ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการจำหน่ายยาอันตรายในร้านขายของชำ อำเภอเมืองลำปาง จ.ลำปาง

ผู้แต่ง

  • นพมาศ จันทร์ละออ -Lampang Hospital

คำสำคัญ:

ร้านชำ, ยาอันตราย, ยาสเตียรอยด์, เภสัชกรรมปฐมภูมิ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่ส่งผลให้มีการขายยาอันตรายในร้านชำ อ.เมือง จ.ลำปาง วิธีการศึกษา เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) ในร้านชำจำนวน 131 ร้าน ที่มีการจำหน่ายยา ในช่วงเดือน ก.ค. - ส.ค. 2565   โดยวิธีการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการร้านชำและสำรวจร้านชำด้วยแบบบันทึกข้อมูลที่พัฒนาขึ้นในการวิจัยนี้ ทำการเก็บข้อมูล 2 ช่วงโดย ช่วงที่ 1 สัมภาษณ์แบบเจาะลึกรายบุคคล เพื่อหาเหตุจูงใจที่ส่งผลให้นำยาอันตรายมาจำหน่าย ช่วงที่ 2 สำรวจข้อมูลการจำหน่ายยาในร้านชำ  ผลการศึกษา พบยาอันตราย ร้อยละ 78.6 กลุ่มยาปฏิชีวนะที่พบมากที่สุดคือ tetracycline ร้อยละ 24.4  ยาแก้ปวด NSAIDs ที่พบมากที่สุด คือ Aspirin ร้อยละ19.1  ยาสเตียรอยด์ที่พบคือ Steroid cream ร้อยละ 25.2   ยาชุดที่พบเป็นชุดยาแก้ปวด ร้อยละ 3.8 แหล่งจำหน่ายยาในร้านชำที่พบมากที่สุดคือ ร้านขายยาแผนปัจจุบันที่มีเภสัชกร   ร้านชำที่มีความรู้เกี่ยวกับการขายยาในร้านชำมากมีสัดส่วนพบการจำหน่ายยาอันตรายในร้านชำน้อยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมี  Adjusted OR = 0.138 (95%CI =0.038-0.510, p=0.003) นั่นคือ หากผู้ประกอบการร้านชำมีความรู้เกี่ยวกับการขายยาในร้านชำที่เพิ่มขึ้น อาจส่งผลทำให้ลดการขายยาอันตรายลง ร้อยละ 86.2 เมื่อเทียบกับร้านชำที่มีความรู้น้อยกว่า โดยมี ROC curve=0.8415 

สรุปผลการศึกษา การมีความรู้เกี่ยวกับการขายยาในร้านชำของผู้ประกอบการมีความสัมพันธ์กับการขายยาอันตราย นั่นคือผู้ประกอบการที่มีความรู้มากจะลดโอกาสการขายยาอันตรายลง

คำสำคัญ: ร้านชำ ยาอันตราย ยาสเตียรอยด์ เภสัชกรรมปฐมภูมิ

 

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-09-10