธ์ไม่ได้อ้างถึงด้วยหากมีความซ้ำซ้อนกับผลงานชิ้นอื่นต้องแจ้งให้บรรณาธิการทราบด้วย
  5. ผู้ประเมินควรตรวจสอบและส่งบทวิจารณ์ภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการบรรณาธิการเห็นชอบ หากไม่สามารถตรวจสอบต้นฉบับได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด ผู้ประเมินจะต้องแจ้งให้กองบรรณาธิการทราบทันที

จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์และสัตว์  

งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการทำวิจัยในมนุษย์และสัตว์ต้องระบุหลักฐานแสดงการรับรองการทำวิจัยในมนุษย์และสัตว์จากหน่วยงานที่ได้รับการรับรอง

ความขัดแย้งทางผลประโยชน์

          ผู้สนใจทุกคนควรหลีกเลี่ยงผลประโยชน์ทับซ้อนในทุกขั้นตอนของกระบวนการจัดเตรียมสิ่งพิมพ์ หากมีผลประโยชน์ทับซ้อนในรูปแบบใด ๆ บุคคลที่เป็นคนแรกที่ระบุความขัดแย้งดังกล่าวมีหน้าที่ต้องแจ้งให้กองบรรณาธิการทราบทันที

 

เกี่ยวกับ

เกี่ยวกับวารสาร

วารสารการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ บทความวิจัย ( Original Article) บทความวิชาการ (Academic Article) บทเรียนการทำงาน (Lesson Learned) เกร็ดกฎหมาย (Law anecdote) เรื่องเล่าชาวฟาร์ (Narrative pharmacy) ตลอดจนองค์ความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ การทำงานด้านอาหาร ยา เครื่องสำอาง เครื่องมือแพทย์ วัตถุอันตราย  วัตถุเสพติด สถานพยาบาล สถานบริการด้านสุขภาพ ของนักวิชาการ ภาครัฐ องค์กรเอกชน และประชาชน รับตีพิมพ์บทความคุณภาพในด้านการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพโดยทุกบทความได้รับการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จากภายในและภายนอกชมรมเภสัชสาธารณสุขจังหวัดแห่งประเทศไทย วารสารการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ มีกำหนดตีพิมพ์ปีละ 2 ฉบับ

 

Focus and Scope (วัตถุประสงค์และขอบเขตการตีพิมพ์)

เพื่อใช้เป็นสื่อกลางและเป็นเวทีทางวิชาการ ในการเผยแพร่ผลงานวิจัย บทความวิชาการ ถอดบทเรียนการทำงานด้านอาหาร ยา เครื่องสำอาง เครื่องมือแพทย์ วัตถุอันตราย  วัตถุเสพติด สถานพยาบาล สถานบริการด้านสุขภาพ ของนักวิชาการ ภาครัฐ องค์กรเอกชน และประชาชน รับตีพิมพ์บทความคุณภาพในด้านการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ

 

Peer Review Process (กระบวนการพิจารณาบทความ)

ขั้นตอนที่ 1 เมื่อผู้นิพนธ์ส่งนิพนธ์ต้นฉบับ (Original article) ในระบบ บทความทุกบทความจะได้รับการประเมินเบื้องต้นโดยพิจารณาจากขอบเขตวัตถุประสงค์และคำแนะนำสำหรับผู้นิพนธ์โดยกองบรรณาธิการ  

ขั้นตอนที่ 2 บทความที่ผ่านการประเมินเบื้องต้นจะนำเข้าสู่กระบวนการพิจารณาบทความโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องที่ผู้วิจัยส่งตีพิมพ์  จากภายในและภายนอกหน่วยงานที่จัดทำวารสารระดับกองขึ้นไป และไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้นิพนธ์ จำนวน 2 ท่านต่อหนึ่งบทความ  (Double-blind review) จากนั้นมีการสรุปผลการประเมิน หากเกิดข้อขัดแย้งจะใช้ฉันทามติหรือปรึกษาบรรณาธิการเพื่อตัดสินต่อไป โดยใช้แบบประเมินมาตรฐานของวารสาร

ขั้นตอนที่ 3 วารสารแจ้งผลการประเมินทางอีเมลผ่านระบบจัดการวารสารแบบออนไลน์ โดยผลการประเมินอาจเป็นไปได้  คือ

1) ยอมรับตีพิมพ์โดยไม่ต้องแก้ไข (Accept)

2)แก้ไขเล็กน้อยก่อนตีพิมพ์ (Minor revision)

3)ปรับปรุงบทความใหม่ก่อนตีพิมพ์ (Major revision)

4) ปฏิเสธการตีพิมพ์ (Rejection) 

หากมีการแก้ไขบทความ หลักจากผู้นิพนธ์มีการแก้ไขบทความและอัพโหลดไฟล์เข้าสู่ระบบ กองบรรณาธิการจะตรวจสอบบทความที่แก้ไขแล้วเทียบกับผลการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ

ขั้นตอนที่ 4 วารสารแจ้งผลการพิจารณาหลังจากการแก้ไขบทความแก่ผู้นิพนธ์ 

 

 

Types of articles (ประเภทของบทความ) 

บทความวิจัย ( Original Article)            บทความวิชาการ (Academic Article)

บทเรียนการทำงาน (Lesson Learned)    เกร็ดกฎหมาย (Law anecdote) เรื่องเล่าชาวฟาร์ (Narrative pharmacy)

 

Language (ภาษาที่รับตีพิมพ์)

  • ภาษาไทย
  • ภาษาอังกฤษ

 

Publication Frequency (กำหนดออก)

วารสารตีพิมพ์ 2 ฉบับต่อปี

  • ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน
  • ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม

 

Publisher (เจ้าของวารสาร)

ชมรมเภสัชสาธารณสุขจังหวัดแห่งประเทศไทย

Provincial Public Health Pharmacy Club

 

ส่งบทความ

รายการตรวจสอบก่อนส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด

  • บทความนี้ยังไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ในระหว่างการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น (หรือหากมีกรุณาอธิบายในข้อความส่งถึงบรรณาธิการ).
  • บทความเตรียมในรูปแบบของไฟล์ OpenOffice, Microsoft Word หรือ RTF
  • มีการให้ URLs สำหรับเอกสารที่อ้างอิงจากอินเทอร์เน็ต
  • บทความพิมพ์แบบใช้ระยะห่างบรรทัดปกติ (single-spaced) ขนาดฟ้อนท์ตัวอักษร 16 pt(ในภาษาไทย) และ 12 pt (ในภาษาอังกฤษ) ใช้ตัวเอนแทนการขีดเส้นใต้สำหรับสังกัดผู้นิพนธ์ (ยกเว้น ที่อยู่ URL) และ ระบุข้อมูล รูปวาด รูปภาพ และตาราง ในตำแหน่งที่เหมาะสมในบทความ ให้เป็นตามข้อกำหนดของวารสาร
  • บทความเตรียมตามข้อกำหนดของวารสารฯ ทั้งในแง่ของรูปแบบและการอ้างอิง ตามคำแนะนำสำหรับผู้แต่ง (Author Guidelines)

คำแนะนำผู้แต่ง

อ่านคำแนะนำการใช้ระบบวารสารออนไลน์ สำหรับ ผู้แต่ง

ข้อแนะนำในการเตรียมต้นฉบับ 

  1. คำแนะนำสำหรับผู้เขียน (Instructions for the Authors)

วารสารชมรมเภสัชสาธารณสุขจังหวัดแห่งประเทศไทย จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ บทความวิจัย ( Original Article) บทความวิชาการ (Academic Article) บทเรียนการทำงาน (Lesson Learned) เกร็ดกฎหมาย (Law anecdote)เรื่องเล่าชาวฟาร์ (Narrative pharmacy) ตลอดจนองค์ความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ การทำงานด้านอาหาร ยา เครื่องสำอาง เครื่องมือแพทย์ วัตถุอันตราย  วัตถุเสพติด สถานพยาบาล สถานบริการด้านสุขภาพ การพัฒนาศักยภาพบุคลากรและเครือข่ายด้านสุขภาพ บทความวิชาการทางด้านการแพทย์ โดยทุกบทความได้รับการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จากภายในและภายนอกชมรมเภสัชสาธารณสุขจังหวัดแห่งประเทศไทย วารสารชมรมเภสัชสาธารณสุขจังหวัดแห่งประเทศไทย มีกำหนดตีพิมพ์ปีละ 2  ฉบับ เพื่อเผยแพร่ผลงานการวิจัย แลกเปลี่ยนแนวคิดองค์ความรู้ด้านการวิจัยของบุคลากรผู้ปฏิบัติงานด้านสาธารณสุขออกสู่สาธารณะ 

  1. ข้อกำหนดในการเตรียมต้นฉบับบทความวิจัย

              2.1 ต้นฉบับหน้าเดียวบนกระดาษขนาด เอ 4 ความยาวไม่เกิน 15 หน้ากระดาษ (รวมเนื้อหาทุกส่วน)     

              2.2 กรอบของข้อความ ขอบบน 1.5 นิ้ว ขอบล่าง 1.5 นิ้ว ขอบซ้าย 1 นิ้ว. ขอบขวา 1 นิ้ว

              2.3 ตัวหนังสือใช้ TH Sarabun ขนาด 16 point             

  1. การเรียงลำดับเนื้อหา

              3.1 ชื่อเรื่อง (Title)

 - ภาษาไทย                         ขนาด 18 point ตัวหนา จัดกึ่งกลาง

 - ภาษาอังกฤษ                    ขนาด 18 point ตัวหนา จัดกึ่งกลาง

              3.2 ชื่อผู้เขียน (Authors)

- ชื่อผู้เขียน (ทุกคน) ภาษาไทย –ภาษาอังกฤษ ขนาด 14 pointตัวหนา จัดชิดขวา ใต้ชื่อเรื่อง

- ตำแหน่ง สถานที่ปฏิบัติงาน ผู้เขียน ภาษาไทย –ภาษาอังกฤษ ขนาด 14 point ตัวหนา จัดชิดซ้าย ท้ายบทคัดย่อ

- E-mail address ของผู้นิพนธ์ประสานงาน (Corresponding author) ท้ายบทคัดย่อ ต่อจากตำแหน่ง สถานที่ปฏิบัติงาน

              3.3 บทคัดย่อ (Abstract)

 - ชื่อบทคัดย่อ และ abstract ขนาด 18 point ตัวหนา จัดกึ่งกลาง

 - ข้อความบทคัดย่อภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ขนาด 16 point ตัวธรรมดา กำหนดชิดขอบ ความยาวภาษาไทยไม่เกิน 300 คำ

               3.4 คำสำคัญ (Keyword)

- ให้พิมพ์ต่อท้ายบทคัดย่อ (Abstract) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ไม่เกิน 5 คำ ขนาด 16 point โดยจะต้องไม่เป็นชื่อเดียวกันกับชื่อเรื่อง

               3.5 บทนำ (Introduction)

- บรรยายความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาที่ทำการวิจัย ศึกษา ค้นคว้า งานวิจัยของผู้อื่นที่เกี่ยวข้องวัตถุประสงค์ของการวิจัย สมมติฐาน และขอบเขตของการวิจัย

             3.6 วัตถุประสงค์การวิจัย  (Objective)

             3.7 วิธีดำเนินการวิจัย (Methodology)

- ประกอบไปด้วย  ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง, เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย, การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ, วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล, การวิเคราะห์ข้อมูล, สถิติที่ใช้ในการวิจัย, การพิทักษ์สิทธิกลุ่มตัวอย่าง      

            3.8 ผลการศึกษา (Result)

- อธิบายสิ่งที่ได้พบจากการวิจัยโดยเสนอหลักฐานและข้อมูลอย่างเป็นระเบียบพร้อมทั้งแปลความหมายของผลที่ค้นพบหรือวิเคราะห์แล้วสรุปตามวัตถุประสงค์และสมมติฐานที่ตั้งไว้

              3.9 สรุปและอภิปรายผลการวิจัย (Conclusion and Discussion )

- สรุปผลการวิจัยและข้อเสนอแนะในการนำผลงานการวิจัยไปใช้ประโยชน์หรือให้ข้อเสนอแนะประเด็นปัญหาที่สามารถปฏิบัติได้สำหรับการวิจัยต่อไป

- การเขียนอภิปรายผล ในประเด็นหลักที่ตอบวัตถุประสงค์การวิจัย พร้อมแสดงเหตุผลสนับสนุนผลการวิจัย

             3.10 ข้อเสนอแนะ              

              3.11 กิตติกรรมประกาศ (Acknowledgement)

              3.12 เอกสารอ้างอิง (Reference) 

- ใช้การอ้างอิงแบบตัวเลขตามระบบ Vancouver

- การอ้างอิงในเนื้อเรื่อง (In-Text citation) ใช้ตัวเลขอารบิก แทนลำดับเอกสารที่อ้างอิง โดยใส่ตัวเลขเหนือบรรทัด (Superscript) ไว้ท้ายข้อความที่ต้องการอ้างอิง โดยไม่มีวงเล็บ หากต้องการอ้างอิงเอกสารที่เคยอ้างแล้วซ้ำอีกครั้ง  ให้ใส่หมายเลขเดิมที่เคยอ้างไว้ครั้งแรก

- การอ้างอิงในเอกสารท้ายบทความ (Reference citation) เรียงตัวเลขตามลำดับที่อ้างอิง ตั้งแต่เลข 1 เป็นต้นไป จนครบทุกลำดับที่มีการอ้างอิงในเนื้อหา

- เอกสารที่อ้างอิงในเนื้อหาต้องตรงกับเอกสารอ้างอิงในเอกสารท้ายบทความ

ตัวอย่างการเขียนส่วนเอกสารอ้างอิง 

  1. บทความจากวารสารมาตรฐาน (Standard journal article)

               1.1 กรณีผู้แต่งไม่เกิน 6 คน ให้ใส่ชื่อทุกคน คั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาค (comma- ,)

- Wang R-H, Hsu H-Y, Lin S-Y, Cheng C-P, Lee S-L. Risk behaviours among early adolescents: risk and protective factors. Journal of Advanced Nursing. 2010; 66(2): 313-323.

                1.2 กรณีผู้แต่งเกิน 6 คน ให้ใส่ชื่อผู้แต่ง 6 คนแรก คั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาค (comma- ,) และตามด้วย et al.

       - Lister-Sharp D, Chapman S, Stewart-Brown S, et al. Health promoting schools and health promotion in schools: two systematic reviews. 1999. In: Database of Abstracts of Reviews of Effects (DARE): Quality-assessed Reviews [Internet]. York (UK): Centre for Reviews and Dissemination (UK); 1995-. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK67984

  1. บทความที่ผู้แต่งเป็นหน่วยงานหรือสถาบัน (Organization as author)

- World Health Organization Cancer. An overview on CALR and CSF3R mutations and a proposal for revision of WHO diagnostic criteria. Ann Oncol. 2013;24:13-17.

  1. หนังสือที่ผู้แต่งเป็นบุคคล

       - Atienzo EE, Campero L, Estrada F, Rouse C and Walker D. Interventions involving parents in order to impact adolescent sexual behavior. Salud publica de Mexico. 2011; 53(2): 160-171.    

  1. หนังสือที่ผู้แต่งเป็นหน่วยงานหรือสถาบัน (Organization)

       - World Health Organization Regional Office for the Western Pacific. Adolescent health and development: a WHO regional framework 2001-2004. Philippines: Manila; 2004.

  1. เอกสารอ้างอิงที่เป็นหนังสือประกอบการประชุม/รายงานการประชุม (Conference proceeding)

- JSPS-NRCT Core University Exchange System on Pharmaceutical Sciences, National Research Council of Thailand. Advance in research on pharmacologically active substances from natural sources; 1992 Dec 3-5, Holiday Garden Hotel, Chiang Mai. Chiang Mai: The University; 1992.

  1. เอกสารอ้างอิงที่เป็นวิทยานิพนธ์ (Thesis/Dissertation)

       - Cha E-S. Predictors of sexual behavior among Korean college students: Testing the theory of planned behavior [Thesis of Ph.D.]. United States - Pennsylvania: University of Pittsburgh; 2005.

  1. บทความวารสารบนอินเทอร์เน็ต (Journal article on the Internet)

       - Centers of Disease Control and Prevention. Sexual Risk Behavior: HIV, STD,

& Teen Pregnancy Prevention. Adolescent and School Health. [Online]. 2012 [cited 10 June 2013]; Available from: http://www.cdc.gov/healthyyouth/sexualbehaviors/index.htm.

              3.11 ข้อพิจารณาทางด้านจริยธรรม ผู้วิจัยต้องคำนึงหลักจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ เคารพในบุคคล (Respect to person) เช่น การขอคำยินยอม ความเป็นส่วนตัว การเก็บรักษาความลับ

              3.12 การส่งต้นฉบับเพื่อตีพิมพ์

              - ให้ผู้เขียน ส่ง file ต้นฉบับบทความวิชาการหรือบทความวิจัยเป็นอิเลคทรอนิคส์ไฟล์   (.doc)  ไปที่ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JOHCP  เพื่อทำการลงทะเบียนสมาชิกวารสาร และดำเนินการส่งบทความเข้าฐานข้อมูลระบบออนไลน์ของ JOHCP (Journal of Health Consumer Protection : JOHCP) ซึ่งสามารถดาวน์โหลดได้ที่ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JOHCP

 

นิพนธ์ต้นฉบับ

Policy

ประกาศเกี่ยวกับลิขสิทธิ์

บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของชมรมเภสัชสาธารณสุขแห่งประเทศไทย

ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับชมรมเภสัชสาธารณสุขจังหวัดแห่งประเทศไทย และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว

นโยบายความเป็นส่วนตัว

ชื่อและที่อยู่อีเมลที่ป้อนในเว็บไซต์วารสารนี้จะใช้สำหรับวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ในวารสารนี้เท่านั้นและจะไม่เผยแพร่เพื่อวัตถุประสงค์ในกิจกรรมอื่นๆ

ค่าธรรมเนียมการเผยแพร่

บทความวิจัย

ผู้แต่งที่เป็นสมาชิกชมรมเภสัชสาธารณสุขจังหวัดแห่งประเทศไทย 3,000 บาท

ผู้แต่งที่ไม่เป็นสมาชิกชมรมเภสัชสาธารณสุขจังหวัดแห่งประเทศไทย 3,500 บาท

เก็บค่าธรรมเนียมเมื่อผ่านการคัดกรองเบื้องต้นจากกองบรรณาธิการ (Processing fees and/or Article page charges)

บทความวิชาการ บทเรียนการทำงาน เกร็ดกฎหมาย เรื่องเล่าชาวฟาร์ 

ไม่มีค่าธรรมเนียม