ภูมิปัญญาหมอพื้นบ้านการนวดขิดเส้น : กรณีศึกษา นายบุรี แก้วคำ อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ
คำสำคัญ:
คำสำคัญ : ขิดเส้น, หมอพื้นบ้าน, ภูมิปัญญาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมภูมิปัญญาการขิดเส้นของนายบุรี แก้วคำ หมอพื้นบ้าน ตำบล ละทาย อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ และศึกษาประสิทธิภาพของการรักษา การวิจัยเชิงคุณภาพนี้ใช้วิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง จากหมอพื้นบ้านที่รักษาด้วยกระบวนการขิดเส้นที่มีชื่อเสียง และเป็นที่ยอมรับของชาวบ้านในจังหวัดศรีสะเกษ การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกต การจดบันทึก การบันทึกเสียง ภาพ และวีดีโอ
ผลการศึกษา นายบุรี แก้วคำ ได้รับแรงบันดาลใจจากมารดาซึ่งเป็นหมอขิดเส้น จึงมีความสนใจจนได้สืบทอดวิชาจากมารดา ได้ปฏิบัติตนให้อยู่ในศีลธรรมจารีตประเพณีอันดีงามของหมอพื้นบ้าน ร่วมกับการสั่งสมประสบการณ์ในการรักษามากกว่า 20 ปี จนเมื่ออายุ 35 ปี ได้ยกครูต่อจากมารดา ปัจจุบันนายบุรีได้ถ่ายทอดวิชาการขิดเส้นให้กับบุตรสาวและบุตรเขยของตน มีแบบแผนการรักษา ประกอบด้วย การซักถามอาการ การตรวจร่างกาย การขิดเส้น และการให้คำแนะนำ ซึ่งมีความชำนาญในการรักษา 5 โรค คือ โรคอัมพฤกษ์-อัมพาต สะบักจม ข้อเข่าเสื่อม ปวดหลังส่วนล่าง และไมเกรน ด้านประสิทธิภาพการรักษา กลุ่มตัวอย่างจำนวน 131 ราย เมื่อเข้ารับการรักษาด้วยการขิดเส้นในโรคที่หมอพื้นบ้านมีความเชี่ยวชาญ 5 โรค พบว่า ในผู้ป่วยอัมพฤกษ์-อัมพาตสามารถพึ่งพาตนเองในการดำเนินชีวิตประจำวันได้ ทานข้าวหรือดื่มน้ำได้เอง เดินได้เองโดยใช้ไม้ค้ำยัน คิดเป็นร้อยละ 66.67 และผู้ป่วยโรคสะบักจม ข้อเข่าเสื่อม ปวดหลังส่วนล่าง และไมเกรน ที่รักษาหายจากโรค คิดเป็นร้อยละ 80, 80.77, 79.41 และ 89.28 ตามลำดับ
คำสำคัญ : ขิดเส้น, หมอพื้นบ้าน, ภูมิปัญญา
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
ประกาศเกี่ยวกับลิขสิทธิ์
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของชมรมเภสัชสาธารณสุขแห่งประเทศไทย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับชมรมเภสัชสาธารณสุขจังหวัดแห่งประเทศไทย และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว