ผลของนวัตกรรมในการดูแลผู้ป่วยเอ็นข้อไหล่ฉีกขาดต่อการลดความปวดหลังผ่าตัด แผนกออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี

ผู้แต่ง

  • ยสวันต์ กะระโสภณ ศูนย์อาชีวเวชศาสตร์
  • กุลวรี รักษ์เรืองนาม

คำสำคัญ:

Innovation satisfaction, Shoulder ligament tear patient, postoperative pain relief

บทคัดย่อ

          ภูมิหลัง: การพัฒนานวัตกรรมอุปกรณ์ในการพยุงแขนลดความปวดหลังผ่าตัดเส้นหัวไหล่เอ็นฉีกขาด วัตถุประสงค์: 1. ศึกษาผลการใช้นวัตกรรมอุปกรณ์พยุงไหล่ในผู้ป่วยหลังผ่าตัดเอ็นไหล่ฉีกขาดแผนกศัลยกรรมออโธรปิดิกส์   2. ศึกษาระดับความพึงพอใจในการใช้นวัตกรรมต่อการลดความปวดหลังผ่าตัดเอ็นไหล่ฉีกขาด กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยที่มารับบริการด้วยโรคเอ็นข้อไหล่ฉีกขาดที่ได้รับการผ่าตัด จำนวน 25 คน เครื่องมือใช้แบบสอบถาม สถิติใช้ ค่าร้อยละ x ̅ , S.D ผล: พบว่า คะแนนความปวดหลังผ่าตัดวันที่ 1, 2, 3 อยู่ในระดับ 4, 3, 1 คือปวดเล็กน้อยพอทนได้  ปวดพอรำคาญ  และปวดยอมรับได้ใน (x ) ̅วันที่1, 2, 3  = 4.093, 2.986, 1.84 , SD=.589, 0.565, 0.452 ตามลำดับ สรุปว่านวัตกรรมอุปกรณ์พยุงไหล่หลังผ่าตัดเอ็นข้อไหล่ฉีกขาดสามารถลดความปวดได้ในอยู่ในระดับ 4, 3, 1 จากคะแนนเต็ม10 ระดับความพึงพอใจนวัตกรรม 10 ด้าน ราคามีความเหมาะสม มีน้ำหนักพอดี การใช้งานมีความสุขสบาย มีการรองแขนง่าย สะดวกสำหรับติดตัวได้ตลอดโดยมีความปลอดภัย การยอมว่าสามารถช่วยในการลดความปวดเปรียบเทียบกับไม่มีการใช้อุปกรณ์ น้ำหนักพอดีเบาสำหรับติดตัวได้ตลอดเหมาะใช้สำหรับการช่วยเป็นอุปกรณ์พยุงไหล่ลดปวดได้โดยใช้งานง่ายไม่ซับซ้อน นำมาการใช้เป็นอุปกรณ์พยุงไหล่ผู้ป่วยเอ็นไหล่ฉีกขาดที่ได้ ความพึงพอใจโดยรวมส่วนใหญ่อยู่ในระดับ 4 หมายถึงพึงพอใจในระดับมากใน 9 ด้าน และด้านการนำมาใช้มีความพอดีเหมาะกับการวางแขนมีความพึงพอใจระดับปานกลาง  

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-05-02