บทเรียนการทำงานการจัดการปัญหาการใช้สเตอรอยด์ในทางที่ไม่เหมาะสม
คำสำคัญ:
สเตอรอยด์บทคัดย่อ
ปัญหาการปลอมปนสเตอรอยด์ในผลิตภัณฑ์สุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยาน้ำแผนโบราณและเครื่องดื่มสมุนไพรที่ขึ้นทะเบียนตำรับเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร เมื่อมีการตรวจเฝ้าระวังในพื้นที่ต่างๆแล้วจะพบสเตอรอยด์ปลอมปนด้วยเสมอขณะที่แหล่งผลิตไม่เคยตรวจพบว่ามีการปลอมปน ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาเครือข่ายจัดการปัญหาสเตอรอยด์ในพื้นที่ต่างๆได้ร่วมลงมือลงแรงพัฒนางานกลไกขึ้นทั้งในระดับพื้นที่และระดับนโยบาย โดยเป็นการแก้ไขปัญหาการปลอมปนยาสเตอรอยด์ทั้งระบบไปพร้อมๆกันไม่มองปัญหาแบบแยกส่วนคิดแยกส่วนทำ
บทเรียนการทำงานในระดับพื้นที่ได้พัฒนากระบวนการทำงาน ร่วมมือกับเครือข่ายภาคประชาสังคมมากยิ่งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหา และมีแนวโน้มว่าจะผลิดอกออกผลสะท้อนการทำงานแก้ไขปัญหาที่ต้องใช้เวลาคลุกคลีและลงมือทำอย่างจริงจัง สะท้อนการทำงานทำงานและประเมินสถานการณ์
การพัฒนารูปแบบการทำงาน : จากสถานการณ์การจ่ายยาผู้ป่วยนอก ได้พบผู้ป่วยที่ได้รับผลข้างเคียงจากการใช้ยาที่หลากหลาย จึงไปเยี่ยมบ้านผู้ป่วย พบการบริโภคผลิตภัณฑ์ต่างๆอย่างผิดๆ รวมถึงยาแผนโบราณที่ไม่มีทะเบียนยา มีการปลอมปนสเตอรอยด์ จึงคิดค้นแนวทางแก้ไขปัญหา โดยเริ่มจากการสืบค้นข้อมูล ระบุปัญหาหรือความเสี่ยง สื่อสารความเสี่ยงหรือคืนข้อมูลสู่ชุมชนโดยใช้โมเดลชุมชนจัดการยาและผลิตภัณฑ์กลุ่มเสี่ยง ควบคู่ไปกับการบังคับใช้กฎหมาย โดยประสานงานกับหน่วยงานตำรวจ ร่วมกับทีมงานสุขภาพอำเภอพัฒนาเป็นเครือข่ายศูนย์รับเรื่องร้องเรียนด้านสุขภาพ มีนายอำเภอเป็นประธาน มีอสม.สายลับสเตอรอยด์ มีอสม.ต้นแบบงานคุ้มครองผู้บริโภค มีต้นแบบเครือข่ายการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพสำหรับการถ่ายทอดประสบการณ์สู่พื้นที่อื่นต่อไป
ทั้งนี้ปัญหาการนำสเตอรอยด์ไปใช้ในทางที่ไม่เหมาะสมในปัจจุบันยังคงอยู่ ในพื้นที่ยังคงพบปัญหาและมีสภาพความเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมพอสมควร มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้นและเกิดปัญหาในรูปแบบใหม่ๆ ที่เกี่ยวโยงกัน บทเรียนการทำงานได้สะท้อนให้เห็นว่าปัญหาก็มีพลวัตรปรับตัวไปตามสภาพการจัดการปัญหาไปด้วย แต่สิ่งที่ยังคงอยู่ไม่ได้เปลี่ยนแปลงคือต้นทางของปัญหาและคำถามที่ยังท้าทายคนทำงานคือ “ สเตอรอย์ไม่ได้หล่นมาจากฟ้า ” ก็ยังคงร่วมสมัยกำหนดทิศทางการทำงานจัดการปัญหาร่วมกันได้อย่างชัดเจน
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
ประกาศเกี่ยวกับลิขสิทธิ์
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของชมรมเภสัชสาธารณสุขแห่งประเทศไทย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับชมรมเภสัชสาธารณสุขจังหวัดแห่งประเทศไทย และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว